วิวัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์
วิวัฒนาการ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- Robert T. Gembelski แบ่งเป็น 3 ช่วง บริหารแยกออกจากการเมือง / จิตวิทยา / มนุษยนิยมและระบบ เน้นการสร้างองค์ความรู้ เน้นนำความรู้ไปใช้ภายนอก // 3 ทฤษฎี คือ นโยบายสาธารณะ / รปศ. ความหมายใหม่ / บริหารตามแบบประชาธิปไตย
- Nicholas Henry มอง รปศ. เป็น รปศ. แบ่ง 5 พาราไดม์ คือ
- การบริหารแยกออกจาการเมือง (1900-1926)
- หลักการบริหาร (1927-1937)
- รปศ. เป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ (1950- 1970)
- รปศ. เป็นศาสตร์การบริหาร (1956-1970)
- รปศ. คือ รปศ. (1970-ปัจจุบัน)
- อุทัย เลาหวิเชียร ผู้ก่อตั้งสถาบันนิด้า มองวิวัฒนาการเป็นสามพาราไดม์
ยุคทฤษฎีดั้งเดิม (1887-1950)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เป็นยุคที่แสวงหาวิธีการบริหารที่ดีและมีเหตุผล มีแนวคิด การบริหารที่ดีต้องใช้รูปแบบองค์การระบบปิด และองค์การแบบทางการ
การบริหารแยกออกจากการเมือง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Woodrow Wilson
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เขียนหนังสือเรื่อง The Study of Administration ตั้งสมมติฐาน 5 ข้อ
- ประเทศที่ก้าวหน้ามีการปกครองที่ดี รัฐบาลจะเข้มแข็ง
- รปศ. ศึกษาเรื่องนำกฎหมายมหาชนไปปฏิบัติ
- สร้างหลักการบริหาร ส่งเสริมการบริหารภาครัฐ ให้มีคุณภาพดีขึ้น
- การเมืองกำหนดนโยบาย ออกกฎหมาย บริหารนำเอานโยบาย กฎหมายไปปฏิบัติ
- เสนอหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (สมมติฐาน 8)
Frank J. Goodnow
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เขียน Politics and Administration แนวคิด 2 ข้อ
- การปกครองที่ดีมี 2 หน้าที่ คือ การปกครองมีหน้าที่กำหนดนโยบาย นิติบัญญัติและตุลาการ ฝ่ยบริหารปฏิบัติตามรัฐ
- รปศ. คือการศึกษาระบบราชการที่นำนโยบายที่กำหนดไปปฏิบัติ
Leonard D. White
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เขียน Introduction of The Study of Public Administration ว่า ากรเมืองไม่ควรแทรกแซงการบริหาร การศึกษาเรื่องการบริหารโดยหลักวิทยาศาสตร์ และเป้าหมายสำคัญของการบริหาร คือ การประหยัดและการมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริหารบุคคลให้อยู่บนพื้นฐาระบบคุณธณรม ให้ความสำคัญ ฝ่ายบริหารใช้งบประมาณในการวางแผนและควบคุม
สรุป
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]แนวคิดการแยกการบริหารออกจากการเมือง เป็นส่วนผลักดันให้มีการปฏิรูประบบบริหาร อาศัยคุณธรรม เพื่อป้องกันการเล่นพรคเล่นพวก
ระบบบริหารที่ดี คือ การที่นักบริหารเข้มแข็ง อาศัยหลกเหตุผล และ ประสิทธฺภาพเป็นโครงสร้างที่เอื้ออำนาวยต่อการบริหารที่ดีมีประสิทธิภาพ
ระบบราชการ ของ Max Weber
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน องค์การ สังคม ระบบแบบนี้นำไปสู่ทฤษฎีองค์การ และวิชาพฤติกรรมศาสตร์
ทฤษฎีอำนาจ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- จารีต เช่น กษัตริย์
- บารมี เช่น ทักษิณ ชินวัตร
- กฎหมาย เช่น การเลือกตั้ง
องค์ประกอบขององค์การ 7 ข้อ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ลำดับชั้น จัดตำแหน่งต่างๆ เป็นลำดับชั้น
