ข้ามไปเนื้อหา

อารยธรรมตะวันออก/อารยธรรมจีน

จาก วิกิตำรา

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง

อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ

เครื่องปั้นดินเผาหยางเชา

ลุ่มน้ำแยงซี (Yangtze) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan Culture) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ3ขา

เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน


สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค

1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว

2.ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ

เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง

3.ประวัติศาสตร์สมัยใหม่

เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม

4.ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม

หรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

อารยธรรมราชวงศ์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ราชวงศ์ชาง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-เป็นราชวงศ์แรกของจีน

-มีการปกครองแบบนครรัฐ

-มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”

-มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ

-อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า

ราชวงศ์โจว หรือ จิว

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์” สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์”

-เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน

-เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง

-เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม

-เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎรบิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน

-เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว

-เน้นความสำคัญของการศึกษา

-เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง

-เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด

-เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ

-ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน

-คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน

ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน

-มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด

ราชวงศ์ฮั่น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม ( Silk Road )

-ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ

-มีการสอบ คัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน

ราชวงศ์สุย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก

-มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

ราชวงศ์ถัง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น

-พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป

-เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้

-ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง

ราชวงศ์ซ้อง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา

-รู้จักการใช้เข็มทิศ

-รู้จักการใช้ลูกคิด

-ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ

-รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม

ราชวงศ์หยวน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรก คือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้

-ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี

ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

-วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว

-ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล

-สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)

ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง

-เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน

-เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง

-ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก

จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1.หลักเอกราช 2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน 3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก

• ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน

• ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา

• ดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง

• เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต

• หลังจาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีน

• แต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎร

• จีนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้

• เหมา เจ๋อตุง สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น

• หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง

สังคมและวัฒนธรรมจีน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ระบบที่ดิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สมัยศักดินา กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงเป็นการเกษตรกรรม แต่เนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ครอบครองโดยพวกขุนนาง ภาวะดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนและรุนแรง การชลประทานก็ยังมีไม่เพียงพอ รวมทั้งสงครามระหว่างรัฐต่างๆที่เกิดขึ้นเสมอ ทำให้ผลิตผลภาคเกษตรกรรมไม่พอเลี้ยงสังคม เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม ชาวนาในสมัยนี้ยังคงเลี้ยงตัวเองได้ เพราะมี การผลิตเครื่องหัตถกรรมภายในหมู่บ้าน เช่น การปั่นด้าย และการทอผ้า เป็นต้น

เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ จักรพรรดิจะพระราชทานที่ดินแก่เจ้าเมืองและขุนนางผู้ใหญ่ตามบรรดาศักดิ์ เจ้าเมืองและขุนนางไม่ได้ทำการเพาะปลูกด้วยตนเอง แต่มอบให้สามัญชนหรือชาวนาทำการเพาะปลูกแทน แต่ครอบครัวชาวนาจะต้องตอบแทนเจ้าของที่ดิน โดยการช่วยกันทำการเพาะปลูกในที่ดินแปลงกึ่งกลาง ผลผลิตที่ได้เป็นของเจ้าของที่ดิน เรียกการจัดที่ดินรูปแบบนี้ว่า ระบบบ่อนา

และมีอีกระบบคือระบบนาเฉลี่ย กล่าวคือ รัฐจะเป็นผู้จัดสรรที่ดินให้ชาวนาจำนวนหนึ่ง ครึ่งหนึ่งของที่ดินจะต้องคืน ให้แก่รัฐเมื่อชาวนาถึงแก่กรรม แต่ที่ดินในส่วนที่เหลือ ซึ่งจะใช้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เป็นกรรมสิทธิ์สามารถสืบทอดเป็นมรดกได้

ลัทธิขงจื้อ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นศาสนาหรือลัทธิ ที่มีขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นผู้วางรากฐานให้กับลัทธิขงจื๊อที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีนในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ได้แก่ เมตตาธรรม มโนธรรม จริยธรรม สัตยธรรม ปัญญาธรรม

ศาสนาขงจื๊อเป็นระบบศีลธรรมหรือหน้าที่พลเมืองดีมากกว่าศาสนา เพราะขงจื๊อมิได้ส่งเสริมให้มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เป็นตัวตน หรือการสวดอ้อนวอน ตลอดจนการบูชาพระผู้เป็นใหญ่ แม้ขงจื๊อจะสอนหนักไปทางจริยธรรมและหน้าที่พลเมืองดี

