เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์

จาก วิกิตำรา
  • คริสต์ศตวรรษที่ 18 ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ค่อยๆ เสื่อมลง
  • เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1750 - ค.ศ. 1850) ในยุโรป  เริ่มจากอังกฤษ (ตรงกับราชวงศ์ชิง ตอนปลาย ค.ศ. 1644-1911) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ  แต่ตามหลักฐานที่ค้นพบใหม่ เริ่มมีการปฏิวัติอุสาหกรรม ในราชวงศ์หมิงของจีน  (ตรงกับสมัยอยุธยา ค.ศ. 1368-1644) เครื่องทอผ้า ถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในโลก  หัวใจของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ เครื่องจักร  เครื่องจักรจะอยู่ในบ้านไม่ได้ จึงต้องมี โรงงาน  เมื่อมีเครื่องจักร ก็ผลิตได้จำนวนมาก เรียกว่า การผลิตจำนวนมาก (Mass Production)  เมื่อมีผลผลิตจำนวนมาก จึงต้องใช้ ทรัพยากร (resource) ป้อนเข้าสู่โรงงานมากขึ้น

  (ทรัพยากร คือ อะไรก็ตามบนโลกที่มนุษย์ มีมันได้ เช่น เวลา เงิน ผ้า เหล็ก ฯลฯ)  เมื่อใช้ทรัพยากรเยอะ ทรัพยากรในโลกเริ่มลดลง มนุษย์จึงคิดว่า ทำอย่างไรจะทำให้มัน “พอ”

  • ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดการจัดการให้มีทรัพยากรเพียงพอ ก็คือ Adam Smith  จนได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ (Adam Smith) นักปรัชญาชาวสกอตแลนด์  ได้แต่งหนังสือ “The Wealth of the Nation” ในปี ค.ศ. 1776   ซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดเศรษฐศาสตร์

  สำนักคลาสสิค (Classical Economics)  แนวคิด Laissez – faire (แลซ เซ แฟ) ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปล่อย-ทำ  คือ รัฐต้องปล่อย แล้ว เอกชนทำกันเอง  เน้นเรื่องแรงงาน (Labor) การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor)

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]