เวชศาสตร์ครอบครัว

จาก วิกิตำรา

เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine)

คำจำกัดความ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เวชศาสตร์ครอบครัว คือ สาขาการแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่งที่รวมความรู้ทางการแพทย์และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลสุขภาพของครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมที่ประกอบด้วยความผูกพัน, ความรัก, การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัว (มีหลักการเหมือนกันทั่วโลก)

เวชศาสตร์ครอบครัวนั้นเกิดขึ้นมาโดยปรัชญาที่อาจแตกต่างจากการแพทย์วิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ที่อาจละเลยความเป็นมนุษย์, ศิลธรรมจรรยาของผู้ป่วยและแพทย์ ในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่แล้ว ได้เกิดการปฏิรูปและปรับปรุงให้มี Family medicine และ Family practice พัฒนาขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลก

  • เนื้อหารายการสัญลักษณ์

เวชศาสตร์ครอบครัว มิได้เกิดจากบุคคลในวงการแพทย์จัดตั้งขึ้นเอง แต่สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและปรารถนาของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนทั่วไปรอคอยอัศวินม้าขาว คือ ระบบทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูง, เป็นกันเองและมีความเข้าใจระบบสาธารณสุขเพื่อมาทดแทนการแพย์ที่แตกแขนงมากเกินไป ไม่เป็นกันเอง ซึ่งพบได้ในแพทย์ที่มีจิตใจเป็นเหมือนเครื่องยนต์อันทันสมัย ดังนั้นการแพทย์ในยุคนี้จึงต้องเป็นผลรวมของความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และสามารถติดตามเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีบรรยากาศที่รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์และจิตใจเอื้ออาดูรแก่กัน ถ้าจะมองวงการแพทย์ในปัจจุบันก็จะเห็นว่าแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ มักจะขาดบรรยากาศของความเป็นมนุษย์ ในขณะที่แพทย์ใน Primary care มักขาดความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เวชศาสตร์ครอบครัวจึงเป็นสาขาวิชาที่เสริมจุดอ่อนทั้ง 2 นี้

เวชปฏิบัติครอบครัว (Family Practice) หมายถึงการทำเวชปฏิบัติโดยอาศัยหลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวต่อบุคคลและครอบครัว 15% ของปัญหาที่พบในการทำเวชปฏิบัติครอบครัวเป็น ปัญหาที่ไม่อาจจะเลี่ยงความพิการหรือความตายได้ รูปแบบที่แพทย์ครอบครัวจะใช้ในการช่วยเหลือดูแลสุขภาพให้คงอยู่หรือมิให้มีความพิการเพิ่มขึ้นรูปแบบนี้เรียกว่า “Medical Model” ส่วนอีกกว่า 80% ของเวชปฏิบัติครอบครัว มักจะเป็นปัญหาที่หายเองได้, ป้องกันได้ หรือเป็นปัญหา psycho-social การทำเวชปฏิบัติแบบนี้จะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย เป้าหมายมิใช่เพียงผลการรักษาอย่างเดียว เราต้องคำนึงถึงผลด้านอื่น ๆ ของผู้ป่วยด้วย เช่น ความรู้สึกสบาย, ความพึงพอใจ รูปแบบนี้เรียก “Relation Model”

เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) ถูกใช้สับสนกับคำว่าเวชปฏิบัติปฐมภูมิ (Primary care), เวชปฏิบัติทั่วไป (General practice) และเวชปฏิบัติครอบครัว (Family Practice) ความไม่เข้าใจนี้เองที่ทำให้ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บางแห่งจึงไม่มีการเรียนการสอนเวชศาสตร์ครอบครัว โดยรายละเอียดอยู่ในตารางข้างล่างนี้:

สาขาวิชา, หลักสูตร (Discipline) สาขาเฉพาะทาง (Specialty) เวชปฏิบัติ(Practice)
สถานที่ ในมหาวิทยาลัย สาขาอาชีพ ชุมชน
ผู้เกี่ยวข้อง อาจารย์ แพทย์ผู้ได้รับวุฒิบัตร/อนุมัติบัตร แพทย์เวชปฏิบัติ
ผู้รับผิดชอบ สถาบันการศึกษา องค์กร/สมาคม/ราชวิทยาลัยเฉพาะสาขา มวลชนและสังคม
เนื้อหา การเรียนการสอน มาตรฐานของการฝึกอบรม ความต้องการและการขาดแคลนในชุมชน
ระดับการศึกษา ก่อนและหลังสำเร็จปริญญา หลังสำเร็จปริญญา หลักสูตรต่อเนื่อง
เหตุผล ผลิต สนใจ บริการ

เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner) คือ แพทย์ที่ให้บริการดูแลรักษาสุขภาพบุคคลและครอบครัว และทำหน้าที่ประสานกับแพทย์สาขาอื่น ๆ โดยการดูแลสุขภาพจะเป็นแบบ Primary และ continuing comprehensive และดูแลปัญหาสุขภาพทั้งทางภาย, พฤติกรรมและสังคม

การอบรม GP ในปัจจุบันเป็นการฝึกอบรมในสาขาเฉพาะทางหลาย ๆ สาขารวมกัน มิได้ให้ความสำคัญของบุคคลและครอบครัวมากนัก ไม่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นครอบครัว[1]

เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางหรือไม่[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางที่ยอมรับกันในหลาย ๆ ประเทศมานานแล้ว และควรจะได้ยอมรับเป็นสากลทั่วโลก โดยทางสมาคมแพทย์ครอบครัว ควรจะผลักดันให้เป็นจริงโดยเจรจากับทางรัฐบาลและโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ เพื่อให้สนับสนุนตามข้อตกลงของ WONCA


หลักสำคัญทางเวชศาสตร์/เวชปฏิบัติครอบครัว คืออะไร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ดังที่กล่าวมาแล้ว เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นสาขาวิชาแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่ง มีหลักการเหมือน ๆ กันทั่วโลก มีสมาคมแพทย์ (WONCA - The World organization of Family Doctor) และวารสารของตนเอง (American Family Physicians, และอื่น ๆ)

เวชปฏิบัติครอบครัว (Family Practice) เป็นการทำเวชปฏิบัติโดยอาศัยหลักการของ Family Medicine ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ ขนบประเพณี ศาสนา และอื่น ๆ ผู้ที่ทำเวชปฏิบัติครอบครัวไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ครอบครัว (Family physicians) เท่านั้น จะเป็นแพทย์แขนงอื่นก็ได้ ถ้าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ :

  1. เป็นแพทย์ที่ดูแลแต่แรก และให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการบริบาลสุขภาพ (Care on first contact basis)
  2. Continuing care
  3. Comprehensive care
  4. Integrated or total care
  5. Accessible care
  6. Consultation and Referral system

เวชศาสตร์/เวชปฏิบัติครอบครัว ดูแลคนไข้/ประชาชนอย่างไร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

แพทย์ครอบครัวจะดูแลผู้ป่วยในฐานะส่วนหนึ่งของครอบครัวและจะดูแลสุขภาพในรูปขององค์รวม (Holistic) ทั้งด้านสุขภาพกาย, สุขภาพจิต และสุขภาพสังคมแวดล้อม และให้บริบาลทั้งด้านการป้องกัน, การรักษาและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย โดยเริ่มจากตัวผู้ป่วยเป็นจุดเริ่มเพื่อเข้าถึงครอบครัวและอาจไปถึงชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เนื่องจากทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว มักจะมีผลต่อตัวผู้ป่วยเองและโรคภัยไข้เจ็บของผู้ป่วย อาจมีผลกระทบต่อครอบครัว และชุมชน เช่นกัน