เป็นลัทธิและศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ โดยคำว่า เต๋า แปลว่า "หนทาง" ไม่สามารถที่จะรู้จากอักษรและชื่อ ถ่ายทอดไม่ได้เล่าจื๊อเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ได้เขียนข้อความสื่อถึงเต๋าในชื่อหนังสือว่า เต๋าเต็กเก็ง หยินหยาง ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คติทวินิยม, พุท, อัว หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม ,สิ่งที่เป็นของคู่ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุล ธรรมชาติประกอบด้วยของคู่

หยาง คือพลังบวกมีลักษณะสีขาว เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ

หยิน คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ

ลัทธินิติธรรมหรือฟาเฉีย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เกิดขึ้นในปลายสมัยราชวงศ์โจว ผู้นิยมลัทธินี้มีความเชื่อว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนเลว มีกิเลสตัณหาจึงต้องควบคุมโดยวิธีการลงโทษผู้กระทำผิด และให้รางวัลแก่ผู้กระทำความดี ซึ่งต่อมาลัทธินี้ได้พัฒนามาเป็นกฎหมายของจีน

พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีนดังได้ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระเจ้าฮั่นเม่งเต้ ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่มแรก

พุทธศาสนาในปัจจุบัน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือถึง 30%

ศิลปกรรมจีน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบจีนเป็นแหล่งกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายคราม เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนมีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปร่างสวยงาม เนื้องานละเอียด และยังได้รวมเอาคุณค่าด้านการใช้งานและคุณค่าทางศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก

เศษเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบที่ซากเมืองโบราณยินซึ่งเป็นเมืองหลวง สมัยราชวงศ์ซางเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนเกิดในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น เรื่อยๆ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาลดความสำคัญลงไปโดยมีเครื่องเคลือบลายครามเข้ามาแทนที่

ในสมัยราชวงศ์ถังการสร้างสรรค์ทางศิลปะและเทคนิคการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ได้รับการพัฒนาจนสุกงอมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เครื่องเคลือบลายครามสีเขียวอ่อน เครื่องเคลือบลายครามสีขาวและเครื่องเคลือบลายครามสามสีถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ สะท้อนถึงเทคนิคและศิลปะการผลิตขั้นสูงสุดของเครื่องเคลือบลายครามในสมัยราชวงศ์ถัง

ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน มีเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามจำนวนมากจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามเจริญรุ่งเรือง มาก จึงมีเตาเผาที่มีชื่อเสียงในการผลิตเกิดขึ้นมากเช่นกัน จนมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและชิงซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้น ดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุด เทคนิคและฝีมือการผลิตในยุคนี้ก็ได้รับพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

จนมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและชิงซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้น ดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุด เทคนิคและฝีมือการผลิตในยุคนี้ก็ได้รับพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

เครื่องสำริด

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ใช้ในการบูชาเทพเจ้า มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในประเทศจีน ซึ่งนักโบราณคดีต่างก็ได้ค้นพบหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สังคมเกษตรกรรมเป็นต้นมา ผู้คนก็พากันร้องขอให้เทพประทานลมฝนที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมาให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดามาก

ในสมัยเซี่ย ได้เริ่มมีการสักการะฟ้าเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการนับถือศาสนา เนื่องจากผู้ปกครองสูงสุดในขณะนั้น ต้องการปกป้องอำนาจของตน จึงนำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและลัทธิการบูชาธรรมชาติมารวมกัน เกิดเป็น “ฟ้า” หรือ “ฮ่องเต้” ซึ่งมีลักษณะของเทพเจ้าขึ้นมา

เครื่องหยก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เครื่องหยกจีนมีความเจริญ รุ่งเรืองคือสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อประมาณศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสต์กาล เครื่องหยกที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องเซ่นของพวก ขุนนางผู้ดี เมื่อวิวัฒนาการถึงประมาณศตวรรษที่ 9 ชาวบ้านทั่วไปก็เริ่มเก็บรักษาเครื่องหยกเพื่อไว้ชื่นชมหรือใช้ประโยชน์ เหมือนพวกเจ้าขุนมูลนาย

เครื่องหยกถูกใช้ในความหมายสิริมงคล ขับไล่ความชั่วร้ายและความหมายทางศาสนาตลอดจนเครื่องหยกที่ใช้ประโยชน์หรือ ใช้เป็นเครื่องประดับประดานั้นได้ถูกผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

