อิงก์สเคป/quick start guide

จาก วิกิตำรา

ในบทนี้จะเป็นเรื่องของการแนะนำการใช้งาน InkScape ในเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นการใช้งานคำสั่งพื้นฐานของ InkScape ที่จะต้องใช้เป็นประจำ

เลื่อนมุมมองภาพ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในการทำงานคุณสามารถเลื่อนมุมมองของภาพได้โดย วิธีต่างๆดังนี้

  1. กด Ctrl+ลูกศร เพื่อเลื่อนมุมมอง ตามทิศทางของลูกศร
  2. กลิ้งลูกกลิ้งเม้าส์ เพื่อเลื่อนภาพขึ้น,ลง หรือกด Shift+กลิ้งลูกกลิ้งเม้าส์ เพื่อเลื่อนภาพไปทางซ้าย,ขวา
  3. เลื่อนภาพด้วยสกรอลบาร์ ที่อยู่ด้านล่างและขวาของหน้าต่างโปรแกรม หากคุณเลื่อนมุมมองของภาพได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ สกรอลบาร์แล้ว
  4. กดเมาส์ปุ่มกลางแล้วเลื่อนไปตามทิศทางที่ต้องการ คุณสามารถปิดมันลงไปได้ หากคุณต้องการโดยกด Ctrl+B เพื่อให้แสดงและไม่แสดง สกรอลบาร์

ซูมเข้า,ออก[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การทำงานใน InkScape คุณสามารถซูมเข้า(ขยายมุมมองภาพ) เพื่อเข้าไปทำงานในจุดเล็กๆได้ หรือคุณจะซูมออก (ย่อมุมมองมองภาพ) เพื่อดูภาพรวมทั้งหมดของงานก็ได้ โดยมีวิธีซูมภาพดังนี้

  1. เครื่องหมาย + เพื่อซูมเข้า ,เครื่องหมาย – เพื่อซูมออก
  2. Ctrl+เมาส์ปุ่มกลางหรือปุ่มขวา เพื่อซูมเข้า , Shift+เมาส์ปุ่มกลางหรือปุ่มขวา เพื่อซูมออก
  3. Ctrl+กลิ้งลูกกลิ้งเมาส์
  4. ใช้เครื่องมือซูม(รูปแว่นขยาย) ที่อยู่บนแถบเครื่องมือ ทางด้านซ้ายของหน้าต่างโปรแกรม หรือกด F3 เพื่อเลื่อกใช้เครื่องมือซูม
  5. ปรับที่ค่าตัวเลขที่อยู่ทางด้านซ้ายล่างของโปรแกรม ซึ่งมีหน่วยเป็นเปอร์เซนต์

สร้างรูปทรง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การสร้างรูปทรงใน InkScape คุณสามารถสร้างได้ด้วยเครื่องมือที่ InkScape ได้เตรียมไว้ให้แล้ว ซึ่งจะอยู่ในแถบเมนูด้านซ้ายมือ สำหรับวิธีใช้นั้น เพียงแค่คุณเลือกเครื่องมือ สำหรับสร้างรูปทรงที่คุณต้องการ และคลิ๊กลงไปบนพื้นที่ทำงานแล้วลาก คุณก็จะได้รูปทรงตามที่คุณต้องการ นอกจากนั้นเครื่องมือเหล่านี้ยังมีความสามารถในการปรับแต่งเพื่อใช้ในการสร้างรูปทรงอื่นๆได้อีกด้วย โดยการปรับแต่งเครื่องมือเหล่านี้สามารถปรับแต่งได้ที่ แถบเมนูด้านบน

การทำงานใน InkScape นั้นคุณสามารถย้อนกลับการกระทำครั้งล่าสุด (Undo) ได้ด้วย โดยกด Ctrl+Z และยกเลิกการย้อนกลับการกระทำ(Redo) ได้โดยกด Shift+Ctrl+z

เคลื่อนย้าย, ขยาย ,หมุน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รูปทรงที่คุณได้สร้างขึ้นใน InkScape นั้นคุณสามารถปรับแก้ได้ตามต้องการ เช่น ย้ายตำแหน่ง, หมุน หรือย่อ/ขยายก็ได้ โดยวิธีแก้ไขรูปทรงนั้น คุณจะต้องทำการเลือกรูปทรงที่คุณต้องการก่อน จากนั้นกด F1 และแก้ไขด้วยคำสั่งที่ InkScape ได้เตรียมไว้ให้ดังนี้

  1. คลิ๊กค้างที่รูปทรงแล้วลาก เพื่อย้ายไปในตำแหน่งที่ต้องการ
  2. Ctrl+คลิ๊กค้างที่รูปทรงแล้วลาก เพื่อย้ายตำแหน่งให้ขนานในแนวตั้งหรือแนวนอน
  3. คลิ๊กค้างที่ลูกศรในส่วนมุมของรูปทรง เพื่อย่อ/ขยายรูปทรง
  4. Ctrl+คลิ๊กค้างที่ลูกศรในส่วนมุมของรูปทรงแล้วลาก เพื่อย่อ/ขยายแบบเท่ากันในทุกด้าน
  5. คลิ๊กซ้ำที่รูปทรงที่เลือกอีกครั้ง ลูกศรจะโค้งเพื่อให้เราหมุนรูปทรงได้
  6. Ctrl+หมุนรูปทรง จะทำให้หมุนได้ครั้งละ 15องศา
  7. กดที่ลูกศร เพื่อย้ายตำแหน่งตามทิศทางของลูกศร
  8. Alt+ลูกศร เพื่อย้ายครั้งละ 1พิกเซล
  9. <, > ย่อ/ขยายรูปทรง
  10. Ctrl+<, > ย่อ/ขยาย ครั้ง1เท่าตัว
  11. Alt+<, > ย่อ/ขยาย ครั้งละ 1พิกเซล
  12. [,] หมุนรูปทรง ครั้งละ 15องศา
  13. Ctrl+[,] หมุนรูปทรง ครั้งล่ะ 90องศา
  14. Alt+[,] หมุนรูปทรงครั้ง 1พิกเซล