- อำนาจสมาชิกมาจากตำแหน่ง
- ข้าราชการทุกคนต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องระเบียบ วิธีการปฏิบัติงานตามระเบียบ
- ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลาง ปฏิบัติราชการ ไม่เห็นประโยชน์ของตน
- ข้าราชการเป็นอาชีพมั่นคง เพระประชาชนต้องเป็นที่พึ่งบริการ
- เสนออาชีพที่มั่นคง ให้ผลตอบแทนในรูปเงินเดือน สวัสดิการ และโอกาสในการก้าวหน้าจากตำแหน่ง
- ระบบราชการมีลักษณะเสริมสร้างตนเอง เพราะเป็นระบบปิดบังความรู้ไม่ให้คนภายนอกองค์กรทราบ กลไกบริหารใดก็ตามที่มีลักษณะตรงตามระเบียบราชการในอุดมคติของ weber ทุกประการ เรียกว่า monocratic bureaucracy
การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ สมัยปฏิวัติอุสาหกรรมของ Frederick W. Taylor
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ศึกษาเวลาการทำงานชิ้นๆ หนึ่ง / ศึกษาการเคลื่อนไหว และแยกงานออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ทำงานเต็มที่ เปลี่ยนจากความไม่มีประสิทธิภาพ ไร้กฎเกณฑ์ มาเป็นมีกฎเกณฑ์และมีประสิทธิภาพ
หลักการจัดการสำหรับผู้บริหาร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- พัฒนาและสั่งสมความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อค้นหาวิธีการทำงาน
- คัดเลือกบุคคลากร ฝึกสอนงานแก่พนักงานอย่างมีระบบ
- ประสานงาน ดูแลเอาใจใส่พนักงานให้ทำงานแก่พนักงานอย่างเป็นธรรม
- จัดสรรค่าตอบแทน ผลประโยชน์การทำงานแก่พนักงานอย่างเป็นธรรม
หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ 4
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- รู้จริงเรื่องงาน
- กลมเกลียวในหมู่พนักงาน และผู้บริหาร
- ความร่วมมือปฏิบัติงานของทุกคน
- ความมุ่งหมายที่จะสร้างผลผลิตสูงสุดจากการทำงานร่วมกัน
ข้อเสีย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ไม่ประกันว่าคนงานและฝ่ายจัดการจะเจริญก้าวหนน้าจากตำแหน่งตลอด อาจใช้เวลาเปลี่ยนการทำงานแบบเดิมสู่แบบใหม่
หลักการบริหาร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Mary Parker Follet
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]หลักการบริหารที่ดี 4
- ขัดแย้งเป็นเรื่องที่ดี หลักจัดการ 3
- ยึดครอง
- ประนีประนอม
- รวมตัว
- มนุษย์ไม่ชอบคำสั่ง ต้องใช้ศิลปะในการออกคำสั่ง
- องค์การเป็นเรื่องทุกฝ่ายทั้งคนงาน บริหารร่วมรับผิดชอบ วางแผนและจัดการนโยบายต่างๆ
- การบริหารที่ดีต้องใช้การประสาน จำเป็นต้องดำเนินตามเกณฑ์ คือ ประสานและควบคุมต้องเกิดจากหัวหน้าแผนกแทนการควบคุมจากข้างบนลงข้างล่าง
Henry Fayol นักบริหารระดับสูงด้านอุสาหกรรม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การบริหารที่ดี ประกอบด้วย การคาดคะเน / วางแผน / จัดองค์การ / สั่งงาน / ประสานงาน / ควบคุม
หลักการบริหาร 14 ประการ
- แบ่งงานกันทำ
- อำนาจตามตำแหน่ง
- วินัย
- เอกภาพของสายการบังคับบัญชา
- เอกภาพของคำสั่ง
- หลักผลประโยชน์ส่วนรวม
- การให้รางวัลตอบแทน
- การรวมอำนาจ
- ลำดับชั้นการบังคับบัญชา
- คำสั่ง
- ความเสมอภาค
- ความมั่นคงของคนงาน
- ความคิดริเริ่ม
- ความสัมพันธ์อันดี
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ จึงต้องเชื่อมโยงการเรียน ฝึกอบรมให้เข้ากับสภาพการทำงานจริงด้วย
