หลักเทียบคำบาลีและสันสกฤต

จาก วิกิตำรา

มีคำโดยมากที่เราใช้เขียนได้ทั้ง 2 อย่าง เช่น นิจ, ภิกขุ จะเขียนเป็น นิตย์ ภิกษุ ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ มิใช่เราเอามาแผลงใช้ในภาษาไทยเป็นด้วยที่มาต่างกันคือ นิจ ภิกขุ เป็นภาษา บาลี, นิตย์, ภิกษุ เป็นภาษา สันสกฤต แต่บางคำเราก็ใช้ทั้งคู่ ยากที่จะสังเกตว่าเป็นคำภาษาไหน หรือแผลงมาจากภาษาไหน ต่อไปนี้จะวางหลักไว้เพื่อเป็นที่สังเกตได้บ้างดังนี้

(1) สระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ และตัว ศ ษ นี้มีในภาษาสันสกฤต ไม่มีในภาษาบาลี คำที่มีอักษรเหล่านี้ต้องมาจากสันสกฤต ที่เราแผลงมาใช้ก็มีบ้าง แต่น้อย เช่น อังกฤษ, ศอก, ศึก เป็นต้น

(2) คำบาลีไม่ค่อยมีพยัญชนะประสม (คือควบกัน เช่น กฺย, กฺร, ทฺย, ทฺร ฯลฯ) มากเหมือนสันสกฤต ทั้งส่วนพยัญชนะต้น และตัวสะกด ตัวสะกด ในภาษาบาลีมีหลักที่จะสังเกตดังนี้

ก. ตัวสะกดต้องมีตัวตามด้วย จะมีตัวเดียวไม่ได้ และต้องเป็นพยัญชนะที่1 ที่3 ที่5 และตัว ย ล ว ส ฬ (ตัว ห สะกดได้บ้าง เช่น พฺรหฺมา) จึงจะสะกดได้

ข. ส่วนตัวตามนั้นก็มีที่สังเกตเห็น คือพยัญชนะที่ 1 ที่ 2 ตามตัวสะกด ที่เป็นพยัญชนะที่ 1 เช่น สกฺก, ทุกฺข, สจฺจ, อจฺฉ ฯลฯ พยัญชนะที่ 3 ที่ 4 ตามหลังตัวสะกดที่เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 เช่น วคฺค, พยคฺฆ ฯลฯ พยัญชนะ ทั้ง 5 ตัวตามหลังตัวสะกดที่เป็นพยัญชนะที่ 5 ในวรรคของมันได้ เช่น วงฺก, อุญฺฉา,ทณฺฑ,สนธิ,สมฺมา ฯลฯ ในเศษวรรคตัว ย ล ส ตามหลังตัวเองได้ เช่น เสยฺย, สลฺล, ผสฺส ฯลฯ แต่ตัว ย ร ล ว ห ตามหลังตัวสะกดหรือไม่ใช่ตัวสะกดก็ได้ เช่น พฺยาบาล, อคฺยาคาร. พฺรหฺม, กิเลส, อวฺหย, วิรุฬฺห ฯลฯ

(3) ส่วนตัวสะกดในภาษาสันสกฤตนั้นตัวเดียวก็สะกดได้ เช่น มนสฺ, หสฺดิน ฯลฯ และตัว ร สะกดก็ได้ และมีใช้ชุกชุมด้วย เช่น ธรฺม, สรฺว, ติรฺถ ฯลฯ ส่วนตัวตามหลังนั้นมีกำหนดคล้ายบาลี แต่ต่างวรรคกันก็ตามหลังกันได้ เช่น ฤกฺษ, มุกฺต, ปุทฺคล, สปฺต, สนิคฺธ ฯลฯ

คำบาลี และสันสกฤตมีมูลรากเป็นอันเดียวกัน แต่ใช้ตัวอักษร แตกต่างกันไป จะคัดมาเทียบไว้พอเป็นหลักสังเกตดังนี้