ช่างฝีมือแกะสลักเครื่องหยกกลายเป็นกลุ่มคนที่เป็นตัวของตัวเองในชนชั้นของ สังคม รูปแบบของเครื่องหยกนั้นมีหลากหลาย อาทิ เป็นเครื่องประดับ เป็นเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียน ความสิริมงคล เป็นของฝากหรือของที่ระลึกที่มีความหมายเป็นสิริมงคลตลอดจนเป็นเครื่องใช้ทาง ศาสนา เป็นต้น ลวดลายบนเครื่องหยกมีทั้งเรื่องราวที่เป็นนิทานพื้นเมือง และภาพสิริมงคลต่างๆเป็นจำนวนมาก

เนื้อหยกของจีนมีมากมายหลายชนิด เนื่องจากมีส่วนประกอบสารโลหะและเกิดในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้มีลวดลายและสีสันที่หลากหลาย ในจำนวนนี้ หยก"เหอเถียน"นับเป็นเครื่องหยกที่ทรงคุณค่าและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด

หยก"เหอเถียน"ผลิตขึ้นในเขตเหอเถียนและเขตมู่อยี้ที่อยู่ทางด้านเหนือของ เทือกเขาเทียนซานในเขตซินเกียงทางภาคเหนือของจีน สภาพอากาศที่นั่นเลวร้ายมาก ผู้คนอาศัยอยู่เบาบางมาก แต่หยกที่นั่นมีความแข็งสูง เนื้อหยกมีคุณภาพดีและมีสีสันที่สวยงาม จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวัตถุล้ำค่ามาตั้งแต่โบราณกาล

ปัจจุบัน เครื่องหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความประเสริฐ ความบริสุทธิ์ ความมีมิตรไมตรี ความเป็นสิริมงคล สันติภาพและความสวยงาม และยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมที่ขาดเสียมิได้ในชีวิตประจำวันของประชา ชนจีน บ้างอาจถูกใช้เป็นเครื่องประดับในบ้าน บ้างอาจถูกใช้เป็นสิ่งยืนยันความรักหรือบ้างอาจเป็นของฝากหรือของที่ระลึก เล็กๆชิ้นหนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องหยกดังกล่าวล้วนแผงไว้ด้วยนัยทางวัฒนธรรมที่"ถือหยกเป็นสิ่งวิเศษ"ของจีน

ประติมากรรม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต

สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา

สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม

สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู

สถาปัตยกรรม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สถาปัตยกรรมจีน เป็นระบบสถาปัตยกรรมแต่หนึ่งเดียวในโลกที่สร้างด้วยไม้เป็น ส่วนใหญ่และได้แสดงให้เห็นอย่างลึกซึ้งถึงทรรศนะทางจารียศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ค่านิยม และทรรศนะที่มีต่อธรรมชาติของคนจีน ลักษณะพิเศษของศิลปะการก่อสร้างของจีน รวมถึง มีความโดดเด่นอย่างมากในด้านความคิดอำนาจจักรพรรดิเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และความคิดแบ่งระดับชั้นชนอย่างเข้มงวด การวางแผนผังพระราชวังหลวงและเมือง หลวงมีระดับสูงสุด ให้ความสำคัญต่อความงามส่วนทั้งหมด สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่เป็น แบบลานบ้านที่มีเส้นกลางแบ่งเขตเป็นสองเขตที่มีสัดส่วนตรงกัน เคารพธรรมชาติ ให้ความสำคัญต่อความกลมกลืนกับธรรมชาติและความงามแบบแฝงไว้

กำแพงเมืองจีน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล

เมืองปักกิ่ง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้าน การวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง

พระราชวังฤดูร้อน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สร้างในสมัยราชวงศ์ต้าชิงโดยพระนางซูสีไทเฮา

ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ

ตั้งเเต่อดีต จิตรกรรมจีนนั้นมีรูปแบบเรียบง่าย สีสันไม่ฉูดฉาด เเต่มีความหมายแฝงไว้ด้วยแง่คิดที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวตะวันออก ศาสนา ปรัชญา และคำสั่งสอน ซึ่งเป็นความพิเศษของศิลปะจีนอย่างหนึ่งที่มีความแตกต่างจากศิลปะอื่นๆ หากสังเกตภาพเขียนของจีน ภาพส่วนใหญ่ จิตรกรมุ่งเขียนภาพธรรมชาติที่ดูยิ่งใหญ่ อาคาร สิ่งก่อสร้างนั้นใหญ่รองลงมา และมนุษย์เป็นสิ่งที่จิตรกรวาดเล็กที่สุด นั่นเพราะศิลปะเเบบจีนเพียรเน้นความเหมือนจริงของธรรมชาติ

