หมากล้อม/กติกาหมากล้อม
กติกาพื้นฐาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ผู้เล่น
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: ผู้เล่นมีสองฝ่ายได้แก่ ฝ่ายดำ และฝ่ายขาว
อุปกรณ์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กระดาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]หมากล้อมเป็นเกมที่เล่นบนกระดาน ขนาด 19 × 19 เส้น
ผู้เริ่มต้นเล่นหมากล้อม อาจเล่นบนกระดานขนาด 9 × 9 ได้ ซึ่งตารางขนาดเล็กนี้เหมาะแก่การสอนเทคนิคต่างๆ ที่ไม่ซับซ้อนมากเท่ากระดานขนาดใหญ่
หลังจากที่เริ่มมีประสบการณ์แล้ว (กล่าวคือ เล่นตั้งแต่ 100 เกมขึ้นไป) ผู้เล่นอาจเปลี่ยนไปเล่นบนกระดานขนาด 19 × 19 แทน ผู้สอนบางคนอาจให้เล่นบนกระดาน 13 × 13 ก่อน ซึ่งเพียงพอสำหรับการเล่นทั่วไป
จุดที่เส้นแนวตั้งกับเส้นแนวนอนตัดกันเรียกว่า จุดตัด
กระดานขนาดปกติ คือกระดานขนาด 19 × 19 ซึ่งมีจุดตัดทั้งหมด 361 จุด รูปข้างล่างคือกระดานขนาด 5 × 5 ที่มีวงกลมสีแดงล้อมจุดตัดจุดหนึ่ง
(บทความนี้จะใช้กระดานขนาด 5 × 5 เป็นส่วนใหญ่ เพื่อประหยัดพื้นที่)
หมาก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: มีหมากดำและหมากขาว
ผู้เล่นฝ่ายดำจะใช้หมากดำ ผู้เล่นฝ่ายขาวจะใช้หมากขาว ไม่มีการจำกัดจำนวนหมาก รูปข้างล่างแสดงหมากที่วางอยู่บนกระดาน
สถานะของหมากบนกระดาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กลุ่มหมาก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นิยาม: กลุ่มหมาก คือ หมากหนึ่งหมาก หรือหมากหลายหมากที่มีสีเดียวกันและวางติดกันตามเส้นของตาราง
กลุ่มหมากดำ 6 หมาก
ลมหายใจ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นิยาม: ลมหายใจ ของกลุ่มหมาก คือ จุดตัดว่างที่ติดกับกลุ่มหมาก
จุดตัดที่มีวงกลมสีแดงล้อม คือ ลมหายใจของกลุ่มหมากดำ:
การจับกิน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: หมากที่ไม่มีลมหายใจ จะถูกหยิบออก
|
|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนวาง | ฝ่ายดำวางหมาก | หลังจากหยิบออก |
การเล่น
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การผลัดกันเล่น
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จะต้องผลัดกันวางหมาก โดยฝ่ายดำเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
ในตอนเริ่มต้น กระดานจะเป็นกระดานว่างเปล่า ผู้เล่นฝ่ายดำจะเป็นผู้วางหมากคนแรก หลังจากนั้นผู้เล่นฝ่ายขาวก็จะวางหมาก สลับกันไปเรื่อยๆ
|
|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มต้น | ฝ่ายดำวางหมาก | ฝ่ายขาววางหมาก |
การเล่น หรือ การผ่าน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: ในแต่ละตา ผู้เล่นอาจวางหมาก หรืออาจขอผ่านก็ได้ (ไม่วางหมาก)
จุดตัดว่าง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: ผู้เล่นจะวางหมากของฝ่ายตนเองได้เท่านั้น และต้องวางลงบนจุดตัดที่ไม่มีหมากอื่นวางอยู่
ฝ่ายดำอาจวางหมากดังรูปได้
ห้ามฆ่าตัวตาย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: ห้ามวางหมากบนตำแหน่งที่ทำให้หมากที่วางลงไปไม่มีลมหายใจ (หรือกลุ่มหมากไม่มีลมหายใจ) ยกเว้นว่าเป็นการจับกินกลุ่มหมากของคู่ต่อสู้
โคะ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา : ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องไปลงที่อื่นก่อนที่จะมาอุดโคะหรือสู้กันด้วยโคะอีกครั้ง
จากภาพ ถ้าหมากขาวลงที่ จุด A และเก็บกินหมากดำวงกลมไป ดำจะลงที่เดิมของจุดดำวงกลมอีกครั้งไม่ได้ ต้องไปลง ณ ที่ใดที่หนึ่งของกระดานก่อน และหมากขาวจะอุดโคะหรือทำอย่างไรต่อไปก็ได้
การผ่าน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: เมื่อผู้เล่นขอผ่าน เขาจะไม่มีสิทธิ์วางหมากจนกว่าคู่ต่อสู้จะวางหมาก
การจบเกม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กติกา: เกมจะจบลงเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอผ่าน และอีกฝ่ายก็ขอผ่านติดกัน
การนับคะแนน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- การนับคะแนนแบบจีน
เป็นการนับคะแนนโดยนับทั้งเม็ดหมากของดำบนกระดานและพื้นที่ของดำรวมเป็นคะแนนทั้งหมดของฝ่ายดำ และ นับเม็ดหมากของขาวบนกระดานและพื้นที่ของขาวรวมเป็นคะแนนทั้งหมดของฝ่ายขาว ซึ่งโดยปกติแล้ว การนับจะนับเพียงแค่สีใดสีหนึ่งแล้วเอาไปหักลบจาก 361 จะได้คะแนนของอีกฝ่าย เช่น นับสีดำทั้งเม็ดหมากและพื้นที่ได้ 182 แล้วเอาไปหักลบจาก 361 ก็จะได้เป็นคะแนนของสีขาวก็คือ 179 เมื่อรู้ผลคะแนนของทั้งสองฝ่ายแล้ว ค่อยเอาแต้มต่อเข้าไปบวกให้กับขาวตามกฎกติกาการแข่งขันนั้น ๆ
- การนับคะแนนแบบญี่ปุ่น
แนวคิดการนับแบบญี่ปุ่นก็คือ จะทำให้เม็ดหมากบนกระดานของทั้งสองฝ่ายเท่ากัน โดยสมมติฐานที่ว่า เมื่อต่างฝ่ายต่างเดินคนละเม็ดและไม่มีการจับกินกันเกิดขึ้น เม็ดที่อยู่บนกระดานก็ต้องเท่ากัน ดังนั้น เมื่อมีการจับกินกันเกิดขึ้น ก็จะเก็บเม็ดหมากที่จับกินเอาไว้ เพื่อไปถมที่ฝ่ายที่ถูกจับกินในภายหลัง เพื่อให้เม็ดหมากบนกระดานเท่ากัน แล้วค่อยนับพื้นที่ว่างของทั้งสองฝ่าย (โดยไม่นับเม็ดหมากของทั้งสองฝ่าย) เพื่อเปรียบเทียบกัน เมื่อรู้ผลคะแนนของทั้งสองฝ่ายแล้ว ค่อยเอาแต้มต่อเข้าไปบวกให้กับขาวตามกฎกติกาการแข่งขันนั้น ๆ
- การนับคะแนนแบบอิ้งชางฉี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]www.jbgoac.com เวปไซด์สำหรับนักหมากล้อมระดับดั้ง