The individual level 1. The case approach
2. The Whole person approach
The family level 3. A family orientation
4. The family (or household) as-a-unit
The community level 5. The practice
6. Contiguous groups eg. neighbor hood, village.
7. Relationship networks
8. Special groups or communities

Family APGAR Score คืออะไร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นเครื่องมือวัด Family Function ที่ยอมรับกันทั่วไป มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (Smilksteins 1978) ชนิดหนึ่ง ใช้วัดความÊÑÁ¾Ñ¹¸ìของบุคคลภายในครอบครัวโดยใช้เวลาเพียงสั้น ๆ Family APGAR เป็นตัวย่อของ 1. Adaptation 2. Partnership 3. Growth 4. Affection 5. Resolve

ให้ผู้ป่วยเป็นคนกรอกข้อมูลเกี่ยวกับ Family APGAR เองและแพทย์จะใช้ประกอบการตัดสินใจ ถ้าคิดว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยนี้เป็นผลทาง Function Complaints และเกี่ยวกับความเครียด โดยอาจให้ผู้ป่วยกรอกข้อมูลในระหว่างการส่งตรวจ lab เพื่อที่ว่าแพทย์จะได้ใช้ผลFamily APGAR มาช่วย ประเมินผู้ป่วยร่วมกับผล lab


ระบบสาธารณสุขจะดีขึ้น จริงหรือ ถ้ามีแพทย์ครอบครัวมากขึ้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for all) ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก ซึ่งได้จากการสรุปผลการประชุมที่ Alma Alta ในสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1978 มีหลักสำคัญ คือ:

  1. การเสมอภาค (Equity)
  2. การส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion)
  3. การส่งเสริมชุมชน (Community)
  4. การให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ (participation)
  5. การให้มีความร่วมมือกันทุกฝ่าย (Multisectoral co-operation)
  6. การให้มีการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ (primary health care)
  7. การให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศ (International - cooperation)

เป้าหมายและความสำเร็จของสุขภาพดีถ้วนหน้าในแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาใช้ และที่สำคัญคือ มีการนำ Primary care มาใช้มากน้อยเพียงใด และแพทย์/บุคคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องมีความรู้มากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับปัจจัยประกอบต่าง ๆ เช่น ความยากจน, ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ, มาตรฐานของที่อยู่อาศัย, การบริโภคสุราและบุหรี่, ภาวะโภชนาการ และข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ในบริเวณที่รับผิดชอบจะหาได้จากที่ใด

ในสหราชอาณาจักร Royal College of General Practitioners ได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ.2000, ประชาชนที่มีอายุเกิน 18 ปี จะต้องมีประวัติสุขภาพอยู่กับแพทย์ครอบครัวอย่างน้อย 95% ดังนั้นในข้อมูลต่าง ๆ ที่แพทย์ครอบครัวรวบรวมไว้จะต้องเชื่อถือได้และให้ภาพรวมของสุขภาพของคนไข้ได้เป็นอย่างดี เป้าหมายของสหราชอาณาจักร เรียงตามลำดับความสำคัญก่อนหลังดังนี้: 1. ลดการสูบบุหรี่ 2. ให้ความรู้/สุขภาพเกี่ยวกับโทษของสุรา 3. ป้องกันมิให้เสพติดยาและสารเสพติดอื่น ๆ 4. โภชนาการ 5. การออกกำลังกาย 6. สุขภาพจิต 7. สุขภาพกายที่แข็งแรงและสภาพสังคมที่ดี 8. ป้องกันการเกิดอุบัติภัย 9. ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวะอนามัย 10. การคุมกำเนิด 11. สุขภาพมารดาและทารก 12. การเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อต่าง ๆ (รวมทั้งโรคทางเพศสัมพันธ์ HIV และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน) 13. การควบคุมโรคความดันโลหิตสูง 14. การตรวจหาโรคมะเร็ง 15. สุขภาพฟัน 16. การแก้ไขความพิการทางกายและประสาทสัมผัสต่าง ๆ


7. การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนี้เหมาะที่จะผลิตแพทย์ออกรับใช้สังคมและประเทศชาติ หรือไม่ ?

จากการประชุมร่วมของ WHO-WONCA 1994 ที่ Ontario, Canada พบว่าแพทยศาสตร์ศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา สามารถปรับให้สนองตอบนโยบายสาธารณสุขของประเทศได้ทุกระดับในรูปแบบ primary, preventive and cost-effective care แม้ว่าระบบสาธารณสุขต้องการแพทย์ที่มีความรู้กว้าง เพื่อสนองต่อการดูแลสุขภาพของชุมชน แต่ในระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์ได้รับการฝึกอบรมในเฉพาะสาขาวิชาทางแคบโดยใช้โรงพยาบาลเป็นฐานและดูแลรักษาปัญหาของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มิใช่ปัญหาของชุมชน

WHO ได้เคยชี้ให้เห็นปัญหานี้ดังเช่น ใน Alma Ata declaration ตลอดจน Tokyo declaration ในปี 1986 ซึ่งสนับสนุน Alma Ata declaration โดยให้มีปฏิรูประบบสาธารณสุข, ระบบการเมือง, ระบบวิชาชีพ, นโยบายการบริหารของรัฐมนตรีสาธารณสุข, ระบบชุมชน, ระบบการเงินและคลัง, ระบบการทำวิจัย, ระบบการเรียนการสอนและระบบเกื้อหนุนกันในสังคม

ในการประชุม Abuja, Nigeria ในปี 1986 และการประชุมที่ Lisbon, โปรตุเกส ในปี 1988 ที่ประชุมได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่พื้นฐานในการผลิตแพทย์ทั้งระดับต่ำกว่าและหลังปริญญาให้ตอบสนองต่อความต้องการทางสุขภาพดังที่กล่าวไว้ว่าสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for all) มีการเรียกร้องให้สนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์ทาง primary care และใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ในการศึกษาและฝึกอบรมแพทยศาสตร์

ในการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาระดับโลกในปี 1988 ที่ Edinburgh, Scotland ทำให้มี Edinburgh declaration ซึ่งมี 12 ขั้นตอนที่จำเป็นต้องปฏิรูปแพทยศาสตร์ศึกษาโดย 8 ขั้นตอนจะเกี่ยวกับขบวนทางการศึกษา และอีก 4 หัวข้อให้มีการเปลี่ยนแปลงนอกโรงเรียนแพทย์

เนื้อหาวิชาใดบ้างที่แพทย์ครอบครัวควรจะต้องเรียนรู้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

นอกเหนือจากวิชาการแพทย์แขนงต่างๆ และการสาธารณสุขแล้ว แพทย์ครอบครัวควรจะต้องเรียนรู้เรื่องทางสังคมศาสตร์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการสังคมและผลกระทบของสังคมต่อครอบครัวและสุขภาพ ความรู้เรื่องครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวในระยะ ต่าง ๆ เช่น เมื่อมีบุตรคนแรก หรือเมื่อมีผู้เจ็บป่วยรุนแรงในครอบครัว

แพทย์ครอบครัวต้องเรียนรู้พฤติกรรมศาสตร์ การสื่อสารติดต่อและการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว และต้องมีความสามารถทำครอบครัวบำบัดเบื้องต้นได้ (Family therapy)

สรุปเนื้อหาที่แพทย์ครอบครัวจะต้องเรียนรู้

1.ต้องเรียนรู้ความสำคัญของอาการ, ปัญหา, ภาวะหรือโรคภัยไข้เจ็บที่ผู้ป่วยมาปรึกษา

วิชาที่ต้องเรียนรู้ :- วิทยาศาสตร์พื้นฐาน, พฤติกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์ทางห้องปฏิบัติการ, ความรู้ทางคลินิกของแพทยศาสตร์สาขาต่าง ๆ และเวชปฏิบัติทั่วไป, วิวัฒนาการของการเกิดโรค, ระบาดวิทยาและขบวนการวินิจฉัย ทักษะที่ต้องรู้ :- การสัมภาษณ์, การแก้ปัญหา, การตัดสินใจ และความสามารถในการทำหัตถการต่าง ๆ

2.เฉพาะตัวผู้ป่วย วิชาที่ต้องเรียนรู้ :- พื้นฐานขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้ป่วย (มนุษย์วิทยา), มนุษย์พฤติกรรมศาสตร์, จิตวิทยา, สังคมศาสตร์และจิตเวชศาสตร์, พัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ทั้งในแง่ชีววิทยา, จิตวิทยาและสังคมวิทยา ทักษะที่ต้องรู้ :- ความสามารถในการสัมภาษณ์และสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว, ความสามารถในการจูงใจและสอน เช่น การประชาสัมพันธ์, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจิตบำบัด

3.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและชุมชนพื้นฐาน (ครอบครัว, เพื่อนฝูง ฯลฯ)

วิชาที่ต้องเรียนรู้ :- จิตวิทยาครอบครัว, สังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์, จิตพลศาสตร์, พันธุกรรมศาสตร์และระบาดวิทยา, อนามัยโรงเรียน, อาชีวะอนามัย, ชุมชนพลศาสตร์, ระบบการบริหารจัดการและขุมพลังต่าง ๆ ทักษะที่ต้องรู้ :- การสัมภาษณ์, การสื่อสารประเภทเดี่ยวและประเภทกลุ่ม, ทักษะในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้ในการป้องกันและรักษาผู้ป่วยและครอบครัว

4.สิ่งแวดล้อมและภูมิกายภาพ

วิชาที่ต้องรู้ :- สาธารณสุขศาสตร์, มลภาวะ, กัมภาพรังสีและภยันตรายอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม, มาตรฐานของที่อยู่อาศัย เป็นต้น

5.ความสัมพันธ์ระหว่างการบริบาลสุขภาพกับองค์กรต่าง ๆ ในสังคม วิชาที่ต้องรู้ :- ระบบการบริบาลสุขภาพ, การเปลี่ยนแปลงของสังคมและผลต่อสุขภาพและการบริการทางการแพทย์, ขุมพลังในชุมชนและองค์กรต่าง ๆ

6.การบริหารจัดการทางการแพทย์ วิชาที่ต้องรู้ :- การบริหารธุรกิจและการนำมาใช้ในการทำเวชปฏิบัติครอบครัว, ขุมพลังและแหล่งบริการทางการแพทย์ในชุมชน, การประเมินผลงาน, กลุ่มสัมพันธ์ ทักษะที่ต้องมี :- สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดีและราบรื่น

7.การวิจัยและการประเมินงาน อาจจะไม่จำเป็นมากนักแต่จะช่วยให้การทำเวชปฏิบัติดูดีน่าสนใจขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิชาที่ต้องรู้ :- วิธีการสำรวจระบาดวิทยา, วิธีการทางชีววิทยาและสังคม, สถิติ ทักษะที่ต้องมี :- ความใฝ่รู้หรือช่างสังเกตุ, ความสามารถที่จะตั้งคำถามว่า “ทำไม” และขบวนการคิดแบบมีระบบและเหตุผล

8.ต้องรู้จักตัวเอง ต้องเข้าใจจิตพัฒนาของตนเอง,ทัศนคติของตนเอง, biases, ปฏิกิริยาความสัมพันธ์ต่อคนไข้, ต่อครอบครัวตนเอง, ต่อผู้ร่วมงานและแรงจูงใจของตนเองต่องานที่ทำ ทักษะที่ต้องมี :- พฤติกรรมที่สนใจผู้ป่วยของตนเอง, การยอมรับ biases ของตนและแรงจูงใจต่าง ๆ

สถานบริการสุขภาพระดับใดและที่ใด ที่แพทย์ครอบครัวจะมีบทบาทหน้าที่ได้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

แพทย์ครอบครัวสามารถให้การดูแลสุขภาพในระดับ primary care และ secondary care ในบางสาขาที่ตนถนัดและสนใจ ดังนั้นสถานพยาบาลที่แพทย์ครอบครัวสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ดี จึงเป็นได้ทั้งคลินิคผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล, คลีนิคส่วนตัว, โรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลจังหวัด

ระบบการแพทย์ในปัจจุบันนี้เป็นระบบที่ยอมรับว่าแตกแขนงและแพทย์ไม่มีความเป็น “มนุษย์” เท่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้ป่วยรายหนึ่ง ๆ จะต้องใช้แพทย์แตกแขนงสาขาหลายท่านมาดูแล ซึ่งบางครั้งต่างก็ดูเฉพาะเรื่องปัญหาที่ตนเองฉนัด ไม่มีการประสานงานกันที่ดี ทั้ง ๆ ที่เกือบ 90% ของผู้ป่วยมักจะเป็นโรคที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ดังนั้นถ้ามีแพทย์ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีในรูปแบบของเวชศาสตร์ครอบครัวหรือที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถจะให้การบริบาลในฐานะแพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ครอบครัว เมื่อมีปัญหาซับซ้อนหรือโรครุนแรงจนไม่สามารถดูแลต่อได้ก็จะส่งปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยอย่างถูกต้อง โดยมีข้อมูลที่ให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแนบไปด้วย ทำให้ไม่เสียเวลาของทั้งผู้ป่วยและแพทย์เฉพาะทางผู้รับปรึกษา ซึ่งถ้าแพทย์เฉพาะทางดูแลรักษาจนควบคุมได้ดีก็จะส่งคืนแพทย์เจ้าของไข้เพื่อดูแลต่อไป

การมีแพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ครอบครัว รวมทั้งระบบปรึกษาและส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประเทศลดลงเป็นอย่างมาก โดยประชาชนทุกคนจะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ครอบครัว

ศักดิศรีและค่าตอบแทนที่แพทย์ครอบครัวควรจะได้รับ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

แพทย์ครอบครัวที่ดีมีศักดิ์ศรีและได้รับเกียรติจากประชาชนผู้ใช้บริการอยู่แล้ว ส่วนประชาชนผู้ที่ไม่เคยรู้จักเวชศาสตร์ครอบครัวน่าจะได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจและเลือกสมัครเป็นสมาชิกกับแพทย์ครอบครัวใกล้บ้าน ซึ่งจะเป็นระบบที่ทำให้ทุกคนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีทางเป็นไปได้มากที่สุดตามที่องค์การอนามัยโลกได้ว่าไว้ “Health for all by the year 2000”

ส่วนศักดิ์ศรีในวงการแพทย์ด้วยกันเองก็ต้องอาศัยเวลา โดยแพทย์ครอบครัวจะต้องแสดงให้แพทย์แขนงอื่นยอมรับมากขึ้น ซึ่งถ้ามีแพทย์ครอบครัว ซึ่งได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีย่อมทำให้ได้แพทย์ครอบครัวที่ดี ดังนั้นจึงควรสนับสนุนให้มีการเปิดฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์/เวชปฏิบัติครอบครัวขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยอาจใช้สาขาวิชาเวชปฏิบัติทั่วไปเป็นฐาน แล้วเพิ่มกระบวนความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับแพทย์ครอบครัวเข้าไป และเปลี่ยนชื่อเวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งขาดความนิยมจากนักศึกษาแพทย์และประชาชนทั่วไปเป็นเวชปฏิบัติ/เวชศาสตร์ครอบครัว