จิตรกรรมของจีน มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ

งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ

สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า

สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้

สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น

ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล

ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ ทางตะวันตกมายังประเทศจีน

จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องได้รับกรรม

หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอก เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน ความก้าวหน้าทางวิทยาการของจีน

ตัวอักษรจีน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปรากฏของอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบที่เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่แกะสลักเป็นวงกลม พระจันทร์เสี้ยว และ ภูเขาห้ายอด บนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนเมื่อ 3,000 ปี ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็น อักษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์นั่นเอง ซึ่งเป็นยุคต้นศิลปะการเขียนของจีน

อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์เจี๋ยกู่เหวิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นอักษรโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่มีการค้นพบมา โดยอยู่ในรูปแบบ ของการทำนาย ที่ใช้มีดแกะสลักลงบนกระดูกของเต่า

อักษรโลหะ หรือ จินเหวิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็น อักษรที่เกิดในราชวงศ์ชาง-ราชวงศ์โจว มีลักษณะพิเศษคือ ลายเส้นจะมีความหนาและชัดเจนมากเพราะได้จากากรหลอมของโลหะ ไม่ใช่การแกะสลัก

อักษรจ้วนเล็ก

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากสมัยชุนชินจั้นกว๋อจนถึงราชวงศ์ฉินอักษรจีนได้คงรูปแบบเดิมไว้อยู่จากราชวงศ์โจวตะวันตก ภายหลังหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกัน ในปี ค.ศ.221 แล้วก็ได้เกิดการปฎิรูปตัวอักษรจีนครั้งใหญ่ อักษรที่ผ่านการปฎิรูปนี้ ได้ใช้กันทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรกเรียกว่า อักษร จ้วนเล็ก

อักษรลี่ซู

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ขณะที่ราชวงศ์ฉินมีการประกาศใช้อักษร จ้วนเล็กแล้ว ก็ได้มีการให้ใช้อักษรลี่ซูควบคู่กันไป โดยอักษรลี่ซู พัฒนามาจาก อักษรจ้วนเล็กอย่างง่าย อักษรลี่ซูทำให้อักษรจีน ก้าวเข้าสู่อักษรสัญลักษณ์ อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่ใช่อักษรภาพเหมือนยุคแรก

อักษรข่ายซู

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นอักษรที่ใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน เป็นเส้นลักษณะที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากอักษรภาพ ยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง

อักษรเฉ่าซู

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เกิดจากการที่นำลายเส้นที่มีอยู่แต่เดิม มาย่อเหลือเพีงขีดเดียว โดยฉีกรูปแบบที่จำเจของอักษรภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมที่มีแต่เดิมออกไป

อักษรสิงซู

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีรูปแบบระหว่าง ข่ายซู กับ เฉ่าซู ผสมกัน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอักษรที่เขียนตวัด อย่างบรรจง กำหนดขึ้นใน ปลายราชวงศ์ฮั่น ทางตะวันออก

กระดาษและการพิมพ์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ชาวจีนเป็นชาติแรกที่คิดค้นทำกระดาษขึ้นมาใช้เขียนตัวอักษร คือ ประมาณ ค.ศ.105 ไช่หลุน ขุนนางจีน เป็นผู้นำเปลือกไม้ เศษปอหรือป่าน ผ้าเก่า และแห มาทำกระดาษ ทำให้กระดูก กระดองเต่า แผ่นโลหะ ไม้ไผ่ และผ้าไหมไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป

ต่อมามีการคิดค้นหมึกขึ้น โดยใช้เขม่าต้นรักหรือไม้สนปั้นเป็นเม็ดหรือแท่ง ฝนกับน้ำ ใช้พู่กันจุ่มหมึกเขียนตัวอักษรลงบนกระดาษซึ่งสามารถบรรจุตัวอักษรได้เป็นจำนวนมาก น้ำหนักเบา จัดเก็บและพกพาได้สะดวก ทำให้การบันทึกหรือเขียนตำรับตำราลงบนแผ่นกระดาษแล้วรวมเป็นเล่มเริ่มแพร่หลาย

ในระยะต่อมา จีนได้เริ่มพัฒนาการพิมพ์ด้วยการเอาน้ำหมึกทาลงบนแผ่นไม้ที่แกะสลัก

สมัยราชวงศ์ซ่ง การพิมพ์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการแกะตัวอักษรลงบนดินเหนียว ต่อมาเปลี่ยนจากดินเหนียวเป็นไม้แท่ง และในสมัยราชวงศ์หมิงใช้วิธีแกะตัวอักษรลงบนแท่งทองแดง

การใช้ตัวพิมพ์เรียงพิมพ์ทำให้การพิมพ์ของจีนก้าวหน้ายิ่งขึ้น หนังสือต่างๆ เช่น พระสูตร ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ในลัทธิขงจื๊อ ตำรา วรรณกรรม เอกสารทางราชการ ล้วนได้รับการจัดพิมพ์ด้วยวิธีเรียงพิมพ์ทั้งสิ้น และในสมัยราชวงศ์ซ่งได้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ตามหัวเมืองต่างๆหลายเมือง จนถึงสมัยราชวงศ์หมิงและสมัยราชวงศ์ชิงมักนิยมพิมพ์หนังสือเป็นชุดใหญ่ ชุดหนึ่งมีจำนวนหนึ่งหมื่นเล่ม ทำให้ความรู้ต่างๆแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง จีนได้เริ่มการพิมพ์หนังสือก่อนชาวยุโรป800ปี และรู้จักใช้ตัวพิมพ์เรียงพิมพ์เป็นหนังสือเล่มก่อนยุโรปถึง400ปี

ในราชวงศ์ฮั่นนั้นถือว่าได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ยาวนานที่สุด และมีประสบการณ์ และ ทฤษฎีมากที่สุด การแพทย์โบราณของจีนนั้นถือกำเนิดมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองของจีน ได้กำหนดแพทย์ชื่อดังจำนวนมาก และตำราแพทยศาสตร์ที่สำคัญมากมาย ได้มีการบันทึกการรักษาพยาบาล และโรคมากมายลงบนกระดูก กระดองเต่า จนมาถึงราชวงศ์โจว เริ่มมีการ ตรวววจวินิจฉัย 4 อย่าง คือ มอง ฟัง ถาม และ แมะ ตลอดจน วินิจฉัยโรคต่างๆ และมีการจ่ายยา และการฝังเข็ม เป็นต้น

ในสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น นั้นได้มีบทประพันธ์ที่มีระบบชื่อว่า ” หวาง ตี้ เน่ย จิง” ถือเป็นตำราทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด เมื่อถึงราชวงศ์ฮั่น แพทย์ศัลยกรรมเริ่มมีชื่อเสียงมากอยู่แล้ว และได้เริ่มมีการใช้ยา “ หมา เฟ่ย ส่าน ”เพื่อใช้เป็นยาสลบ เพื่อลดความเจ็บปวดในการผ่าตัด และ ในราชวงศ์ซ่งนั้น การฝังเข็มได้มีการปฎิรูป ครั้งสำคัญตั้งแต่ ราชวงศ์หมิงเป็นต้นมาแพทย์ศาสตร์ ของตะวันตกได้เข้าไปยังประเทศจีน นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการนำแพทย์ศาสตร์ตะวันตก กับจีน เข้าด้วยกัน

การฝังเข็ม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การฝังเข็มเป็นส่วนสำคัญในการรักษาของแพทย์แผนจีนโบราณ ซึ่งเริ่มแรกเป็นเพียงการรักษาขั้นพื้นฐาน ต่อมาได้พัฒนาเป็นสาขาวิชาการฝังเข็มนั้นมีประวัติยาวนาน หนังสือโบราณได้เคยเอ่ยถึงเข็มที่ทำมากจากหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษา เรียกว่า “เข็มหิน” ซึ่งเกิดในสมัยยุคหินใหม่ ซึ่งห่างจากยุคปัจจุบัน 8,000-4,000ปี ซึ่งอยู่ในระบบชาติกุลคอมมูน และเมื่อมีเทคโนโลยีในการหลอมเข้ามา ก็ได้มีการหลอมเข็มเพื่อใช้ในประโยชน์ต่างๆมากมาย

ในสมัย ค.ศ.256-589 นั้นได้มีตำราเกี่ยวกับการฝังเข็มมากมายอย่างเห็นได้ชัด จนสมัยนี้การฝังเข็มได้แพร่ไปยัง เกาหลี และ ญี่ปุ่นแล้ว

