ข้ามไปเนื้อหา

หมากรุกสากล

จาก วิกิตำรา

หมากรุกสากล เป็นเกมกระดานที่มีผู้เล่น 2 คน มีฝ่ายขาวและฝ่ายดำโดยทั้ง 2 ฝ่ายจะมีหมากฝ่ายละ 16 ตัว โดยฝ่ายขาวจะต้องเริ่มเดินก่อนทุกครั้ง และจะต้องผลัดกันเดินจนทราบผลการเล่น

อุปกรณ์การเล่น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
De ludo scachorum, 1493

1.กระดาน

เป็นวัสดุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8x8 ตาหรือช่อง 64 ตาแบ่งเป็นตาสีขาว 32 ตาและตาสีดำ 32 ตาโดยตาสีดำจะอยู่ที่มุมซ้ายมือสุดของผู้เล่น

2.ตัวหมาก

มีหมากอยู่ทั้งหมด 32 ตัวแบ่งเป็นฝ่ายละ 16 ตัวแต่ละฝ่ายจะมีหมากดังนี้

  • King(คิง) 1 ตัว
  • Queen(ควีน) 1 ตัว
  • Rook(เรือ) 2 ตัว
  • Bishop(บิชอพ) 2 ตัว
  • Knight(ม้า) 2 ตัว
  • Pawn(เบี้ย) 8 ตัว

ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีเบี้ยทั้ง 8 ตัวปิดด้านหน้า 1 แถว ฝ่ายขาวจะตั้งหมากดังนี้(ซ้ายไปขวา)เรือ-ม้า-บิชอพ-ควีน-คิง-บิชอพ-ม้า-เรือ ฝ่ายดำจะตั้งหมากดังนี้(ซ้ายไปขวา)เรือ-ม้า-บิชอพ-คิง-ควีน-บิชอพ-ม้า-เรือ ข้อสังเกตคือคิงและควีนทั้ง 2 ฝ่ายจะตั้งตรงกัน(ไม่เหมือนหมากรุกไทย)ให้สังเกตว่า ควีนดำอยู่ตาดำ ควีนขาวอยู่ตาขาว

การเดินและการกิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • คิง

เดินได้ 8 ทิศรอบตัวทีละ 1 ช่องยกเว้นตากินของคู่ต่อสู้(ยกเว้นการเข้าป้อม)การกินเหมือนกับการเดิน

  • ควีน

เดินได้ 8 ทิศรอบตัว กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • เรือ

เดินได้ 4 ทิศรอบตัวในแนวตั้งและแนวนอน กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • บิชอพ

เดินได้ 4 ทิศรอบตัวในแนวทแยงมุม กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • ม้า

เดินได้ 8 ทิศรอบตัว แต่เป็นการเดิน 2 จังหวะคือ เดินคล้ายเรือไป 2 ช่องและหักมุมอีก 1 ช่องเป็นรุปตัว L การกินเหมือนกับการเดิน แต่ไม่สามารถเดินได้ถ้ามีเบี้ยขวางอยู่2ด้าน

  • เบี้ย

เดินได้ 1 ทิศคือไปข้างหน้าทีละ 1 ช่อง(ยกเว้นตาแรกของเบี้ยจะเลือกเดิน 1 หรือ 2 ช่องได้)การกินกินในแนวทแยงด้านหน้า 1 ช่อง

การเข้าป้อม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นการเดินหมาก 2 ตัว (คิงและเรือ) แต่นับเป็นการเดิน 1 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคิง และการนำเรือออกมาโจมตีได้ง่ายขึ้น ทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธ์ที่จะเข้าป้อม 1 ครั้ง (ไม่เข้าเลยก็ได้) สามารถกระทำได้ดังนี้

การเข้าป้อมด้านคิง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เดินคิงไปทางขวา 2 ช่อง (ให้ติดเรือ) และนำเรือข้ามคิงมาติดทางซ้าย

การเข้าป้อมด้านควีน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เดินคิงไปทางซ้าย 2 ช่อง (ให้เว้นจากเรือ 1 ช่อง)และเดินเรือมาติดทางขวาของคิง

เงื่อนไขการเข้าป้อม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • จะต้องไม่มีหมากคั่นกลางคิงและเรือด้านที่จะเข้าป้อม
  • คิงและเรือด้านที่จะเข้าป้อมต้องไม่เคยเคลื่อนย้าย
  • คิงจะต้องไม่อยู่ระหว่างถูกรุก
  • ระหว่างคิงและเรือจะต้องไม่มีตากินของคู่ต่อสู้

การตัดสินเกม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การตัดสินเกมหรือจบเกมจะเป็นได้หลายแบบ จะมีผู้แพ้-ชนะหรือเสมอกัน

  • การรุกคิงฝ่ายตรงข้ามจน (เช็คเมท)
  • การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยอมแพ้
  • การอับ
  • การตกลงเสมอกัน