อักษรที่ต่างกัน บาลี สันสกฤต ไทยใช้
อะ กับ อา อสฺสม อาศฺรม อาศรม, อัสสัม
กนฺตา กานฺตา กานดา
ทนฺต ทานฺต ทันต์, ทานต์
ทนฺติ ทานฺติ ทันติ, ทานติ
รฏฺฐ ราษฺฏฺร ราษฎร, ราชฎร์
หตฺถ หาสฺตฺร หาสดร
อะ กับ ฤ กตา กฤตา กตา, กฤดา
มตก มฤตก มฤดก
อมต อมฤต อมฤต, อมตะ
อิ กับ ฤ อิกฺข ฤกฺษ ฤกษ์
อิทฺธิ ฤทฺธิ ฤทธิ์
อิสิ ฤษิ ฤษี, ฤๅษี
อุ กับ ฤ อุชุ ฤชุ อรชร
อุตุ ฤตุ ฤดู
ปุจฺฉา ปฤจฺฉา ปุจฉา, ปฤจฉา
เอ กับ ไอ เกลาส ไกลาส ไกลาศ, ไกรลาศ
เอราวณ ไอราวณ เอราวัณ
โอ กับ เอา โสร เสาร เสาร์
โสณฺฑ เศาณฺฑ โสณฑ์
อกฺโขภิณี อกฺเษาหิณี อักโขภิณี, อักโขเภณี, อักเษาหิณี
กฺก กับ กฺร, กฺล, รฺก จฺกก จกฺร จักร
สุกฺก ศุกฺร ศุกร์ (วันศุกร์)
สุกฺก ศุกฺล สุก, ศุกล (ขาว)
อุกฺกา อุกฺลา อุกลา (-บาต)
อกฺก อรฺก อรรก (อาทิตย์)
ข กับ กฺษ ขณ กษฺณ ขณะ, กษณะ
ขย กฺษย ขย, กษัย, ขัย, ขยะ
คฺค กบ คฺร, รฺค, คฺว อคฺค อคฺร อรรค, อัคร
อคฺคิ อคฺนิ อัคคี, อัคนี
มคฺค มารฺค มรรค, มารค
กฺข กับ กฺษ ทุกฺข ทุกฺษ ทุกข์, ทุกษ์
ยกฺข ยกฺษ ยักข์, ยักษ์
รกฺขส รากฺษส รักขส, รากษส
จฺจ กับ ตฺย สจฺจ สตฺย สัจ, (ซื่อ)สัตย์, สัจจะ
นิจฺจ นิตฺย นิจ, นิตย์, นิตย
อาทิจฺจ อาทิตฺย อาทิตย์
จฺฉ กับ ถฺย ตจฺฉ ตถฺย ตัถย์
มิจฺฉา มิถฺยา มิจฉา, มิถยา
อิจฺฉา อิถฺยา อิจฉา, อิถยา, ริษยา
จฺฉ กับ ศฺจ ปฏิจฺฉิม ปรฺติศฺจิม ปฏิฉิม, ประดิศจิม
ปจฺฉิม ปรฺศจิม ปัจฉิม, ปรัศจิม
อจฺฉริย อศฺจรฺย อัจฉริยะ, อัศจรรย์
ชฺช กับ ทฺย วิชฺชา วิทฺยา วิชชา, วิทยา, วิชา
เวชฺช ไวทฺย เวช, แพทย์
ชฺฌ กับ ธฺย มชฺฌิม มธฺยม มัชฌิม, มัธยม
สชฺฌาย สาธฺยาย สาธยาย
อุปชฺฌาย อุปาธฺยาย อุปัชฌาย์, อุปาธยาย
ฌ กับ ธฺย ฌาน ธฺยาน ฌาน, ธยาน
ฌาปก ธฺยาปก ฌาบก, ธยาบก
ฌาปนา ธยฺาปนา ฌาปนา, ธยาปนา
ฌาปนิก ธฺยาปนิก ฌาปนิก, ธยาปนิก
ญฺญ กับ ชฺญ ญาณ, ญฺญาณ ชฺญาณ ญาณ
ญาต ชฺญาต ญาต
ญาติ ชฺญาติ ญาติ
ปญฺญตฺติ ปฺรญตติ บัญญัติ
ปญฺญา ปฺรชฺญา ปัญญา, ปรัชญา
ญฺญ กับ นฺย กญฺญา กนฺยา กัญญา, กันยา
การุญฺญ การุนฺย การุญ, การุนย์
ถญฺญ ถนฺย ถัญ, ถันย์
ธญฺญ ธนฺย ธัญ, ธันย์
ปุญฺญ ปุนฺย บุญ, บุนย์
สามญฺญ สามานฺย สามัญ, สามานย์
สุญฺญ ศูนฺย ศูนย์, สูญ(หาย)
ญฺห กับ ศฺน ปญฺห ปรฺศน ปัญหา, ปริศนา
ปญฺหี ปฺรศนี ปรัศนี
ฏฺฐ กับ ษฺฏ ทิฏฺฐิ ทฤษฺฏิ ทิฐิ, ทฤษฎี
อฏฺฐ อษฺฏ อัฐ, อัษฎา
ตุฏฺฐิ ตุษฺฏิ ดุษฎี
โอฏฺฐ โอษฺฐ โอษฐ์
