ข้ามไปเนื้อหา

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/ลัทธิเศรษฐศาสตร์การเมือง

จาก วิกิตำรา

1.ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right of Kings)

§อ้างว่า กษัตริย์ มีความชอบธรรมที่จะปกครอง เพราะได้อำนาจมาจาก พระเจ้า (God)

§ระบบเศรษฐกิจแบบศักดินา (feudalism) มีความชอบธรรม

§รัฐบาลเป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับอำนาจและรับรองจากพระเจ้า

§การปฏิเสธหรือต่อต้านรัฐและรัฐบาลเท่ากับการปฏิเสธพระเจ้า

§ เซนต์ โทมัส อไควนัส (St.Thomas Aquinas, 1220-1274)

§ชีวิตสังคมและการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบจักวาล ผู้ที่อยู่ต่ำกว่ารับใช้ผู้ที่อยู่สูงกว่า ผู้ที่อยู่สูงกว่าเป็นผู้นำและควบคุมผู้อยู่ต่ำกว่า สมาชิกของสังคมต่างทำงานในหน้าที่ของตน แต่ละคนมีหน้าที่ในสังคมต่างกัน แต่รวมเข้าแล้วต่างก็ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยกันทั้งนั้น ระบบสังคมต้องมีส่วนที่เป็นหัวหน้าปกครองเช่นเดียวกับที่ร่างกายมีวิญญาณปกครอง

§ในด้านเศรษฐกิจ ได้เสนอ ทฤษฎีราคายุติธรรม (just price) เนื่องจากสมาชิกของสังคมมีพันธะต่อกัน ฉะนั้นราคาสินค้าที่กำหนดขึ้นในการแลกเปลี่ยนควรเป็นราคาที่ยุติธรรม

2. ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolute Monarchy)

§การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มนุษย์ลดความเชื่ออย่างงมงายในพระเจ้า

§เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เชื่อถือว่าคริสต์ศาสนิกชนอาจอ่าน และตีความพระคัมภีร์เองได้โดยการนำของมาร์ติน ลูเธ่อร์ (Martin Luther,1483-1546)

§นิโคโล แมคเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli,1469-1572)

§ผู้ปกครองมีอำนาจเด็จขาด เพราะอำนาจเด็ดขาดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความมั่นคงและสันติภาพ

เปลี่ยนการถือครองอำนาจจากพระเจ้า มาสู่ กษัตริย์

§เน้นการรวมศูนย์อำนาจ (Centralization)

ดึงเอาอำนาจจากเหล่าขุนนาง คืนสู่ กษัตริย์

§โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679)

§มนุษย์ยอมมอบอำนาจและสิทธิในสภาพธรรมชาติให้องค์อธิปัตย์ องค์อธิปัตย์มีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงของสมาชิกของสังคมไว้ได้

§องค์อธิปัตย์ควรมีรูปแบบเป็น กษัตริย์

§

§ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ช่วงศตวรรษที่ 16 -18

§การเปลี่ยนจากเกษตรแบบเลี้ยงตัวเอง มาสู่ การค้าขายแลกเปลี่ยน

§เปลี่ยนจากการส่งมอบผลผลิตให้ขุนนาง เป็น การคลังของรัฐ (กษัตริย์)

§การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สะสมทองคำและเงิน

§การค้าระหว่างประเทศ เน้นการส่งออกให้มากกว่านำเข้าโดยตั้งกำแพงภาษี

จำกัดการนำเข้าสินค้า

3.ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิก (Classical Liberalism)

§จอห์น ลอค (John Locke,1632-1704)

§พระเจ้าไม่ได้ปรารถนาที่จะให้มนุษย์ผู้ใดได้สิทธิจากพระเจ้ามากกว่าผู้อื่น

§มนุษย์จะต้องเคารพเสรีภาพ และไม่ก้าวก่ายในสิทธิของผู้อื่น

§หน้าที่ของรัฐ คือ การรักษาสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ ชีวิต ทรัพย์สิน และเสรีภาพ นอกเหนือจากนั้น ปล่อยให้สมาชิกจัดการเอง

§รัฐต้องเคารพสิทธิและต้องจำกัดอำนาจของตนให้อยู่ในขอบเขต

4.ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo Liberalism)

§ให้ความสำคัญกับ การตัดสินใจเลือกของปัจเจกบุคคล จากความพึงพอใจสูงสุด (Utility Maximization)

§หากแต่ละคนได้ประโยชน์สูงสุด สังคมส่วนรวมก็จะได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วย

§การแสวงหาประโยชน์สูงสุดของแต่ละคน จะถูกถ่วงดุลซึ่งกันและกัน จากสภาพการแข่งขันเสรีในตลาด

§จนได้จุดดุลยภาพ (Equilibrium) ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เช่น ราคาสินค้าและบริการ ผู้ขายและผู้ซื้อจะมีจุดราคาดุลยภาพที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจซึ่งกันและกัน

§ให้ความสำคัญกับ การแข่งขัน (Competition)

§แรงกดดันจากการแข่งขันในระบบตลาดเป็นสิ่งจูงใจให้ปัจเจกบุคคลต้องพัฒนายกระดับตนเอง ให้ภาคธุรกิจต้องพัฒนาด้านการผลิต เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)

§เพื่อความอยู่รอดในเกมการแข่งขันของระบบตลาดเสรี (ทุนนิยม)

§จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill , 1806 - 1873)

§เสรีภาพส่วนบุคคลจะเกิดได้ต้องให้โอกาสเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เท่าเทียมกันในรายได้หรือความฉลาด ดังนั้นโอกาสเท่าเทียมกันเกิดได้ เมื่อทุกคนเริ่มต้นอย่างเป็นธรรม (All start fair) ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทวางนโยบายเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดขึ้น กระทำได้ 2 ประการ คือ

1)เข้าแทรกแซงโดยใช้อำนาจ (Authoritative Intervention) เพื่อห้ามหรือจำกัดพลังของตลาด เช่น ออกกฎหมายห้ามขึ้นราคาสินค้า จำกัดผลผลิตมันสำปะหลัง เป็นต้น ก็จะบังเกิดโอกาสเท่าเทียมกันมากขึ้น

2)เข้าแทรกแซงโดยให้การสนับสนุน (Supportive Intervention) เพื่อขยายพลังของตลาดให้เกิดการซื้อขายมาก และผลิตสินค้าได้มากขึ้น คนจนมีงานทำมีรายได้ เท่ากับ เกิดโอกาสเท่าเทียมกันแก่คนยากจนมากขึ้น  

§จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill , 1806 - 1873)

§นโยบายการคลังด้านภาษีเป็นเครื่องมือที่จะสร้างความเป็นธรรม ควรวางนโยบายการเก็บภาษีแตกต่างกัน 3 ประการ

1)ภาษีเงินได้ (ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้)

2)ภาษีมรดกและภาษีสรรพสามิต

3)ภาษีสิ่งฟุ่มเฟือย 

5.ลัทธิมาร์กซิสม์ (Marxism)

§คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx,1818-1883)

§การพัฒนาในแนวทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักท้ายสุดจะก่อให้เกิดชนชั้นที่ชัดเจนเป็นสองกลุ่ม คือ ชนชั้นสูงคนรวยจำนวนน้อยนิด และชนชั้นกรรมาชีพที่เป็นคนจนและเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในระบบเศรษฐกิจ

§ตอกย้ำภาพความล้มเหลวการกระจายรายได้ของประเทศอย่างชัดเจน

§แต่ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจได้สร้างภาพชนชั้นกลางให้เป็นชนชั้นส่วนใหญ่ของประเทศได้สำเร็จ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว

§แนวทางเพิ่มปริมาณชนชั้นกลางและการจัดสวัสดิการในสังคมที่เพียงพอกลายมาเป็นลัทธิแก้ปัญหาของระบบทุนนิยม (Capitalism) ในปัจจุบัน

§ลัทธิมาร์กซิสม์ ได้รับอิทธิพลจาก แนวคิดสังคมนิยม

  (ปัจจัยการผลิตเป็นของสังคม)

§ระบบสังคมนิยม (Socialism)

§รัฐบาลเป็นเจ้าของทุนและปัจจัยการผลิต เอกชนถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่างไม่ได้ ซึ่งตรงข้ามกับระบบนายทุนที่ยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของทั้งปัจจัยการผลิตและมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

§ระบบสังคมนิยมไม่ถือกำไรเป็นสิ่งจูงใจ ไม่มีพลังตลาด (อุปสงค์และอุปทาน) ที่บังคับให้เกิดการผลิต ดังนั้นรัฐจึงต้องดำเนินธุรกิจเป็นกิจการขนาดใหญ่