การบันทึกด้วยสัญลักษณ์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เพื่อจะได้มีหลักฐานในการเล่นของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะรายการใหญ่หรือเล็ก ก็ควรมีไว้

สัญลักษณ์แทนตัวหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • K หมายถึง คิง
  • Q ,, ควีน
  • R ,, เรือ
  • B ,, บิชอพ
  • N ,, ม้า
  • P ,, พอร์น

สัญลักษณ์ตาบนกระดาน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ใช้ชื่อเรียกทั้ง 64 ตาตามหมากนาย (R N B Q K)แต่เนื่องจาก R N B มี 2 ตัวจึงแบ่งกระดานดังนี้ซีกซ้ายนับจากควีน (QR QN QB Q) และซีกขวานับจากคิง (K KB KN KR) และตามด้วยแถว (แถวแรกเริ่มจากแถวใกล้สุด ไปจนถึงฝั่งของคู่ต่อสู้ 1-8)

สัญลักษณ์การกระทำของหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • - หมายถึงการเดิน ตัวอักษรข้างหน้าคือตัวที่เดิน ตัวอักษรและเลขข้างหลังคือตาที่เดินไป
  • x หมายถึงการกิน ตัวอักษรข้างหน้าคือตัวที่กิน ตัวอักษรข้างหลังคือตัวที่ถูกกิน
  • 0-0 หมายถึงการเข้าป้อมด้านคิง
  • 0-0-0 หมายถึงการเข้าป้อมด้านควีน
  • ! หมายถึงตาเดินที่ดี
  • !! หมายถึงตาเดินที่ดีมาก
  • ? หมายถึงตาเดินที่ไม่ดี
  • ?? หมายถึงตาเดินที่แย่มาก
  • () หมายถึงหมากที่เบี้ยเลือกเป็นเมื่อเดินถึงแถวสุดท้าย ในวงเล็บจะเป็น Q R B หรือ N
  • Ch หมายถึงรุก
  • Mate หมายถึงคิงจน (รุกจน)
  • Stale หมายถึงคิงอับ (ไม่ได้ถูกรุกแต่เดินไม่ได้หรือไม่มีหมากอื่นเหลือ)
  • Draw หมายถึงตกลงเสมอกัน
  • Resigns หมายถึงยอมแพ้

หลักการเล่นหมากรุกสากล

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การเล่นหมากรุกสากลต้องใช้หลักทั้ง 3 ดังนี้

แน่นอนว่าต้องใช้กำลังพลมากถึงจะชนะได้ การดูความได้เปรียบอาจดูจากการนับหมาก แต่หมากแต่ละตัวเดิน-กินไม่เมือนกัน จึงมีการกำหนดค่าหมากไว้ดังนี้

  • ควีน 9 แต้ม
  • เรือ 5 แต้ม
  • บิชอพ 3 แต้ม
  • ม้า 3 แต้ม
  • เบี้ย 1 แต้ม

ซึ่งค่าของหมากช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าควรจะกินแลกหรือไม่ เช่นการเสียเรือแลกกับบิชอพ ได้มา 13 เสียไป 14 ขาดทุน 1 เป็นต้น

เป็นการทำให้หมากของคู่ต่อสู้ลดลงโดยที่เราไม่เสียหมากตัวใด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

ความเผลอเรอ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เนื่องจากดูตากินของคู่ต่อสู้ไม่ดีว่ามีตากินครอบคลุมฝ่ายเรา จึงเสียหมากบางตัวแต่กลับไม่ได้คืน

การรุกฆาต หรือ Check Mate
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือการรุกคิงแล้วไม่มีตาให้คิงเดิน

การรุก หรือ Check
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือการรุกคิงแล้วฝั่งที่โดนรุกต้องย้ายคิง กินหมากที่มารุก หรือปิดตารุกเอาไว้

เป็นการไล่ตามหมากของคู่ต่อสู้เพียง 1 ตัวไปเรื่อยๆเพื่อจะกิน เมื่อจนมุม

การบีบบังคับ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นการบังคับให้เดินมาถูกกิน เพื่อความปลอดภัยของคิงหรือการเปิดทางเพื่องัดเอาอำนาจของหมากออกมาใช้

เพื่อที่จะตัดกำลังของคู่ต่อสู้และสกัดกั้นการโดนบุก เราอาจจะต้องแลกหมากของเรากับคู่ต่อสู้ ทำให้คู่ต่อสู้อ่อนกำลังลง

คือ การที่เรากินหมากของคู่ต่อสู้แล้วรุก

การผูกหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือการที่เรานำตัวหมากมาผูกกับหมากอีกตัวหนึ่ง เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามกินหมากของเราไม่ได้

