ข้ามไปเนื้อหา

อาหารสี่

จาก วิกิตำรา
เรื่อง อาหาร ๔ (ปัจจัยว่าด้วย อาหาร)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. ปาตราสภตฺตํ แปลว่า อาหารเช้า
๒. เอกํ พฺยากรณํ ความว่า คำนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ชื่อว่า ไวยากรณ์หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.
๓. สากภกฺโข ได้แก่ มี ผักสดเป็นอาหาร
๔. สามากภกฺโข ,อภิสงฺขจฺจ ได้แก่ มีเมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหาร ,ได้แก่ ปรุงแต่ง คือรวบรวมทำเป็นอาหาร
๕. ........? โลกหนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร ,สังขารโลก โดยประการทั้งปวง โลกสี่ คืออาหารสี่
๖. ภตฺตสมฺมโท แปลว่า ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร
๗. - -

บรรยายสังเขป คำว่า “อาหาร”

ที่ชื่อว่า “อาหาร” มีมาในอุเทศปัญหาสิบอย่าง(เรื่องที่ต้องพ้น พ้นด้วย ?) ได้ว่าโดยย่อแล้วตามพระสังคีติกาจารย์ท่านว่า. ดูตามตำรากล่าวไว้นั้นหมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่และเป็นไปแล้วด้วยอาหาร อาหารที่บรรยายมาจึงไม่ใช่ แต่อาหารคำข้าว ในที่เป็นคำๆ ที่กินอยู่กันนี้อย่างเดียว แต่กล่าวหมายถึงทั้งหมดว่าเมื่อจิตใจไปเกี่ยวข้องพัวพันกะสิ่งใด สิ่งนั้น ถึงอารมณ์นั้น ความรู้สึกนั้นนับว่าเป็นอาหาร และจะเป็นบทสังเขปที่จะหาอ่านได้จากบทสารานุกรมนั้นยังไม่มี เพราะว่าสรุปโดยย่อ ที่เห็นในบทความทางศาสนาของสารานุกรมให้มีนั้น เห็นจะสรุปลงเป็น ธรรมารมณ์ มากกว่าจะรวมเป็นมติเดียวว่าเป็นอาหาร ตามกำหนดมติที่มีมาในอุทเทศแห่งปัญหาสิบอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นด้วยตลอดคัมภีร์ฎีกาและอรรถกถาจารย์เอง หรือจะคงเพราะแปรไปให้ไว้ให้กล่าวในอุเทศปัญหา ๑๐ แล้ว ก็จึงไม่กล่าวด้วยตามที่ชี้แจงถึงธรรมารมณ์ ที่กำหนดให้กล่าวไปในเรื่องของณานกีฬา (การเล่นฌาน) ฉะนั้นจึงจะขอกล่าวมาแต่ทางนี้ ในที่ซึ่งหมายถึงหยุดเสพหยุดคิด (ร้าย) นั้นเอง จึงถือว่าเป็นการหยุดอาหารได้บ้าง แล้วเป็นนิโรธดับจิตได้ และตลอดถึงอาหารตามธรรมดาชนิดที่กิน-ดื่มก็ควรสำรวม ระงับหรือจำกัดไว้ด้วย ด้วยใจคนเราที่เป็นปัญหาได้มาแต่ทุกข์โทษโพยภัยนั้น ว่า ให้เกิดเป็นเพราะด้วยนัยแห่งอาหาร (ให้ใจได้เสพ) ทั้งนั้น ดังนี้ เมื่ออ่านเทียบสอบทานดูแล้ว อาจจะยังขัดต่อความเข้าใจอยู่ และใครๆอาจจะว่าผิดนอกตำราไปแล้ว เพราะอธิบายตั้งแต่ถือเป็นอัตโนมติของตน เพราะผัสสาหารเป็นต้นไปจนถึง วิญญาณาหารนั้น ถ้ายึดตามคำศัพท์นั้นแล้วก็จะได้สอบสวนตามสำนวนตำราแห่งพระอภิธรรมเป็นต้นเรื่อยไป จะต้องว่าไม่ใช่! แต่ก็จะพูดให้เหมือนมีตำรากล่าวอยู่หรือ ? จึงให้กล่าว หรือให้เปรียบไม่ได้เลย ฉะนั้นจึงควรคิดสอบถามกันตามแบบของกถาวัตถุตามแต่นิกายนั้นๆ ก่อน หรืออย่างไรที่จะเป็นทางพอแต่เทียบเคียง ไม่ใช่แสดงรวบรวมลงแต่ทางตำราอยู่เสียทั้งหมด หาดู เช่นตัวอย่างเรื่อง การเกิดแห่งอายตนะเป็นต้น แค่นั้นก่อน จึงจะพอคุยให้เข้าใจกันได้ ซึ่งทั้งหมดแล้วหากกล่าวไปตามลำดับปัญหาก็จะไม่พ้นว่าเกิดด้วยความเป็นปัจจัย ว่าด้วยเพราะเป็นอาหาร ที่จะเป็นปฏิสนธิจิตอย่างไรนั้นก็จงได้ดูจากปัญญาถาม-ตอบ ของนิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ แต่ที่นี้จะได้ว่าเปรียบตามไปถึง ถึงเหตุที่กินเนื้อบุตรนั้น และชอนไชเสพอยู่ไปทุกสิ่ง กระทั้งดั่งถูกฉุดคร่าอยู่ก็ตาม และกระทั่งดั่งถูกทิ่มแทงอยู่ก็ตาม ไม่เว้น ซึ่งกำหนดอยู่แล้วตามหัวข้อ ว่าด้วยอาหาร (๔) จึงขอตอบสอบเทียบตามนั้นไว้ มิใช่ยกตามสำนวนตามแต่ตำรานั้นๆมาเสียทั้งหมด สรูปข้อนี้ว่าดังนี้.