§ระบบสังคมนิยมต้องการแบ่งทรัพย์สินและรายได้เป็นไปโดยยุติธรรม สังคมนิยมต่างกับระบบคอมมิวนิสต์ตรงที่การเข้าเป็นเจ้าของทุนของรัฐบาล สังคมนิยมจะทำโดยสงบและเป็นแบบประชาธิปไตย

§ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ

1)ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่

2)ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน  เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก

3)รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด

§ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้

1)แรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพราะกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น

2)ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก

3)ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ

4)ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ

§ลัทธิสังคมนิยมแบบยูโทเปีย (Utopia Socialism)

§พยายามแก้ไขความไม่ยุติธรรมในสังคม โดยจัดตั้งสหกรณ์การผลิตและการบริโภคขึ้น เสนอให้มีการผลิตแบบเดิมก่อนการผลิตแบบอุตสาหกรรม

§รัฐในความฝัน (Utopia) ตามแนวคิดของ Sir Thomas More ตามความฝันของเขาเป็นเกาะสมมุติขึ้นมีทุกสิ่งทุกอย่างแต่ถือว่าเป็นของร่วมกัน ทุกคนที่จะใช้ได้ต้องไปทำงานวันละ 6 ชั่วโมง การกินอาหารร่วมกันในโรงอาหารที่จัดไว้ มีบ้านเรือนจัดไว้ให้อยู่ตามความจำเป็นแก่อัตภาพ มีกฎหมาย และทุกคนมีสิทธิเลือกนับถือศาสนาตามความพอใจ 

§นักวิชาการกลุ่มนี้เสนอว่า ควรพยายามหาทางให้ทุกคนมีทรัพย์สิน มีปัจจัยการผลิต แล้วนำปัจจัยการผลิตนั้นมาไว้รวมกัน ช่วยกันทำการผลิตในลักษณะสหกรณ์ (Co - operative)

§แนวคิดนี้ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เป็นแนวคิดที่ให้มีการรวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มโดยร่วมกันดำเนินธุรกิจ มีการจัดตั้งขึ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายในลักษณะทางธุรกิจ

§มีจุดหมายเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการครองชีพ และการมีทรัพย์สินที่พอควรในรูปสหกรณ์การผลิต ด้วยวิธีการช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มสมาชิก ตามหลักและวิธีการที่กำหนดไว้ โดยไม่มุ่งหวังกำไร 

§หลักการของสหกรณ์ในปัจจุบัน ประการแรก ยึดหลักการรวมกลุ่มกันเป็นสำคัญ เน้นการรวมคนมากกว่าการรวมทุน เพราะสหกรณ์เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคลที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอ่อนแอ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จึงต้องมีการรวมแรง รวมปัญญา และรวมทุน เพื่อช่วย เหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มสมาชิก และยึดหลักการช่วยเหลือตัวเอง

§ประการที่สอง การจัดตั้งโดยความสมัครใจของสมาชิก เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

§ประการที่สาม หลักความเสมอภาค สมาชิกทุกคนมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้คนละ 1 เสียงเท่านั้น โดยจะไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ถืออยู่

§ประการสุดท้าย ผลประโยชน์ของสมาชิกโดยส่วนรวมเป็นเป้าหมายหลัก ผลประโยชน์ที่ได้รับจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ แต่จะขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมในกิจการของสหกรณ์

§ตามคติที่ว่า “สมาชิกแต่ละคน เพื่อสมาชิกทั้งหมด และสมาชิกทั้งหมด เพื่อสมาชิกแต่ละคน” (Each for all , and all for each)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

§ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนและปัจจัยการผลิตทุกชนิด

§รัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด

§เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง

§รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น

§ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น พัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์”

§วาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

6.ลัทธิเคนส์ (Keynesian Economics)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

§จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes ,1883-1946)

§มุ่งหาทางแก้ปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี (Classical Liberalism) เน้นหน้าที่ของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มอุปสงค์รวม เพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด

§วิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

§เครื่องมือที่สำคัญ คือ นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง (งบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ)

§เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) ก่อให้เกิดการวางแผนแบบชี้นำทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม (indicative planning) โดยที่รัฐลงทุนสร้างโครงข่ายพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure) พร้อมทั้งกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศแล้วปล่อยให้เอกชนเป็นฝ่ายตัดสินใจลงทุน