การเลือกรูปทรง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

วิธีในการเลือกรูปทรงต่างๆใน InkScape

  1. คลิ๊กไปที่รูปทรงที่ต้องการ เพื่อเลือกรูปทรงที่ต้องการ
  2. Shift+คลิ๊ก เพื่อคลิ๊กแล้วเข้าไปที่คำสั่งหมุนเลย (คล้ายการคลิ๊ก2ครั้ง)
  3. คลิ๊กแล้วลากครอบวัตถุที่ต้องการ (ครอบได้มากกว่าครั้งละ1ชิ้น)
  4. Shift+คลิ๊ก เพื่อเลือกวัตถุชิ้นต่อๆไป (การณีเลือกวิ้นแรกไปแล้ว และจะเลือกเพิ่ม หรือจะใช้สำหรับ ยกเลิกวัตถุที่เลือกไปแล้วก็ได้)

หากคุณต้องการจะยกเลิกการเลือกวัตถุที่ได้เลือกไปแล้ว คุณสามารถทำได้ด้วยการกด Esc และหากคุณต้องการเลือกวัตถุทั้งหมด คุณสามารถทำได้ด้วยการกด Ctrl+A

Group[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คุณสามารถจับเอารูปทรงหลายๆรูปทรง (ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป) มารวมกันเป็น group ได้ ซึ่งประโยชน์ของ group นั้นคือ คุณสามารถเลือกรูปทรงที่อยู่ใน group เดียวกันได้ด้วยการคลิ๊กเพียงครั้งเดียว และสามารถย้าย ย่อ/ขยาย หรือหมุน พร้อมๆกันได้อีกด้วย สำหรับวิธีการสั่ง group นั้นคุณจะต้องเลือกรูปทรงที่จะทำเป็น group ก่อน เมื่อเลือกได้แล้วให้กด Ctrl+G รูปทรงจะถูก group เข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการจะยกเลิก group นั้นให้เลือก group ที่ต้องการ จากนั้นกด Shift+Ctrl+G รูปทรงที่รวมกันอยู่เป็น group จะถูกแยกออก

Fill และ Stroke[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รูปทรงต่างๆใน InkScape จะประกอบไปด้วย Fill และ Stroke ซึ่ง Fill นั้นจะหมายถึง บริเวณที่เป็นส่วนของรูปทรง ส่วน Stroke นั้นคือ ส่วนของขอบของรูปทรง ซึ่งทั้ง Fill และ Stroke นั้นเราสามารถเปลี่ยนค่าของสีและความโปร่งใสได้โดยกด Shift+Ctrl+F เพื่อทำการเรียกหน้าต่างปรับแต่งค่า Fill และ Stroke ขึ้นมา ภายในหน้าต่างนี้ คุณสามารถปรับค่าต่างๆของ Fill และ Stroke ได้ทั้งหมด

ลำดับชั้นของรูปทรง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รูปทรงต่างๆใน InkScape จะถูกเรียงลำดับชั้นเอาไว้ ซึ่งตามปกติแล้ว จะถูกเรียงลำดับตามเวลาของการสร้าง โดยรูปทรงที่สร้างขึ้นมาก่อนจะอยู่ด้านล่าง แล้วรูปทรงที่สร้างทีหลังจะอยู่ด้านบน ซึ่งลำดับของรูปทรงเหล่านี้เราสามารถจัดเรียงใหม่ได้ โดย

  1. ปุ่ม Home เพื่อย้ายมาด้านบนสุด
  2. ปุ่ม End เพื่อย้ายไปด้านล่างสุด
  3. ปุ่ม PageUP เพื่อย้ายไปด้านบน 1 ระดับ
  4. ปุ่ม PageDown เพื่อย้ายลงล่าง 1 ระดับ

คุณสามารถเลือกวัตถุโดยไล่ไปตามระดับได้โดยกด Tab เพื่อเลือกรูปทรงที่อยู่ในระดับสูงขึ้นไป และ Shift+Tab เพื่อเลือกรูปทรงที่อยู่ในระดับต่ำลงมา

Selecting under[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นวิธีที่ใช้สำหรับเลือกรูปทรงที่ถูกซ้อนอยู่ด้านล่าง ซึ่งถ้าคุณคลิ๊กเพื่อเลือกแบบปกติ จะทำให้คุณเลือกถูกรูปทรงที่อยู่ด้านบน สำหรับวิธีที่ใช้ในการเลือกรูปทรงที่อยู่ด้านล่างนั้น ให้คุณกด Alt+คลิ๊ก จะเป็นการเลือกไปที่รูปทรงที่ถูกบังอยู่ กรณีที่รูปทรงซ้อนทับกันอยู่มากกว่า 1ชิ้นให้คุณคลิ๊กซ้ำไปอีก จะเป็นการเลือกรูปทรงที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าลงไปเรื่อยๆ