ใน ศตวรรษที่ 16 การฝังเข็มได้เผยแพร่ไปถึงยุโรป นับตั้งแต่ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้นใน ค.ศ.1949 เป็นต้นมาการฝังเข็มนั้นพัฒนาไปอย่างมาก ได้มีการจัดแผนกเข็มในโรงพยาบาล และให้ความสำคัณกับภูมิปัญญานี้อย่างมากมาย จึงทำให้ภูมิปัญญานี้ไม่อาจถูกลบเลือนได้ มิหนำซ้ำ ยังได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกอีกด้วย

ความรู้ทางวิศวกรรมโลหะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สมัยราชวงศ์ชางเมื่อ3,000 ปีมาแล้ว ประชาชนจีนได้รู้จักการถลุงสำริด และยังรู้จักใช้เหล็ก ในสมัยชุนชิว ได้ปรากฎเทคนิคการถลุงเหล็กกล้า ควบคู่ไปกับการเกษตรกรรม จึงทำให้เกิดชลประทานตูเจียงแย่น 都江堰 ที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน

สมัยราชวงศ์ช้องได้มีการพัฒนาด้านถ่านหิน และ การหลอมเหล็กกล้ามาก จีนได้สร้างอาวุธมากมายก๋งชูจื่อ เป็นวิศวกรที่ใครๆ ในสมัยนั้นรู้จักกันดี ซึ่งได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจคือ “ นกพยนต์ “ ซึ่งประดิษฐ์มาจากไม่ไผ่ซึ่งสามารถบินได้สามวันสามคืนไม่ตกพื้นเลย เพราะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์โดยการใช้วงเวียนและไม้ฉาก ซึ่งบ่งบอกมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี

การต่อเรือ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กำเนิด และวิวัฒนาการของเรือสำเภาจีนไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเรือนี้มีอายุเท่าใด และรูปร่างลักษณะของ เรือที่แตกต่างกันนั้นได้เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด การศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในทางประวัติศาสตร์ มิได้ช่วยให้พบหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับ “เรือสำเภา” แบบดั้งเดิมเลย

ปีเอตรี ได้อ้างถึงตำราของชาวจีนที่เก่าแก่เล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1 กล่าวว่าวิธีการต่อ “เรือสำเภา” นั้น มีมาแต่สมัยโบราณในอ่าวเปอร์เชีย และชาวเปอร์เชียหรือชาวอินเดียเป็นผู้ใช้เรือนี้เป็นครั้งแรกเพื่อเดินเรือ ไปยังทะเลจีนทั้งนี้ก็เป็นการยากที่จะเชื่อได้ว่าชาวเปอร์เชียหรือชาว อินเดียก็ดีที่ได้ต่อเรือใบนี้ขึ้นแล้วจะเลิกแบบอย่างที่ดีนี้เสียโดยไม่ ทิ้งหลักฐานในทางโบราณคดีไว้เลย

ปี พ.ศ.1841 มาร์โคโปโล ได้บรรยายถึงเรือใหญ่ลำที่เขาโดยสารไปยังตะวันออกในการเดินทางตอนหนึ่งว่า เป็น เรือใบ 4 เสา มีห้องที่กั้นน้ำด้วยฝาผนัง 13 ห้อง ห้องพักส่วนตัวสำหรับพ่อค้าที่มั่งคั่ง 60 ห้อง และเป็นเรือที่มีหางเสือ อยู่ตรงทวนท้ายเรือ นับว่าเป็นการแนะให้โลกตะวันตกได้รู้จักเรือสำเภาจีน

นักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมได้รายงานว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ได้มีผู้พบเรือของจีนอยู่ในแม่น้ำยูเฟรติส สิ่งที่แสดงถึง “เรือสำเภา” ที่เก่าแก่ที่สุดก็คือภาพแกะสลักภายในโบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชาซึ่งประมาณว่าราว พ.ศ.1693 การสร้างเรือสำเภาจีนโดยใช้ผนังกั้นเป็นห้องหลายๆห้อง และกันน้ำได้นี้นับว่ามีความสำคัญมาก และเป็นเวลา ก่อนที่ชาวยุโรปจะรู้จักและนำเอามาใช้ต่อเรือเหล็ก ในศตวรรษที่ 19 หลายพันปี

ชาวจีนเป็นผู้ประดิษฐ์ใบแขวนชนิดห้อยและมีพรวนใบ แต่เรือชนิดอื่นไม่เคยนำไปใช้กันเลยนอกจากชาวยุโรปและชาวอเมริกันที่ได้นำมา ใช้กับเรือยอชท์และเรือใบแข่งขันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนอีกเช่นกัน หลักฐานของจีนมีอยู่ว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นสืบเนื่องมาจาก ในป่าลึกทางตะวันตกของจีนมีผีป่าน่ากลัว ชื่อซันเซา ผู้ใดพบก็จะมีอาการจับไข้ หากนำไม้ใผ่มาตัดเป็นข้อปล้องโยนเข้าไปในกองไฟ จะเกิดเสียงดังเปรี้ยงปร้าง ซันเซาก็จะตกใจหนีไป คืนส่งท้ายปีเก่าของจีนจึงนิยมจุดประทัดเพื่อขับไล่ผีซันเซานี่เอง ภายหลังมีการนำเอาดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันในกระดาษทำให้เป็นประทัด นั่นคือการเริ่มต้นใช้ดินปืน ส่วนประกอบสำคัญของดินปืน คือ ดินประสิว กำมะถัน และผงถ่าน

สมัยซ้อง มีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะสมัยซ้องใต้มีการนำมาใช้มากขึ้นไปอีก เกี่ยวกับการประดิษฐ์ดินปืน และทำกระดาษนี้ มีตำราเล่มหนึ่งบันทึกเรื่องเหล่านี้เอาไว้ เช่น ปลายสมัยราชวงศ์หมิง ซ่งอิ้งซิง ได้เขียนตำรา เทียนกงไคอู้ บรรยายการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเคมีสมัยจีนโบราณทั้งมีภาพประกอบ นับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก

ดาราศาสตร์และปฏิทิน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประเทศจีนนับเป็นประเทศแรกของโลกที่มีการคำนวณหาระยะพิกัดดวงดาวจากเส้นศูนย์สูตร เนื่องจากแนวคิดทางดาราศาสตร์ของจีนนับแต่โบราณกาล มีพื้นฐานมาจากการศึกษาการเคลื่อนตำแหน่งของดวงดาว อาทิตย์และจันทร์ ในขณะที่ประเทศทางแถบตะวันตกในสมัยโบราณจะใช้ระบบวงโคจรของจักรราศีของ 12 ราศี ซึ่งจากการศึกษาทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันพิสูจน์ว่า ระบบทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยระบบแรกให้ผลดีกว่าระบบหลัง ปัจจุบันวงการดาราศาสตร์หันมาใช้ระบบการหาพิกัดจากเส้นศูนย์สูตร

คนจีนสมัยก่อน มีการบันทึกเรื่องราวบนฟ้ามากมาย เช่น การเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา มนุษย์นอกโลก แผนที่ดาว หรือแม้กระทั่งมีการบันทึกดาวหางแบบต่างๆ

ชาวจีนมีความรู้ในการทำแผนที่ สามารถหาพิกัดและกำหนดอัตราส่วนแผนที่ ส่วนใหญ่เพื่อใช้ทางการทหาร ในสมัยหลังนำมาใช้ประโยชน์ในการเดินเรือ

คณิตศาสตร์และการคำนวณ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีน ได้มีการขุดพบ อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์ในสมัยชาง และได้มีการจารึกตัวเลข 1-10 จนถึง ร้อย พัน หมื่น สูงสุดกว่า 20,000 หลังจากนั้นมาวิธีการนับตัวเลขก็มีความก้าวหน้าตามลำดับ โดยการใช้เบี้ย เข็มทิศ การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของ จีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือ ภูเขา จากหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษที่ 12 นั่นคือในขณะนั้น จูยี่ เป็นชาวมณฑล เจ้อเจียง ได้เขียนบันทึกชื่อผิงโจวเข่อถาน บันทึกไว้ว่า ในคืนแรม ทหารเรือได้ใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมจำแนกทิศทาง และ ลูกคิดในการคำนวณ ต่อมา เจิ้งเหอ ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ปีค.ศ. 1405 เดินทางไปถึงอาหรับและแอฟริกาตะวันออก ไปกลับเจ็ดครั้ง รวมเวลาได้ 28 ปี เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีเข็มทิศแล้ว การเดินทางในมหาสมุทรระยะไกลเช่นนี้ย่อมไม่สำเร็จแน่ ชาวอิตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีน จึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหากอ้างอิงถึง ทรรศนะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง