ข้ามไปเนื้อหา

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/อุปสงค์-อุปทาน

จาก วิกิตำรา

  อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆ ที่ตลาดกำหนดให้

  กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์

Demand = want (buy) + PP (Purchasing Power) 

  กฎของอุปสงค์ หมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ (ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง (ราคาแพง) * ปัจจัยอื่นคงที่

  • คนซื้อ อยากซื้อของถูก มากกว่า ของแพง

  อุปทาน หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ตามที่ตลาดกำหนดให้  กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะเสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย * ปัจจัยอื่นคงที่

Supply = want (sell) + P (Product) 

  กฎของอุปทาน หมายถึง ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง (ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ (ราคาถูก)