เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

จาก วิกิตำรา

คำว่า “เศรษฐศาสตร์” มาจากภาษากรีกโบราณ Oikonomia แปลว่า ระเบียบการจัดการภายในบ้าน   นักเศรษฐศาสตร์นิยมให้คำจำกัดความของคำว่า “เศรษฐศาสตร์” ไว้ 2 แนวความคิด ดังนี้

1)คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการทางเศรษฐศาสตร์

2)คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากของทรัพยากร

คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการทางเศรษฐศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เอ็ดวิน แคนแนน (Edwin Cannan, 1861- 1935) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ ศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน The London School of Economics and Political Science (LSE)  ได้นิยามว่า เป็นการศึกษาถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอยู่ดีกินดีของมนุษย์

อาร์เทอร์ ซี. พิกู (Arthur C. Pigou, 1877-1959)นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้ง The school of economics at the University of Cambridge  ได้นิยามว่า เป็นการศึกษาถึงสวัสดิการทางเศรษฐกิจ โดยนิยามคำว่า “สวัสดิการทางเศรษฐกิจ” ว่าหมายถึง ส่วนของความสุขหรือสวัสดิการซึ่งสามารถวัดในรูปของตัวเงินได้โดยตรงหรือโดยอ้อม

อัลเฟรด มาร์แซลล์ (Alfred Marshall, 1842 –1924) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้ง เศรษฐศาสตร์ สำนักนีโอคลาสสิก (Neoclassical Economics) หนังสือของเขาที่ชื่อว่า ”Principles of Economics”  ได้นิยามว่า เป็นศาสตร์ว่าด้วยการดำรงชีวิตตามปกติของมนุษย์ โดยศึกษาถึงการกระทำของสังคมและปัจเจกชนเฉพาะส่วนที่มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่สุดกับการบรรลุความอยู่ดีกินดี และการใช้วัตถุปัจจัยเพื่อการอยู่ดีกินดี

ไลโอเนล ซี. รอบบินส์ (Lionel C. Robbins,1898 - 1984) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์แห่ง The London School of Economics.  ได้นิยามว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามจุดประสงค์อันมีอยู่มากมายไม่ถ้วน

คำนิยามที่เน้นถึงความหมายได้ยากของทรัพยากร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พอล เอ. แซมมวลสัน(Paul A. Samuelsson, 1915- 2009)นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัล Nobel Memorial Prize in Economic Sciences (1970)  ศาสตราจารย์แห่ง Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.)  ได้นิยามว่า เป็นการศึกษาถึงเรื่องมนุษย์และสังคมตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดซึ่งอาจใช้ไปเพื่อการต่างๆ กันได้ ไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และแจกแจงสินค้าและบริการเหล่านั้นเพื่อการบริโภค ไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคตระหว่างประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะต้องใช้เงินหรือไม่ก็ตาม

สรุปความหมายของเศรษฐศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกให้ทรัพยากร (resources) ที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อการบริโภคไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคตระหว่างประชาชน และกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะต้องใช้เงินหรือไม่ก็ตาม  

เศรษฐศาสตร์(Economics) คือ การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐาน 9 ประการทางเศรษฐศาสตร์
อุปสงค์
อุปทาน
เงินเฟ้อ
เงินฝืด
เงินตึง
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค
วัฏจักรของธุรกิจ
ตลาด