เนื่องจากแพทย์ครอบครัวจะต้องให้บริการทางการแพทย์แก่สมาชิกและครอบครัวที่ได้ลงทะเบียนแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้ค่าตอบแทนจากบริษัทประกันหรือ หน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบประชากรเหล่านี้ นอกจากนี้แพทย์ครอบครัวยังตรวจรักษาจากผู้ป่วยทั่วไปอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งถ้าแพทย์ครอบครัวอยู่ในระบบเอกชนก็สามารถจะได้ค่าตอบแทนที่ไม่น้อยกว่าแพทย์เฉพาะสาขาอื่น ๆ หรือถ้าอยู่ในระบบราชการก็ควรจะมีค่าตอบแทนเพิ่มเติมต่างหากจากเงินเดือนประจำที่ได้รับอยู่

เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย เป็นอย่างไรในขณะนี้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เวชศาสตร์ครอบครัวอาจเป็นคำที่ใหม่ต่อผู้คนหรือแม้แต่แพทย์เอง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว เรามีแพทย์ครอบครัวซึ่งดูแลรักษาในนิยามของเวชศาสตร์ครอบครัวมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อคุณแม่ยังหนุ่มสาวอยุ่ โดยแพทย์สมัยนั้นจะดูแลรักษาทั้งครอบครัว และรู้จักสมาชิกของแต่ละ ครอบครัวเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากการแพทย์สมัยใหม่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้แพทย์หันไปสนใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเลือกเรียนหรือสนใจเฉพาะโรคมากขึ้น ทำให้แพทย์ที่เคยทำเวชปฏิบัติแบบแพทย์ครอบครัวลดน้อยถอยลง แต่เราอาจจะยังพบแพทย์รูปแบบเดิม ๆ ได้ตามต่างจังหวัดหรือชุมชนบางแห่งแต่แพทย์เหล่านี้ ถ้ามิได้ฝึกอบรมมาอย่างดีก็มักจะขาดความรู้ความชำนาญทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขณะที่แพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ มักจะดูแลรักษาเฉพาะโรค มิใช่บุคคลทั้งคน การติดต่อสื่อสาร, ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและครอบครัวก็มักจะไม่ค่อยดี

เวชศาสตร์ครอบครัวจึงฟื้นคืนกลับมาอุดช่องว่างนี้ โดยแรกเริ่มที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีกลุ่มอาจารย์ที่สนใจนำโดย ศ.นพ.มรว.ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์, รศ.นพ.บุญยงค์ พงษ์พรต และท่านอื่น ๆ ได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวขึ้นมาในปี พ.ศ.2524 โดยเล็งเห็นว่าวิชานี้สามารถจะแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศได้ และแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติทั่วไปซึ่งฝึกอบรมภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ขาดผู้รับผิดชอบโดยตรง ประกอบกับเวชศาสตร์ครอบครัวก็ต้องมีพื้นฐานของวิชาเวชปฏิบัติทั่วไปด้วย จึงขอโอนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติทั่วไปมาขึ้นกับโครงการภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว และได้เปิดกระบวนวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว และกระบวนวิชาเวชปฏิบัติทั่วไปสำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 4 และ 5 ตามลำดับ

ระยะแรกโครงการภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวยังสังกัดภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ต่อมาเมื่อมีการเรียนการสอนชัดเจนขึ้น จนคณะรัฐมนตรีได้มีมติจากการประชุมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ให้แบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยให้ตั้งภาควิชาขึ้นใหม่ในคณะแพทยศาสตร์ มีชื่อว่า “ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว” นับเป็นภาควิชาที่ 20 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งแรกในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ “เพื่อผลิตแพทย์ให้สามารถเป็นผู้นำกลุ่มเวชปฏิบัติทั่วไป, ให้บริการสุขภาพครอบครัวทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้านประชาชน”

หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวคนแรก คือ ศ.นพ.มรว.ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์ ซึ่งเรานับถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งเวชศาสตร์ครอบครัวของประเทศไทย” นับแต่นั้นมา ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็พัฒนาการเรียนการสอน การบริการและวิจัย มาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว แห่งที่ 2 ได้จัดตั้งที่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2537 และในอนาคตก็จะมีภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวครบทุกโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ

ปัญหาที่สำคัญในขณะนี้ คือ ขาดการประชาสัมพันธและแนะนำบทบาทหน้าที่ของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวให้แพร่หลายทั้งในวงการสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป ขาดการรวมกลุ่มของแพทย์ที่สนใจในเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อทำให้สาขาวิชาเข้มแข็งขึ้น สามารถมีบทบาทในวงการสาธารณสุขของประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือ แผนรองรับจากทางรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นระบบบริการสุขภาพที่ควรจะปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตำแหน่งและขั้นของวิชาชีพเวชศาสตร์ครอบครัวที่จะทำให้แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติ, มีศักดิ์ศรีและมีรายได้ที่ไม่แพ้หรือดีกว่าแพทย์สาขาอื่น

แพทย์ระดับ 5 ดาวของประชาชน ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้ :-

1.เป็นผู้ให้บริบาล (Care provider) โดยถือว่าผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชน และให้การบริบาลที่มีมาตรฐานสูง (ยกเว้นโรคหรือการบาดเจ็บที่รุนแรง, โรคเรื้อรังและความพิการ) และให้การป้องกันโรคแก่บุคคลโดยอาศัยความสัมพันธ์ที่วางใจกันมานานและคุ้นเคยกับครอบครัว

2.เป็นผู้ตัดสิน (Decision maker) โดยเป็นผู้พิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่ถูกจรรยาแพทย์, คุ้มค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษา

3.เป็นผู้ติดต่อประสาน (Communicator) สามารถอธิบายให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพและการดำรงชีวิตที่ปลอดภัย แข็งแรง ซึ่งทำให้บุคคลและกลุ่มชนเกิดการตื่นตัวในด้านการรักษาและป้องกันสุขภาพของตนเอง 4.เป็นผู้นำชุมชน (Community Leader) เป็นผู้ที่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคความเชื่อของผู้คนที่ทำงานด้วย และเพื่อก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี ในตัวบุคคลและชุมชนอีกทั้งกระตุ้นให้ชุมชนเริ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ 5.เป็นสมาชิกกลุ่ม (Team member) ซึ่งสามารถทำงานอย่างราบรื่นได้ทั้งกับบุคคลและ องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าในระบบหรือนอกระบบสุขภาพ เพื่อสนองความต้องการของผู้ป่วยและ ชุมชน

เอกสารอ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. “ Family Medicine will require specially trained physicians, not physicians half trained in a number of specialties” (Haggerty RJ General Practice: Extinction or Rebirth Med Alumni Bul. 1964 : 23-28.)
  1. Family Medicine - Principle and applications, JACK H. MEDALIE, M.D., M.P.H., The Williams wilkins Company/Baltimore, 1978.
  2. แนะนำเวชศาสตร์ครอบครัว, ศ.นพ.ม.ร.ว.ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์ ในหนังสือเวชปฏิบัติ’38 ประกอบการอบรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ครั้งที่ 24 วันที่ 27 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2538 ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. Making Medical Practice and Education more relevant to People’s needs : The Contribution of the Family Doctor, From the joint WHO-WONCA conference in Ontario, Canada, November 6-8, 1994.
  4. Principles and Practice of Primary care and family Medicine, Asia-Pacific Perspectives, John Fry and Nat Yuen, Radcliffe Medical Press-Oxford and New-York, 1994.
  5. Southeast Asian Regional Conference on Medical Education, February 7-9, 1996, Jomtien, Pattaya, Thailand, Program & Abstracts.
  6. Family Medicine, A guide book for Practitioners of the art, David B Shires & Brian K.Henneu, McGraw-Hill Book Company, 1980.
  7. The text book of Family Practice. 3rd edition; Robert E.Rakel, W.B.Sunders Company, 1984.

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]