เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/บัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
บัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (International Balance of Payment Accounting) เป็นบัญชีที่บันทึกการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ อันสืบเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างผู้มีภูมิลำเนาในประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศอื่น ๆ ระยะเวลาหนึ่ง ดุลการชำระเงินประกอบด้วยบัญชีย่อยจำนวน 4 บัญชี ซึ่งประกอบไปด้วยบัญชีดังต่อไปนี้
1) บัญชีเดินสะพัด (Current Account)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ประกอบด้วยบัญชีย่อย 4 บัญชี ดังนี้
I.บัญชีการค้า (ดุลการค้า) เป็นบัญชีที่บันทึกรายได้จากการขายสินค้าให้กับต่างประเทศ และรายจ่ายจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ
II.บัญชีบริการ (ดุลบริการ) เป็นบัญชีที่บันทึกรายได้จากการให้บริการต่างประเทศ และรายจ่ายจากการใช้บริการของต่างประเทศ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว เป็นต้น
III.บัญชีบริจาคและเงินโอน ได้แก่ เงินช่วยเหลือต่างประเทศ ส่งเงินให้ญาติ
IV.บัญชีรายได้ เป็นรายได้นอกเหนือจากบัญชีข้างต้น ได้แก่ ค่าแรง เงินปันผล
2) บัญชีเงินทุน (Capital and Account)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
I.บัญชีทุน เป็นบันทึกรายการเกี่ยวกับการโอนสิทธิหรือเงินทุนที่เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์ถาวร ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตและมิใช่สินทรัพย์ทางการเงิน
II.บัญชีการเงิน เป็นการบันทึกธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินระหว่างประเทศ แบ่งเป็นการลงทุน 3 ประเภท ได้แก่
§การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) เช่น ต่างประเทศเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในประเทศไทย
§การลงทุนโดยอ้อม (Indirect Investment) เช่น การลงทุนของชาวต่างประเทศในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในรูปของการซื้อหุ้นหรือตราสารหนี้อื่นๆ
§การลงทุนอื่นๆ เช่น เงินฝากธนาคาร และเงินกู้ เป็นต้น
3) บัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of payment)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เป็นผลรวมของบัญชีเดินสะพัดกับบัญชีเงินทุน (1) + (2) ถ้ารายรับจากต่างประเทศมากกว่าการจ่ายชำระหนี้ให้ต่างประเทศ ดุลการชำระเงินจะเกินดุล แต่ถ้าหากเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม ดุลการชำระเงินจะขาดดุล
การขาดดุลหรือเกินดุลการชำระเงิน จะมีผลต่อการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของทุนสำรองของประเทศ ดังนั้นการปรับความไม่สมดุลในการชำระเงินระหว่างประเทศจะอยู่ที่บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International reserve account)
4) บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]หมายถึง สินทรัพย์ทั้งหลายที่ทั่วโลกยอมรับว่าใช้ ชำระหนี้ต่างประเทศได้ ทุนสำรองระหว่างประเทศมักจะไม่รวมเงินตราสกุลของตนเอง แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเงินดอลลาร์เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ดอลลาร์ก็ไม่ใช่เงินทุนสำรองของประเทศสหรัฐอเมริกา
ทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ เงินตราต่างประเทศ เงินฝากที่ IMF เป็นต้น
การเกินดุลหรือขาดดุลการชำระเงิน : ผลกระทบต่อปริมาณเงิน อัตราแลกเปลี่ยน และทุนสำรองระหว่างประเทศ
เกินดุล ปริมาณเงินเพิ่ม ค่าเงินบาทลด ทุนสำรองเพิ่มขึ้น
ขาดดุล ปริมาณเงินลด ค่าเงินบาทเพิ่ม ทุนสำรองลดลง