  • อยู่ในทางอดอยาก แห้งแล้ง
  • กินอยู่ตลอดเวลา เหมือนหนอน
  • เหมือนถูกฉุดไป คร่าไปด้วยกำลัง
  • เหมือนดังมีหอกทิ่มแทงแล้ว กลับยิ่งมีทิ่มแทงซ้ำกว่าอีก


ตัวอย่าง ว่ากินเนื้อ และเนื้อมนุษย์นั้น (เพราะไม่มีอะไรจะกิน ?)

คำถาม — เจตนาในอาหาร ทำให้บุตรในทางกันดารต้องตาย!
คำตอบ — กล่าวเนื้อความ อาหารสูตร

ฉะนั้น กวฬิงการาหาร — ถึง ควรเลี่ยงทางกันดาร
ฉะนั้น ผัสสาหาร — พึงถึง เนกขัมมะอันกินอยู่หนเดียว ไม่กินตลอดเวลา
ฉะนั้น มโนสัญเจตนาหาร — กำลังแห่งพระจันทร์ไม่อาจชนะกำลังแห่งพระอาทิตย์
ฉะนั้น วิญญาณาหาร — (เมื่อนั้น) ภิกษุพึงสลัดความเกิด(ความติดใจ) ให้เหมือนกับเม่นมีขน แทง (ทิ้ง, สลัด) ขนหอกซึ่งเป็นเหมือนดั่งอาวุธ ฉะนั้น (หนีไปทิ้งไป เลิกเสพ)

สารูป อาหาร ๔ จึงกล่าวมี ว่าดังนี้

เบียดเบียนกันด้วยความเป็นอาหาร ๑ ภาวะที่ต้องเสพเสมอด้วยอารมณ์ ๑ กำลังฉุดไปคร่าไป กระทำไว้ด้วยแรงผูกๆเข้าไว้ด้วยกับวิบากบ้างกับกรรมบ้าง ไม่อาจเลี่ยง ๑ เหตุตามธรรมชาติ ราชภัย (ภัยในทางสังคม) โทษอันเกิดแก่ตน เกิดขึ้นจากการรับรู้แล้วพาตนให้ไปเกี่ยวข้อง กับทางไปเช่นนั้น ๑ เปรียบเทียบกันกะที่มาใน ปุตตมังสสูตรท่านก็กล่าวอรรถาธิบายมาถึงข้อนี้

อาหารสูตร: หัวข้อเรื่องเดียวกัน ← ปุตตมังสสูตร