หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

จาก วิกิตำรา

วิชาชีพกฏหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. มีองค์การวิชาชีพ (ควบคุม/ส่งเสริม) 2. มีการศึกษาอบรม (ความยุติธรรม/เพื่อสังคม) 3. เจตนารมย์รับใช้ประชาชน 4. เป็นเจ้าหน้าที่ของศาล


หน้าที่ของนักกฏหมาย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ให้คำปรึกษาแนะนำ 2. ดำเนินคดีและว่าความแทน 3. ส่งเสริมและปรับปรุงวิชาชีพ 4. รวบรวมมติมหาชนให้เข้ารูป 5. การดำรงตนเพื่อสาธารณะ

เป้าหมายการศึกษากฏหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. มีความสุขุมรอบคอบ 2. มีความหนักแน่น 3. มีความซื้อสัตย์ สุจริต 4. มีความรู้ในสาขาวิชาอื่นอย่างกว้างขวาง 5. มีความรู้ความเชี่ยวชาญกฏหมายเฉพาะด้าน

องค์การวิชาชีพนักกฏหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. จัดทดสอบความรู้ 2. อบรมภาคปฏิบัติ 3. รับรองการศึกษา (หลักสูตร/ผู้สอน/วิธีการเรียนการสอน/ห้องสมุด/คุณภาพ)


คุณธรรมนักกฏหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ความยุติธรรม (เหตุผล/เสมอภาค/อิสรภาพ/มั่นคง-ปลอดภัย) 2. ผู้นำมติมหาชน


เมื่อกฏหมายไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม นักกฏหมายควรปฏิบัติตนดังนี้
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. นักกฏหมายต้องไม่ใช้วิธีการใดๆ ที่อยู่นอกตัวบบทกฏหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฏหมาย เช่น ใช้กำลังข่มชืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฏหมายในแผ่นดิน ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 116 2. นักกฏหมายต้องใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรม เท่าที่ตัวเองมีอำนาจหน้าที่ทำได้ 3. นักกฏหมายต้องดูแลให้กฏหมายเกิดความเป็นธรรม ไม่ใช่ออกกฏหมายตามอำเภอใจ

หลักธรรมของทนายความ [แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ห้ามประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมารยาททนายความ พ.ศ. 2529


มารยาททนายความต่อศาลและในศาล
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ไม่รับหน้าที่ในเมื่อผู้พิพากษาขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญา เว้นแต่มีข้อแก้ตัวโดยสมควร 2. ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาล หรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา 3. ไม่ลวงศาล โดยกล่าวความหรือทำเอกสารเท็จ หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย 4. ไม่สมรู้ ทำพยานเท็จ เสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใดๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล

มารยาททนายความต่อตัวความ


1. ไม่ปลูกความ (ยุยงส่งเสริมให้ฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้) 2. ไม่วิ่งความ 3. ไม่เปิดเผยความลับของลูกความ เว้นแต่ได้รับอนุญาติจากลูกความ หรือโดยอำนาจศาล 4. ไม่จงใจขาดนัด ทอดทิ้งคดี หรือปิดบังข้อความที่ควรบอกให้ลูกความทราบ หรือจงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน 5. ไม่กินความทั้งสองฝ่าย 6. ไม่ใช้อุบายหลอกลวงหาประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้ 7. ไม่ฉ้อโกงยักยอกหรือตระบัดสินลูกความ


มารยาททนายความต่อทนายความด้วยกัน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ไม่แย่งความ 2. ไม่ประกาศชื่อ วุฒิ ไปในทางโอ้อวด หรือประกาศอัตราค่าว่าความ 3. ไม่ประพฤติตนฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี 4. ไม่แบ่งค่าทนายกับคนอื่นที่ไม่ใช่ทนายความ


มารยาททนายความต่อตนเอง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ต้องแต่งกายให้สุภาพตามที่กำหนดไว้



หลักธรรม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อัยการ [แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ความซื่อสัตย์สุจริต 2. ความเที่ยงธรรม 3. มีสมรรถภาพทั้งในแง่ความรู้ความสามารถเชิงกฏหมายและเชิงคดี และทุ่มเทความรู้ความสามารถให้กับงาน 4. ไม่ลำเอียงด้วยอคติ 4 (ฉันทาคติ/โทสาคติ/โมหาคติ/ภยาคติ)


ผู้พิพากษา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ความเป็นอิสระ 2. กระบวนพิจารณาต้องสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม 3. กระบวนพิจารณาต้องเปิดเผย 4. คำสั่งหรือคำพิพากษาต้องแสดงเหตุผล 5. ความยุติธรรม ต้องมีราคาถูก


ประมวลจริยธรรมตุลาการ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประการที่ 1: อุดมการณ์ของผู้พิพากษา 1. ต้องมีความยุติธรรม  2. ความซื่อสัตย์สุจริต 3. ปฏิบัติตามกฏหมายและนิติประเพณี 4. จักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่า ตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน 5. ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตน 6. เทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ

ประการที่ 2: หลักปฏิบัติในทางอรรถคดี 1. การนั่งพิจารณา (เป็นกลาง/ปราศจากอคติ/สำรวมตน/แต่งกายเรียบร้อย/วาจาสุภาพ/ฟังความตั้งใจ/เสมอภาค/เมตตาธรรม) 2. การแสดงความคิดเห็นต้องไม่แสดงข้อติชม 3. การถามพยานพึงกระทำด้วยความระมัดระวังมิให้คู่ความเกิดความระแวงในความเป็นกลาง 4. การบันทึกคำเบิกความไม่จำเป็นต้องบันทึกถ้อยคำทุกคำ ยกเว้นสำคัญ 5. การมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต้องแสดงเหตุผลอ้างตัวบท 6. การถูกคัดค้าน คดีใดที่เห็นว่าอาจถูกคัดค้านต้องถอนตัวก่อนไม่ต้องรอให้ถูกคัดค้าน

ประการที่ 3: การประกอบกิจการอื่น 1. ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา ห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจเอกชน เว้นแต่ป็นกิจการที่มิได้แสวงหากำไร 2. ได้รับมอบหมายแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ต้องไม่กระเทือนหน้าที่ และได้รับอนุมัติจากกระทรวงฯ 3. ไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ สมาคม สโมสร ชมรม หรือ องค์การใดๆ อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ 4. ไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือ เจ้าหน้าที่ พรรคการเมือง หรือ กลุ่มการเมือง

ประการที่ 4: การดำรงตนและครอบครัว 1. เคารพกฏหมาย/อยู่ในกรอบศีลธรรม/สันโดษ/เรียบง่าย/สุภาพ/ถือจริยธรรม/วางตนให้ศรัทธา 2. ยึดมั่นในระบบคุณธรรม 3. ไม่รับของกำนัลจากคู่ความหรือบุคคลอันเกี่ยวเนื่อง จักต้องดูแลบุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกัน หรือของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์เกินกว่าจะพึงให้ตามอัธยาศัย 4. ละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย