ข้ามไปเนื้อหา

ให้มีประเพณี

จาก วิกิตำรา
ว่าด้วยคำศัพท์ เรื่อง เปลือก (ประเพณี)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. กมฺมานํ ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงวัฏฏะ
๒. สมุทายาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การประมวลมา
๓. โลภเชน ความว่า เกิดจากความโลภ
๔. ทฺวิโช ได้แก่ สัตว์เกิดในไข่ คือ จากท้องแม่ครั้ง ๑ จากกระเปาะฟองไข่ครั้ง ๑
๕. - -

บรรยายสังเขป คำว่า “ประเพณี”

ประเพณีเปลือกไข่ คือ “ให้มีประเพณีแล้วให้ออกจากประเพณี”

ธรรมอันไม่สันโดษนั้นต้องอาศัยประเพณี หรือจะว่า ประเวณีก็ใช่ ซึ่งก็คือ ประเพณี! คือให้อนุญาตหรืออนุเคราะห์กันเป็นคราวๆไป มีความผูกพันเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องกำหนดแน่นอนแล้วว่าเป็นครั้งคราว ไม่ทั่วไป ไม่บ่อย ไม่ประจำและไม่มาก แต่หากจะกำหนดไม่ให้มีก็จะต้องเสียหาย เพราะคนที่จะต้องพัฒนาจากส่วนนั้นอันจะเป็นการตั้งตัวเป็นต้น แรกเริ่มก็จะกลับเป็นคนตั้งตัวไม่ได้ แล้วจะต้องเสียหาย เพราะจะผูกพันหาความรับผิดชอบให้ตนตั้งอยู่นั้นไม่ได้

เรื่องของเรื่องเป็นเรื่องที่เฉพาะหน้าแล้วไม่ต้องทำความลึกซึ้งก็ได้ คงเพียงดี-เลว เห็นร่วมกันแล้ว กำหนดถึงคนที่จะได้เข้าใจ เพื่อที่เขาจะได้ไปต่อไปได้ ในพิธี! หรือแม้แต่รัฐพิธีนั้นๆจะไม่ใช่สิ่งสลักลึกซึ้งที่มีความสำคัญหมายอย่างดีที่สุด และถึงแม้ไม่ได้นับว่าศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็จะขาดไม่ได้

เพราะคนเราอาศัยอยู่กับนิสัยใจคอส่วนลึก ซึ่งท่านว่าด้วยเรื่องหรือคำว่า “สรรพสัตว์” คือสัตว์ คือว่าด้วยการพัฒนาตนและนำพาฝูงคนเหมือนอย่างฝูงสัตวเร่ร่อน เที่ยวไปแล้วในสงสาร คือด้วยมีมนุษย์เริ่มต้นเป็นชนเผ่าเร่ร่อนกันมาตามลักษณะนิสัย ต้องต้อนเลี้ยงปศุสัตว์และมุ่งการอพยพด้วยต้นตอจิตคือประเวณี ตัณหาคือจิตวิญญาณที่กว้างไกลในมนุษย์และสัตว์ซึ่งคือพวกเดียวกัน ในมนุษย์และสัตว์ต้องว่าตามสำคัญ คือว่าตามเป็นจริงด้วยกัน คือ ว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นฐานด้วยกันทั้งหมด อยู่ในสังสารวัฏ

ส่วนทางที่จะแยกกันเป็นสันโดษหรือเอกายนมรรค ได้นั้น ก็ต้องอำนวยการซึ่งกันและกัน คือต้องมีความเข้าใจกันประกอบกับกำหนดให้มีการอำนวยการให้กันหรือกำหนดให้มีการละเลยหรือกำหนดให้ผูกเข้าไว้ในเรื่องของความผูกพัน ที่ต้องคลี่คลายออกจากกันด้วยเหตุผลตามทฤษฎี ของทฤษฎีแห่งการคลี่ด้ายกลุ่ม(กลุ่มคือ สรรพสัตว์ หรือในมนุษย์ด้วยกันทั้งหมด) การผูกพันและหาความรับผิดชอบนั้น เรียกว่าเกิดใหม่เป็นประเพณี เป็นผู้เกิดใหม่อีกครั้ง แล้วรับผิด-ชอบการกระทำด้วยการหาถือสัจจ์กับครั้งที่เกิดใหม่ ตามการที่ได้เกิดอีกครั้งด้วยพิธี(วิธี) หรือประกาศด้วยสัญญาปฏิญาณที่ประกาศเพื่อทำการรับรองร่วมกัน

ในทางโบราณนั้น หากข้อนี้ที่จะถือคำเปรียบกัน ก็คือ ให้ถือเป็นการลอกคราบ หรือคนที่ตั้งตัวตั้งใจได้มากๆ ก็จะเรียกว่าออกจากฟองไข่ เรียกว่าเกิดแล้วเป็นครั้งที่สอง คือต้องออกจากคราบ หรือออกจากไข่ที่มีเปลือกหุ้ม ซึ่งคือประเพณีที่หุ้มอยู่ เกิดอีกครั้ง และดูแลตัวเองได้ด้วยๆสัจจะสัญญา และด้วยคำสั่งชนิดสำคัญๆ ที่ตนเองตั้งขึ้น หรือที่ผู้อื่นได้มอบให้ จึงเรียกว่าเกิดอีกเป็นครั้งที่สอง หรือได้กลายเป็นสัตว์ที่เกิดสองครั้ง กระทั้งที่เป็นคน หรือที่เป็นมนุษย์อยู่ทั่วนี้ นิยามคำศัพท์ได้มา มีความหมายตามธรรมชาติที่แท้อยู่แล้วว่า มนุษย์จัดไว้เป็นสัตว์ที่เกิดครั้งเดียว ถึงแม้ว่าจะมาตกในที่ให้ต้องอภิบาลกันมากในวัยทารกก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ตาม แต่ก็กลับเหมือนสัตว์เกิดสองครั้งไปอีกจนได้ เพราะประเพณี! และเพราะประพฤติแห่งพรหมจรรย์ที่ยังดำเนินไปไม่ถึงที่สุด.

คำศัพท์สำนวนนี้มีใช้มาก ปรากฏในพระไตรปิฎก บรรยายไปถึงที่สุดบท ว่าคือการลอกคราบ สลัดคราบ ออกจากเปลือกกะเปาะคือฟองไข่ ได้พ้นโลก ลุถึงฝั่ง เสร็จกิจแห่งพรหมจรรย์ อรรถบรรยายนั้นเปรียบว่า เป็นเหมือนสัตว์ที่เกิดแล้วสองครั้ง แต่ควรที่จะสำคัญว่า เมื่อเกิดในอริยประเพณีแล้ว ได้แก่การเกิดเป็นครั้งที่สองนี้ ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดอีก (ในประเพณีอย่างอื่น)