เนื่องจากการเดินแต่เริ่มส่งผลถึงท้ายกระดาน เราต้องใช้จังหวะที่ดีในการโจมตีจุดโหว่ของคู่ต่อสู้ โดยอาจสร้างจังหวะการเดินโดยการเดินหมากไปมา เพื่อรอให้คู่ต่อสู้เปิดช่องหรือการเดินถ่วง

การขึ้นหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือการเดินหมากพร้อมทั้งรุก-รับ จะต้องไม่เดินให้เสียต่าเปล่า และต้องงัดเอาค่าของหมากมาใช้ให้มากและเร็วที่สุด

คือการนำกำลังไปรุกรานกองทัพฝ่ายตรงข้าม ให้มีภาระป้องกันคิง

เป็นการหวังผลอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะรุกจน อาจจะยอมเสียกำลังบ้าง

ชิงความได้เปรียบ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การบีบเพื่อกดดัน จนคุมเกมและเอาชนะด้วยหลัก 3 หลักนี้ (กำลังพล จังหวะ ตำแหน่ง)

หลักสำคัญของการบุก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นหลักการที่ควรจะทำหรือไม่ทำอะไรระหว่างบุก

โจมตีจุดอ่อน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อเห็นจุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้ว ควรระดมพลไปถาโถมใส่จุดอ่อนนั้นๆ

เลี่ยงการกินแลกหมาก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในการบุกย่อมต้องใช้กำลังมากกว่า ควรเลี่ยงการแลก เพราะกำลังจะอ่อนลง

ถ้ามีจังหวะให้รีบเอาชนะ อย่าเยิ่นเย้อเพราะนอกจากจะเปิดโอกาสแล้ว ยังเป็นการเสียมารยาท ที่ดูหมิ่นฝีมือคู่ต่อสู้ด้วย

การตั้งรับ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นการต้านกำลังของคู่ต่อสู้ไม่ให้เข้ามาถึงคิงได้

ปิดจุดอ่อน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

นอกจากจะหาจุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วต้องหาของฝ่ายตนให้พบด้วย เพื่อจะเตรียมการตั้งรับไว้ทัน

ปะทะด้วยกำลัง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในหลักยุทธศาสตร์แล้วการใช้กำลังเท่ากัน ก็สามารถหยุดยั้งการบุกของคู่ต่อสู้ได้

เป็นการตัดกำลังของฝ่ายคู่ต่อสู้ที่จะมาบุกให้อ่อนลง โดยเสียหมากฝ่ายเราด้วย

เมื่อมีจังหวะสวนกลับ ให้รีบทำเพื่อยางรอยรั่วในแผงรับ นับเป็นการรับที่ดีที่สุด เพราะคู่ต่อสู้มีภาระที่ต้องป้องกันตัวเอง หรืออย่างน้อยก็ทำให้คู่ต่อสู้ต้องพะวงหลัง

เมื่อคู่ต่อสู้ได้เปรียบหรือมีฝีมือเหนือกว่ามาก การหาเสมอจึงเป็นการป้องกันที่ดี

หาเสมอเมื่อเท่ากัน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อทุกอย่างเท่ากัน อาจจะตกลงเสมอกันได้

ปิดทางเดิน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เพื่อไม่ให้โดนโหมบุกหนัก อาจต้องใช้เบี้ยเพื่อกันกำลังของฝ่ายคู่ต่อสุ้ หรืออาจใช้หมากนาย (ที่ไม่ใช่คิง) ร่วมด้วย

เป็นการกินเพื่อไม่ให้โดนบุกมากนัก อาจเสียหรือไม่เสียหมากก็ได้

หาเสมอเมื่อเป็นรอง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อเป็นรองก็ควรทำให้เสียเปรียบน้อยที่สุด โดยการกดดันหรือทำลายจังหวะ

เป็นการตัดกำลังทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อฝ่ายรับได้สกัดกั้น

เป็นการเดินซ้ำเดิม 3 ครั้ง ไม่ว่าหมากจะเป็นรองเท่าใด ถ้าโดนจับรุกล้อ ถือว่าเสมอ

เมื่อไม่ได้ถูกรุกคิง แต่คิงเดินไม่ได้ เมื่อไม่มีหมากเหลืออยู่

ตำแหน่งกลางกระดานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะยิ่งอยู่กลางหมากยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น

การเปิดหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นการเดินเมื่อเริ่มเล่น เพื่อตั้งลักษณะการบุก และยังสามารถแปรรูปได้มากมาย

หลักการเปิดหมาก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อเปิดหมากแล้วต้องให้ฝ่ายเราได้เปรียบ หรืออย่างน้อยต้องไม่ให้คู่ต่อสู้ได้เปรียบ ดังนี้

  • ควบคุมศูนย์กลาง
  • เอาอำนาจหมากออกมาใช้ให้มาก
  • เพื่อทำลายเกมบุกรุกรับของคู่ต่อสู้ตั้งแต่ต้น
  • เพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการบุกรุกถึงคิง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]