อธิฏฺฐาน อธิษฺฐาน อธิฏฐาน, อธิษฐาน
อฏฺฐิ อสฺถิ อัฐิ, อัสถิ
ฐ กับ สฺถ ฐาน สฺถาน ฐาน, สถาน
ฐาปก สฺถาปก ฐาบก, สถาบก
ฐาปนา สฺถาปนา ฐาปนา, สถาปนา
ฐาปนิก สฺถาปนิก ฐาปนิก, สถาปนิก
ฐิต สฺถิต ฐิต, สถิต
ฐิติ สฺถิติ ฐิติ, สถิติ
ฑฺฒ กับ รฺธ อฑฺฒ อรฺธ อัฒ, อรรธ
อฑฺฒจนฺท อรฺธจนฺทฺร อัฒจันทร์, อรรธจันทร์
วฑฺฒน วรฺธร วัฒน, วรรธน, วัฒน์, วัฒนา, พัฒนา
ณฺณ กับ รฺณ กณฺณ กรฺณ กรรณ, กัณ
ปณฺณ ปรฺณ บรรณ, บัณ
วณฺณ วรฺณ วรรณ, วัณ, พรรณ
อณฺณว อรฺณว อรรณพ, อัณณพ
ณฺห กับ ษฺณ กณฺห กฤษฺณ กฤษณา
ชุณฺห ชุษฺณ ชุษณา
ตณฺห ตฺฤษณา ตัณหา, ตฤษณา, ดำฤษณา
ตุณฺหี ตุษณี ดุษณี
ตฺต กับ กฺต หรือ ปฺต สตฺติ ศกฺดิ ศักดิ์
สตฺต สปฺต สัต, สัปต, สัปด
ปตฺตาภิเสก ปราปฺตาภิเษก ปราบดาภิเษก
ฉตฺต ฉตฺร ฉัตร
เนฺตต เนตฺร เนตร
ปุตฺต ปุตฺร บุตร
สตฺต สตฺว สัตว์
ตฺถ กับ สฺต, สฺตฺร มตฺถุ มสฺตุ มัตถุ, มัสดุ
วตฺถุ วสฺตุ วัตถุ, วัสดุ, พัสดุ
วิตฺถาร วิสฺตาร พิสดาร
สตฺถ ศาสฺตฺร ศาสตร์
ถ กับ สฺต, สฺตร, สฺถ ถล สฺถล สถล
ถาวร สฺถาวร ถาวร, สถาพร
ถูป สฺตูป สถูป, สตูป
อิตฺถี สฺตฺรี สตรี
ทฺท กับ ทฺร นิทฺทา นิทฺรา นิทรา
ภทฺท ภทฺร ภัทร
สมุทฺท สมุทฺร สมุทร
ทฺท กับ พฺท สทฺท ศพฺท ศัพท์, สัท
ทฺธ กับ พฺธ ลทฺธ ลพฺธ ลัทธ์, ลัพธ์
ลทฺธิ ลพฺธิ ลัทธิ, ลัพธิ
ลุทฺธ ลุพฺธ ลุทธ์, ลุพธ์
นฺต กับ นฺตร มนฺต มนฺตฺร มนต์, มนตร์
ยนฺต ยนฺตร ยันต์, ยันตร์, ยนต์, ยนตร์
นฺท กับ นฺทฺร จนฺท จนฺทฺร จันทร์
อินฺท อินฺทฺร อินทร์
อินฺที อินฺทฺรี อินทรี
นฺห กับ สฺน วนฺห วสฺน วันหา, วัสนา, วัสน์
สนฺห ศวฺสฺน ศวัสนะ, ศวัสน์
ป กับ ปฺร ปมาณ ปรฺมาณ ประมาณ
ปมาท ปรฺมาท ประมาท
ปฏิฏฺฐาน ปรฺติษฐาน ปฏิฐาน, ประดิษฐาน
ปฏิปตฺติ ปรฺติปตฺติ ปฏิบัติ (ประติบัติ)
ปฏิเวธ ปรฺติเวธ ปฏิเวธ (ประติเวธ)
ปฏิเสธ ปรฺติเษธ ปฏิเสธ (ประติเษธ)
ปฐม ปรฺถม ปฐม (ประถม)
ปฺป กับ รฺป กนฺทปฺป กนฺทรฺป กันทรรป, กทรรป
ทปฺป ทรฺป ทรรป, ทรรป์
ทปฺปก ทรฺปก ทัปกะ, ทรรบก
ทปฺปน ทรฺปณ ทรรปณะ, ทรรปณ์
สปฺป สรฺป สัปปะ, สัป, สรรป, สรรป์
ปฺป กับ ลฺป กปฺป กลฺป กัป, กัลป์
ทิปฺป ทิลฺป ทิลปะ,ทิลป์
อปฺป อลฺป อัปปะ, อัป
สิปฺป ศิลฺป ศิลปะ, ศิลป์
กฺปปก กลฺปก กัปกะ, กัลบก
อปฺปก อลฺปก อัปกะ
พฺพ กับ รฺว นิพฺพาน นีรฺวาณ นิพพาน, นฤพาน
สพฺพ สรฺว สรรพ, สัพ
ปพฺพต ปรฺวต บรรพต
มฺม กับ รฺม กมฺม กมฺม กรรม, กรรม์
จมฺม จรฺม จรรม, จรรม์
ธมฺม ธรฺม ธรรม, ธรรม์
มฺห กับ ศฺม, ษฺม, สฺม, หฺม รมฺหี รศฺมี รัศมี
เสมฺห เศฺลษฺม เสมหะ, เศลษม์, เสลด
ภมฺห ภสฺม ภัสมะ
วมฺห พฺรหฺม พรหม
ยฺห กับ หฺย คุยฺห คุหฺย คุยหะ
คุยฺหรหฺสส คุหฺยรหสฺย คุยหรหัสย์
มุยฺห มุหฺย มุยหะ
ลฺห กับ หฺต วุลฺหติ วุหฺตติ วุหตติ
วฺห กับ หฺว ชิวฺหา ชิหฺวา ชิวหา
ส กับ ศ กิเลส เกฺลศ กิเลส, เกลศ
ทิส ทิศ ทิศ
เทส เทศ เทศ
สฐ ศฐ สฐะ, ศฐะ
สาขา ศาขา สาขา
สาเถยฺย ศาฐย ศาฐยะ
สิถิล ศิถิล สิถิล, ศิถิล
สิถี ศิถี ศิถี
สุข ศุข สุข, ศุข
ส กับ ษ โฆส โฆษ โฆสะ (โฆษะ), โฆส (โฆษ)
โฆสก โฆษก โฆษก
โฆสา โฆษา โฆษา
โฆสิต โฆษิต โฆษิต
โฆสี โฆษี โฆษี
ฌส ฌษ ฌสะ, ฌษะ
ฌสา ฌษา ฌสา, ฌษา
ฌสางฺค ฌษางฺค ฌสางคะ (ฌษางคะ), ฌสางค์ (ฌษางค์)
ตุส ตุษ ดุสะ, ดุษะ
ตุสิต ตุษิต ดุสิต, ดุษิต
ถุส ถุษ ถุสะ, ถุษะ
ถุสคติ ถุษคติ ถุสคติ, ถุษคติ
ถุสปจฺฉิ ถุษปฺรศฺจิ ถุสปัจฉิ
ถุสปิณฺฑ ถุษปิณฺฑ ถุสบิณฑ์, ถุษบิณฑ์
ถุสราสิ ถุษราศิ ถุสราศี, ถุษราศี
ถุโสทก ถุโษทก ถุโสทก, ถุโษทก
ปริภาส ปริภาษ บริภาส, บริภาษ
ภาสา ภาษา ภาษา
ภาสิต ภาษิต ภาษิต
ภาสี ภาษี ภาษี
มาส มาษ มาส, มาษ
เมส เมษ เมษ
วิส วิษ พิษ
สณฺฑ ษณฺฑ ษณฑ์, ษัณฑ์, สณฑ์, สัณฑ์
สุภาสิต สุภาษิต สุภาษิต
โสฬส โษฑศ โสฬส
อภิเสก อภิเษก อภิเษก
สน กับ ษณ โฆสนา โฆษณา โฆษณา
ปริภาสน ปริภาษณ ปริภาสน์, ปริภาษณ์
ภาสน ภาษณ ภาสน์, ภาษณ์
วิเสสน วิเศษณ วิเศษณ์
สมฺภาสน สมฺภาษณ สัมภาสน์, สัมภาษณ์
ส, สฺส กับ ศฺร, ศว, ษฺย, สฺย สทฺธา ศฺรทฺธา ศรัทธา
สาวก ศฺราวก สาวก, ศราพก
สามี สฺวามี สามี, สวามี
สคฺค สฺวรฺค สวรรค์
อสฺส อศฺว อัศว
อิสฺสร อิศฺวร อิศวร
เวฺสส ไวศฺย แพศยา, แพศย์
ปุสฺส ปุษฺย บุษย์
มนุสฺส มนุษฺย มนุษย์
รหสฺส รหสฺย รหัส, รหัสย์, รหัศย์
ฬ กับ ฏ กาฬ กาฏ กาฬ, กาฏ
กาฬปกฺข กาฏปกฺษ กาฬปักษ์, กาฏปักษ์
กฺกขฬ กฺกขฏ กักขฬะ, กักขฏะ
เขฬ เขฏ เขฬะ, เขฏะ
ฬ กับ ฑ กีฬา กฺรีฑา กีฬา, กรีฑา
ขฬิกา ขฑิกา ขฑิกา
ขฬุ ขฑุ ขฑุ
ครุฬ ครุฑ ครุฑ
จุฬา จุฑา จุฬา, จุฑา
ผฬุ ผฑุ ผฑุ
ผาฬน ผาฑน ผาฬนะ, ผาฑนะ
ฬ กับ ณ กาฬ กาณ กาฬ, กาณ
กาฬปกฺข กาณปกฺษ กาฬปักษ์, กาณปักษ์
เวฬุ เวณุ เวฬุ, เวณุ
ฬฺห กับ ฐ อุฬฺห อูฐ อูฐ
มหุฬฺห มหูฐ มหูฐ
สฬฺห ศฐ สัฬหะ, ศฐะ
สาฬฺหย ศาฐย สาฬหยะ, ศาฐยะ
ฬฺห กับ ฒ วิรุฬฺห วิรูฒ วิรุฬห์, วิโรฒ
วิรุฬฺหก วิรูฒก วิรุฬหก
อาษาฬฺห อาษาฒ อาสาฬหะ, อาสาฬห์, อาษาฒ

ยังมีคำอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ที่ไม่เป็นระเบียบดังข้างบนนี้ ต้องอาศัยสังเกตเปรียบเทียบเอาเองจากภาษาเดิม

คำที่ต่างภาษากันเช่นข้างบนนี้ จะนับว่าฝ่ายหนึ่งแผลงมาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นคนละภาษา ต่อเมื่อไรภาษาเดิมเขาเป็นอย่างหนึ่ง ไทยนำมาใช้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้จึงจะนับว่า แผลง ในที่นี้ เช่นคำบาลีว่า มคฺก, วณฺณ, กมฺม, กตฺติค, ขคฺค, อคฺค, ชุณฺห แต่สันสกฤตเป็น มารฺค, วรฺณ, กรฺม, การฺกติก, ขรฺค, อคฺร, โชฺยตฺสฺน ดังนี้จะนับว่าฝ่ายใดแผลงไม่ได้ ต่อเมื่อไทยนำมาใช้ผิดไปจากเดิมเป็น วรรค, วรรณ, กรรม, กรรดึก, ขรรค์, อัคร, ชุณห เช่นนี้จึงจะนับว่าแผลง ถ้าคำที่แผลงนั้นใกล้ข้างภาษาใด ก็ให้นับว่าแผลงตามภาษานั้นหรือจากภาษานั้น คำแผลงข้างบนนี้ใช้กันมานมนาน เป็นอันใช้ได้ แต่จะคิดแผลงขึ้นตามหลักนี้ เช่น สพฺพญฺญู ใช้อย่างสันสกฤต ว่า สรรเพช หรือ สรรเพชญ์ และจะใช้คำกตฺญว่า กเดช หรือ กเดชญ์ เลียน ตามนั้นไม่ได้ ต้องให้ถูกตามภาษาของเขา ให้สังเกตหลักเทียบที่ไทยใช้ตามข้างบนนี้

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]