เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/ผลิตภัณฑ์
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Managing Supply Chain) หมายถึง การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาไปยังลูกค้า
“กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทาน จะแปรสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆ ให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ
แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค หรือ End Customer)”
เป้าหมายสูงสุดของ Managing Supply Chain คือ การดำเนินงานที่รวดเร็วและใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ (Triple A : AAA)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1. ความคล่องตัว (Agility)
2. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
(Adaptability)
3. ความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน (Alignment)
1.ความคล่องตัว (Agility)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นของอุปสงค์และอุปทานของตลาดได้อย่างรวดเร็ว และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภายนอกที่เกิดขึ้นกะทันหันได้อย่างราบรื่น
วิธีดำเนินการ
§ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Supplier และลูกค้า
§สร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันกับ Supplier
§ออกแบบห่วงโซ่อุปทานที่สามารถชะลอกระบวนการบางอย่างได้ตามความเหมาะสม
§เตรียมสินค้าคงคลังสำรอง ด้วยการรักษาระดับสินค้าคงคลัง
§จัดทำแผนฉุกเฉินและตั้งทีมงานที่มีหน้าที่จัดการกับสถานการณ์วิกฤต
2. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (Adaptability)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ปรับเปลี่ยนการออกแบบห่วงโซ่อุปทานให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างตลาดหรือส่วนแบ่งตลาด (Market share) ดัดแปลงเครือข่ายอุปทานได้เหมาะสมกับกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี
วิธีดำเนินการ
§ติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้สามารถเล็งเห็นฐานการผลิตและตลาดใหม่ๆ
§ใช้คนกลางเพื่อสร้างสัมพันธ์กับ Supplier รายใหม่
§ประเมินความต้องการของผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Ultimate Consumers)
§ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์
§ประเมินว่าสินค้าของบริษัทอยู่ช่วงใดในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
3. ความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน (Alignment)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ให้สิ่งจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งห่วงโซ่อุปทาน
วิธีดำเนินการ
§แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้กับ Supplier และลูกค้าอย่างไม่มีข้อจำกัด
§กำหนดกฎเกณฑ์ งานที่ต้องทำ และความรับผิดชอบต่อ Supplier และลูกค้าไว้อย่างชัดเจน
§ร่วมกันรับความเสี่ยง ต้นทุน และผลประโยชน์จากกิจกรรมการปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอย่างเท่าเทียม