Jame D. Moonery and Alan C. Reiley นักบริหารชั้นอุสาหกรรม แต่งเรื่อง Principles of Organization
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]4 หลัก
- ประสานงาน มอบอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ
- ลำดับชั้น ประสานงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์การ
- แบ่งงาน กำหนดอำนาจโดยชอบธรรม
- จัดหน่วยงาน กลุ่มที่ทำงานกับหน่วยปฏิบัติงาน และ กลุ่มที่ทำงานกับหน่วยให้คำปรึกษา
Luther H. Gulick and Lyndall Uwick สร้างกลไกควบคุมภายใน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- จัดโครงสร้างอำนาจภายในองค์การ (หลักขอบข่ายการควบคุม / จัดหมวดหมู่ให้กรมกองกลมกลืน)
- กำหนดบทบาทให้ชัดเจน POSDCORB (Planning วางแผน / Organizing จัดองค์กร / Stuffing บรรจุ / Directing สั่งการ / Coordinating ประสาน / Reporting รายงาน/ Budgeting งบประมาณ)
- จัดองค์การใยแบบต่างๆ 4 คือ ตามวัตถุประสงค์ / กระบวนการ / ลูกค้า / สถานที่ตั้ง
เป็นการสร้างขวัญ และ ผูกมัดทางใจในการใช้หลักการด้านการบริหารงานบุคคลมาให้กำลังทำงาน สร้างความจงรักภักดีให้กับองค์การ และสร้างแรงจูงใจอื่นๆ
ยุคท้าทาย วิกฤตเอกลักษณ์ครั้งที่ 1 (1950-1960)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ทฤษฎีในยุคดังเดิมเป็นแนวคิดเพียงภาษิต (proverb) มองคนเป็นเครื่องจักร
การบริหารคือการเมือง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Fritz Monsterin Marx
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่เป็นแบบกว้างๆ ฝ่ายบริาหรต้องกำหนดรายละเอียดของนโยบาย
Paul Henson Appleby
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]รปศ. ควรเนินการศึกษาด้านการกำหนดนโยบายโดยกลุ่มพลังทางการเมือง
Nowton E. Long
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ดำเนินการใช้อำนาจในองค์การ (นักบริหารจะต้องทำงานได้จำเป็นต้องอาศัยอำนาจที่เป็นทางการ คือ อำนาจทางกฎหมาย / ไม่เป็นทางการ คือ อาศัยอำนาจทางการเมือง ผลประโยชน์ต่างๆ ดังนั้นจึงมองว่า การบริหารแยกจากการเมืองไม่ได้)
John M. Gaus นัก รปศ. อาวุโส
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ทฤษฎี รปศ. คือ ทฤษฎีทางการเมือง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Robert Michels
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ปรากฏการณ์เบี่ยงเบนเป้าหมายองค์การ เน้นให้ความสำคัญต่อการสร้างกลไกองค์การที่จะรักษาอำนาจ
Robert Merton สรุปความล้มเหลวดังต่อไปนี้
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ลักษณะองค์การที่เป็นทางการ จัดโครงสร้างเพื่อเป้าหมายรวมขององค์การ รวมตัวกันของกิจกรรมถูกจัดเป็นลำดับชั้น มีหน้าที่ตามตำแหน่ง
- โครงสร้างตามระบบราชการ มองว่าระบบราชการทำให้ข้าราชการรู้สึกว่าตนเอง ถูกครอบงำจากระบบราชการ ลักษณะหน่วยงานลับ
- ข้อบกพร่องของระบบราชการ
- ไม่มีความยืดหยุ่น ระบบล้าสมัย ไม่ปรับตัวตามสถานการณ์
- ยึดกฎเกณฑ์มากเกินไป
ดังนั้นระบบราชการที่ควบคุมการปฏิบัติงาน ยึดระบบเคร่งครัด ทำให้ข้าราชการขาดความยืดหยุ่น ไม่กล้าตัดสินใจ
Michel Crozier อธิบายความเสื่อมของระบบราชการ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มาจากระบบวงจรที่ชั่วร้าย เมื่อมีปัญหาภายในองค์การ ฝ่ายจัดการจะหาทางออกด้วยการสร้างกฎระเบียบขึ้นมาใหม้่
ระบบมนุษยสัมพันธ์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Elton Mayo
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]โต้ Talyor ว่า เป็นแนวคิดที่มองคนเหมือนไม่มีชีวิต คนเหมือนเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ มาโยจึงเสนอแนวคิดการศึกษาความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการภายในกลุ่ม ได้แก่ การวิเคราะห์ภายในกลุ่ม ศึกษาทดลองเรื่อง Hawthorne studies ศึกษาปัจจัยทางการยภาพทางหลักวิทยาศาสตร์
Abraham H. Maslow เสนอทฤษฎีลำดับชั้นของความต้องการ (hierarchy of need)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ต้องการทางกายภาพ ด้านความปลอดภัย ผูกพันในสังคมที่จะมีฐานะเด่น ประจักดษ์ตน "ควรจูงใจคนงานไหนให้ตั้งใจทำงาน"
Frederick Hurzberg เสนอแนวคิดทฤษฎีปัจจัยจูงใจ - ปัจจัยสุขวิทยา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สุขวิทยา เช่น นโยบายบริหารองค์การ ฝึกอบรม นิเทศงาน
จูงใจ เช่น การยอมรับจากคนอื่น การมีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่ง
Douglas Mc-gregor เสนอทฤษฎี XY
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]X แบบเดิม เช่น มนุษย์ขี้เกียจ ไม่อยากมีส่วนร่วมในการทำงาน
Y มนุษยสัมพันธ์ เช่น มนุษย์ขยัน อยากมีส่วนร่วม โดยจะต้องจัดปัจจัยในหลักการบริหารงาน / สนับสนุนให้คนแสดงออก / จัดความต้องการของคนงาน
Chris Aroyris
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองไปตามขั้นตอนกระบวนการเป็นผู้ใหญ่ได้
ศาสตร์การบริหาร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Chester I. Barnard
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]องค์การเกิดจากการร่วมมือของคนเพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย หน้าที่ นักบริหาร คือ
- ดูแลระบบติดต่อภายในองค์การให้สอดคล้อง
- รักษาความร่วมมือสมาชิกในองค์การ
- รับผิดชอบ และให้อำนาจแก่สมาชิกองค์การ
- ใช้ศิลปะบริหารให้บรรลุประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
- ทำงานด้วยความรับผิดชอบด้วยการยึดหลักศีลธรรม
Herbert A. Simon
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ศาสตร์การบริหาร โจมตีหลักการบรีหารว่า มีความขัดแย้ง เช่น span of control ขัดกับ hierarchy / specialization ขัดกับ one master โดยเริ่มต้นแนวคิดเรื่องการตัดสินใจ เป็นหัวใจของวิชา รปศ. เชนเดียวกับ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
การตัดสินสินใจของ ไซมอน กล่าวว่า การตัดสินใจที่ดีต้องตัดสินใจแบบมีเหตุผล ผู้ตัดสินใจต้องมีความรู้ เช่น ให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างกฎเกณฑ์การทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง แบ่งตำแหน่งให้ชัดเจน ใช้อำนาจโดยชอบธรรม แม้ทฤษฎีจะหักล้างทฤษฎียุคดั้งเดิม แต่ก็ไม่สมารถยอมรับมากนักในหมู่นักวิชาการ
ยุคกำเนิด รปศ. สมัยใหม่ วิกฤตเอกลักษณ์ครั้งที่ 2 (1960-1970)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นำทฤษฎีระบบ มาใช้ใน รปศ.
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Herbert Simon and James Morch
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กล่าวว่า ระบบการตัดสินใจองค์กรว่า องค์การเป็นที่รวมของมนุษย์ที่ตัดสินใจอย่างมีเหนุผล กระบวนการตัดสินใจในกระบวนการ คือ กระบวนการระบบ ระบบที่รวมระบบย่อนผลิตปัจจัยนำออกเพื่อป้อนไปสู่สภาพแวดล้อม ตัดสินใจของคนในองค์การ พิจารณาระบบการติดต่อเอกสาร ข้อมูลข่าวสารในระบบองค์การ รับส่งข้อมูลแบบทางการ และ ไม่เป็นทางการ
Daniel Katz and Robert Kahn
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มององค์การในลักษณะเปิด ที่มีหน้าที่นำพลังงาน เข้าและออก ระหว่างองค์การ และ สภาพแวดล้อม มีระบบย่อม 5 ระบบ คือ ระบบผลิต สนัยสนุน ดูแลรักษา ปรับตัว และจัดการ
James F. Thompos
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มองว่า องค์การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน มีองค์ประกอบ 3 ระดับ คือ เทคนิค จัดการ และ สถาบัน
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ก่อตั้ง Comparative Administration Group หรือ CAG หรือ กลุ่มศึกษาการบริหารงานเปรียบเทียบ เพื่อวิจัยแนวทางการปรับปรุงการบริหารงานของประเทศกำลังพัฒนา มี 5 แนวทางคือ
- วิเคราะห์ระบบราชการภายใต้การปกครองของฝ่ายการเมือง (Ferrol Heddy) กำหนดว่าระบบราชการแต่ละประเทศมีลักษณะอย่างไร
- วิเคราะห์โครงสร้าง หน้าที่มาใช้ในการศึษาเชิงเปรียบเทียบ มี 3 แบบ คือ
- โครงสร้างระบบราชการมีอำนาจ ทำเฉพาะเรื่อง
- โครงสร้างน้อย หลายหน้าที่
- โครงสร้างมาก หลายหน้าที่
- Weberian Mofel นำระบบราชการตามอุดมคติมาเปรียบเทียบว่า อันไหนคล้ายของ weber เท่ากับระบบราชการนั้นมีคุณภาพ
- Almond Power Model ศึกษาโครงสร้าง หน้าที่ระบบและข้าราชการ
- Development Administration ศึกษาปัญหาอุปสรรคการทำงานตามแผนพัฒนา หาวิธีบริหารแผนให้ได้ผลมากที่สุด
รปศ. ความหมายใหม่ของ Dwight Waldo
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- รปศ. ศึกษาปัญหา และเรื่องราวของโลกความเป็นจริง
- รปศ. เน้นค่านิยม และความถูกต้อง
- รปศ. สนับสนุนความยุติธรรมในสังคม สนใจการบริการภาคประชาชน
- รปศ. สนับสนุนองค์การให้มีการเปลี่ยนแปลง ป้องกันการผูกอำนาจโดยผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เทคนิคการบริหารงาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- บริหารและควบคุมทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ PPBS ___ planning programming budgeting system
- เทคนิคการควบคุมการปฏิบัติงาน PERT&CPM ___ program evaluation review technique
- วางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ MBO ___ Management by objective
ยุคทฤษฎี รปศ. คือ รปศ. (1970-ปัจจุบัน)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]แนวศึกษานโยบายสาธารณะ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Thomas R. Dye
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]รูปแบบการกำหนดนโยบาย มี 7 แบบ คือ
- รูปแบบผู้นำ
- กลุ่ม
- สถาบัน
- ระบบ
- กระบวนการ
- มีเหตุผล
- ค่อยเป็นค่อยไป
Donald S. Van Meter & Carl E. Van Horn
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นำนโยบายไปปฏิบัติ ต้องประกอบองค์สำคัญ คือ
- ตัวนโยบายที่ต้องมีทรัพยากรสนับสนุนเพียงพอ
- มาตราฐานชัดเจน
- ติดต่อที่ดีระหว่างผู้กำหนด และ ผู้ปฏิบัติ
- ต้องมีบทบาทบังคับกับผู้ปฏิบัติโครงสร้างของหน่วยงาน
- สภาพแวดล้อมทางการเมืองของหน่วยงานปฏิบัติ
- สภาพสังคม เศรษฐกิจ
- การยอมรับนโยบายของผู้ปฏิบัติ
- การปฏิบัติว่ามากน้อยเพียงใด
ทางเลือกสาธารณะของ Vincent Ostrom
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เชื่อว่าจะแก้ปัญหา รปศ. ต้องใช้เศรษฐกิจการเมืองคู่กับ ปรัชญาการบริหารแบบประชาธิปไตย ซึ่งมี 8 ข้อ คือ
- ทุกคนไม่ว่าคนปกครองหรือทั่วไปมีนิสัย เห็นแก่ตัว ชอบเอาเปรียบ
- เมื่อใครเห็นช่องช่องทาง ประโยชน์จากการใช้อำนาจทางการ เขาก็จะรีบใช้โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นกับคนอื่น
- รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย จะกำหนดขอบเขตอำนาจแก่กลุ่มต่างๆ ให้ตรวจสอบกันเอง
- สินค้า และ บริการสาธารณะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง และ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
- การจัดสินค้าและบริหารสาธารณะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง และ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
- การจัดองค์การราชการแบบลำดับชั้นซึ่งอยู่ในศูนย์อำนาจเดียวกัน จะไม่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนได้
- การจัดองค์การราชการแบบลำดับชั้นซึ่งอยู่ในศูนย์อำนาจเดียวกัน ทำให้ภาครัฐสิ้นเปลืองทรัพยากร และล่าช้าในการทำงาน
- การจัดองค์การกระจายอำนาจให้ศูนย์การตัดสินใจ มีหลายศูนย์
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ยอมรับ เพราะเป็นกรอบใช้ทำความเข้าใจปัญหาการบริหารเป็นเทคนิคแก้ปัญหาโดยตรง
เศรษฐกิจการเมือง แบบ Gary Wamsley and Mayer Zald
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เศรษฐกิจ การเมืองเกี่ยวข้องกันมาก ใกล้ชิดและแทรกแซงซึ่งกันและกัน มี 4 ส่วน คือ
- การเมืองภายนอกองค์การ
- การเมืองภายในองค์การ
- เศรษฐกิจภายนอกองค์การ
- เศรษฐกิจภายในองค์การ
แต่ได้รับความนิยมน้อยมาก น้อยกว่าแบบทางเลือกสาธารณะ เพราะเป็นการมองที่แคบเกินไป
แนวคิดศึกษาวงจรชีวิตองค์การของ Antony Down
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ศึกษาวงจรชีวิตขององค์การว่า มีวิวัฒนาการ ขันตอนอย่างไร ปัจจัยที่ทำให้องค์การเสื่อมหรือตาย การเกิดองค์การ มี 4 แบบ
- เกิดจากผู้นำเข้มแข็งเป็นแกนนำ
- ความต้องการของคนในองค์การ เพื่อให้ได้องค์การใหม่ที่ทำหน้าที่เฉพาะ
- แยกตัวจากองค์การเดิม
- กลุ่มผลประโยชน์ผลักดันนโยบายบางอย่างขึ้นมา
ข้อสังเกตความเจริญ ไม่เจริญขององค์การ เช่น เปลี่ยนแปลงผู้นำ การเร่งเจริญของพวกหัวก้าวหน้า การเจริญน้อยลงจากการลดบทบาทองค์การ (การเจริญที่ไม่เพิ่มคน เพิ่มแต่คุณภาพ) และ Antony ก็ยังอธิบายถึงการขยายตัวที่ไม่จำเป็นของระบบราชการ ผลของอายุองค์การ ปรากฏการณ์เกี่ยวกับคนในองค์การอีกด้วย
การจัดการแบบประหยัดจากสภาวการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ของ Charles Darwin (ชาร์ลส์ ดาวิน)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุการตายหรือเสื่อมขององค์การ
- ปัญหา และอุปสรรคต่อการตัดสินใจเพื่อจัดการแบบประหยัด
- กลยุทธ์ในการตัดสินใจเพื่อหาวิธีการจัดการแบบประหยัดต่างๆ เช่น กลยุทธ์แบบต่อต้าน แบบ คล้อยตาม แบบการให้หลักอาวุโสเพื่อตัดทอนคนงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย
การศึกษาเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ทาง รปศ. แนวใหม่ เช่น การออกแบบองค์การสมัยใหม่ การวิจัยศึกษาเรื่ององค์การ และอื่นๆ
เทคนิคการบริหารในยุคนี้ ได้แก่ ใช้งบประมาณฐานศูนย์ ควบคุมคุณภาพแบบมีส่วนร่วม พัฒนาองค์การ หรือโอดี เทคนิค Sensitivity Training เทคนิค MIS เป็นต้น
สรุป : วิวัฒนาการ รปศ. มี 4 ยุค
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ยุคดั้งเดิม (1887-1950) มี
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- การบริหารแยกออกจากการเมือง
- ระบบราชการ
- วิทยาศาสตร์การจัดการ
- หลักการบริหาร
เป็นยุคที่นัก รปศ. แสวงหาวิธีการบริหารที่ดี มีเหตุผล เพื่อเน้นแนวทางการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ใช้แนวคิดการบริหารที่ดีในรูปแบบขององค์การแบบปิดและเป็นทางการ
ยุคท้าทาย วิกฤตเอกลักษณ์ ครั้งที่ 1 (1950-1960)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]โต้แย้งทฤษฎีดั้งเดิม ว่า เป็นเพียงภาษิต (proverb) มองคนเป็นเครื่องจักร และใช้ไม่ได้กับองค์การทั่วไป ยุคนี้มีอิทธิพลจากจิตวิทยา สังคมวิทยา เสนอแนวคิด 4 ประการ คือ
- การบริหารคือการเมือง
- ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ
- มนุษยสัมพันธ์
- ศาสตร์การบริหาร
ยุคกำเนิด รปศ. แบบใหม่ วิกฤตเอกลักษณ์ ครั้งที่ 2 (1960-1970)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เป็นช่วงการปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์และเกิดการรวมตัวของนักวิชาการรุ่นใหม่ เพื่อแสวงหาเอกลักษณ์ ประกอบด้วย
- แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (ทฤษฎีระบบ และ รปศ. เปรียบเทียบ)
- การบริหารการพัฒนา
- แนวคิด รปศ. ในความหมายใหม่
ยุคทฤษฎีและแนวการศึกษา รปศ. สมัยใหม่ (1970-ปัจจุบัน)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เป็นการศึกษาหลายแนวคิด นำมาใช้บริหารจริง แนวคิดที่สำคัญคือ
- นโยบายสาธารณะ
- ทางเลือกสาธารณะ
- เศรษฐกิจการเมือง
- การจัดการแบบประหยัดและวงจรชีวิตขององค์การ