เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากของทรัพยากร

จาก วิกิตำรา

ไลโอเนล ซี. รอบบินส์ (Lionel C. Robbins,1898 - 1984) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์แห่ง The London School of Economics.  ได้นิยามว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามจุดประสงค์อันมีอยู่มากมายไม่ถ้วน

พอล เอ. แซมมวลสัน (Paul A. Samuelsson, 1915- 2009) นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัล Nobel Memorial Prize in Economic Sciences (1970)  ศาสตราจารย์แห่ง Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.)  ได้นิยามว่า เป็นการศึกษาถึงเรื่องมนุษย์และสังคมตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดซึ่งอาจใช้ไปเพื่อการต่างๆ กันได้ ไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และแจกแจงสินค้าและบริการเหล่านั้นเพื่อการบริโภค ไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคตระหว่างประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะต้องใช้เงินหรือไม่ก็ตาม

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]