เวลา ศักราช วิธีการทางประวัติศาสตร์/ศักราช

จาก วิกิตำรา

ศักราช คือ ช่วงเวลาที่จัดตั้งขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียก

  • พุทธศักราช (พ.ศ.) – เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา
  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.) – เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 543 โดยนับปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และใช้เป็นปีอ้างอิงสากล
  • มหาศักราช (ม.ศ.) – เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 621 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช
  • ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) – เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัดอพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ
  • จุลศักราช (จ.ศ.) – เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1181 ปี โดยนับเอาวันที่พระพม่า นามว่า “บุพโสระหัน” สึกออกมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ นิยมใช้ในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์
  • รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) – เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 5 โดย “เริ่มนับ” ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงเทพมหานคร (เลิกใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
  • ศักราชจุฬามณี (ศักราชกฎหมาย)

ศักราชทุกชนิดไม่มีศักราช 0 เช่น ก่อนค.ศ. 1 คือ 1 ปีก่อนคริสตกาลเป็นวิธีนับแบบบูรณสังขยา ยกเว้น พุทธศักราชที่นับอย่างไทย เป็นการนับแบบปกติสังขยา เป็นต้น

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]