ส่วนที่ 1 พิธีกรรมและความเชื่อในการปลูกบ้านโดยทั่วไป

จาก วิกิตำรา

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่มีมานานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดย เอาคติจากวรรณคดีและความเชื่อเพื่อเป็นสิริมงคล ในการทำบุญ ขึ้นบ้านใหม่ จะทำแบบพอเป็นพิธี หรือเป็นพิธีใหญ่ มีทำบุญ เลี้ยงพระก็ได้แล้วแต่ฐานะของผู้เป็นเจ้าของบ้าน การทำแบบพอเป็นพิธีนั้น เมื่อได้ฤกษ์ยามดีที่หาไว้ หัวหน้าครอบครัวก็อัญเชิญพระบูชาประจำบ้าน ไปประดิษฐานไว้ ที่บูชา จุดธูปเทียนบูชา อธิษฐานขอคุณพระคุ้มครองให้ ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หรือจะนิมนต์พระสักรูปหนึ่ง มา ประพรมน้ าพระพุทธมนต์ตามห้องต่างๆ ก่อนขนของเข้าไปอยู่ ก็ จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่วนการทำแบบมีเลี้ยงพระ ก็ให้เจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหารหรือเพิ่มการตักบาตร สำหรับการเตรียมการก็ เช่นเดียวกับการทำบุญอื่น ๆ ทั่วไป เช่น มีบาตรที่บรรจุทราย 1 บาตร แป้งและน้ำหอมหรือน้ำอบ นำมาตั้งที่บูชา พิธีเริ่มเมื่อพระสงฆ์มาพร้อม หัวหน้าครอบครัวจุดธูป เทียนรับศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หากมีตักบาตร เมื่อ พระสงฆ์สวดถึงบท “พาหุ ฯ”

ให้ตักบาตรแล้วถวายอาหาร ถวายเครื่อง ไทยธรรม กรวดน้ำ ฟังพระสงฆ์อนุโมทนา ต่อจากนั้นทุกคนใน พิธีเจ้ารับพรมน้ำมนต์จากพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน ขณะนั้น พระสงฆ์อื่นจะเจริญมงคลคาถา เสร็จแล้วให้ใครสัก 2 คน ช่วย อุ้มบาตรน้ำมนต์และบาตรทรายพร้อมแป้งกระแจะส าหรับเจิม นำหน้าพระสงฆ์ 1 รูป ไปพรมน้ำมนต์ตามห้องต่าง ๆ ถ้า มีการเจิมประตูบ้าน ก็นิมนต์พระท่านให้ทำในโอกาสนี้ก่อนจะ โปรยทรายรอบบริเวณพื้นบ้าน ถือเป็นมงคลว่า เป็นทรายเงิน ทรายทอง ให้อยู่เย็นเป็นสุข ขับไล่ภูตผีปีศาจ ถือเป็นอันเสร็จ พิธี...แล

ตำราขึ้นบ้านใหม่[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สิทธิการิยะ ถ้าแรกขึ้นบ้านใหม่ท่านให้ขึ้นในวันพุธ วัน พฤหัสฯ และวันศุกร์ ดีนักแล และให้เป็นไปหรือละเว้นตามทิศ ดังนี้

ขึ้นทิศบูรพา ทิศตะวันออก จะเป็นความกัน
ขึ้นทิศอาคเนย์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะตายเร็ว
ขึ้นทิศทักษิณ ทิศใต้ จะเสียของ
ขึ้นทิศหรดี ทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะได้ลาภ
ขึ้นทิศปัจจิม ทิศตะวันตก จะเจ็บไข้
ขึ้นทิศพายัพ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะสุขเกษมมีโชคดี
ขึ้นทิศอุดร ทิศเหนือ จะมีลูกมาก รักลูก
ขึ้นทิศอีสาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีข้าวของมากมาย

ปลูกเรือนตามวัน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปลูกวันอาทิตย์ จะเกิดทุกข์อุบาทว์
ปลูกวันจันทร์ ทำได้สองเดือนจะได้ผ้าผ่อนและสิ่งของ
ปลูกวันอังคาร ทำแล้วสามวันจะเจ็บไข้หรือไฟไหม้
ปลูกวันพุธ จะได้ลาภและผ้าผ่อนอันดี
ปลูกวันพฤหัสบดี เกิดสุขสำราญทำแล้วห้าเดือนจะได้ลาภ
ปลูกวันศุกร์ ความทุกข์สุขก้ำกึ่ง หลังสามเดือนได้ลาภเล็กน้อย
ปลูกวันเสาร์ จะเกิดพยาธิเลือดตกยามออก ทำเสร็จแล้วสี่เดือนจะยากลำบาก

พิธียกเสาเอก[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปลูกบ้านเรือนควรปรึกษาโหราจารย์ หาวันเวลาที่ เป็นสิริมงคล ต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาเสาไว้ให้พร้อม ในวันที่ยก เสาให้เตรียมไว้ให้พร้อมและกล่าวเซ่นไหว้ หรือขอซื้อจากเจ้าที่ เจ้าทาง หรือแม่พระธรณี เป็นพิธี ตลอดจนบอกพระภูมิเจ้าที่ เตรียมเครื่องบัดพลี มีต้นกล้วยไว้มัดยอดเสาเอก ซึ่งอาจต้องให้ พระสงฆ์ผู้ทรงศีลแลชำนาญทางไสยศาสตร์ ลงยันต์นำแผ่นทอง หรือผ้าแดงมาผูกติดปลายเสา สำหรับผู้ที่ผูกนั้นจะเลือกสีตามวัน เกิดของเจ้าบ้านก็ได้ ครั้นได้ฤกษ์ให้เจิมเสาประพรมน้ำมนต์แล้ว เอายันต์ปิดหัวเสา พอได้เวลาก็ลั่นฆ้องตีกลองเคาะระฆัง หรือจะ โห่ 3 ลา แล้วช่วยกันยกเสาตั้งตรง ข้อสำคัญที่สุดนั้นเสาเอกหรือ เสาขวัญต้องยกให้ตรงฤกษ์ที่หมอดูให้มา ตามจารีตประเพณีมีมา แต่โบราณก็กล่าวสืบกันมา ดังพรรณามาฉะนี้แล

ของใช้ในพิธี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)

- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)

- เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)

- ใบทอง นาก เงิน อย่างละ 3 ใบ

- เหรียญทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ

- ทรายเสก 1 ขัน

- น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)

- ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก

- ทองคำเปลว 3 แผ่น

- ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน (หรือผ้าสำหรับทำ เครื่องหมายที่ต้องการ)

- หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ

- ไม้มงคล 9 ชนิด (ถ้าประสงค์)

- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น

- ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน

ลำดับพิธี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- วางสายสิญจน์เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวาบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์ พอสมควร)

- เจ้าภาพจุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคลกราบพระ

- จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครองพิธีกร

- กล่าวสังเวยเทวดาเจ้าภาพ

- ดอกไม้มงคล 9 ชนิด (ถ้ามี)

- วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี)

- นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ โปรย ทรายเสกที่ หลุมเสา

หลุมเสา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- เจิมและปิดทองเสาเอก

- ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก

- ถือด้ายสายสิญจน์พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี ช่าง

- ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี) เจ้าภาพ

- โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี เสร็จพิธี

หมายเหตุ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน

- ถ้ายกเสาเอกในเดือน 4 - 5 - 6 เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์

- ถ้ายกเสาเอกในเดือน 7 - 8 - 9 เสาเอก อยู่ทิศหรดี

- ถ้ายกเสาเอกในเดือน 10 - 11 - 12 เสาเอก อยู่ทิศพายัพ

- เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า “เสสัง มังคะลัง ยาจามิ”

- หน่อกล้วย อ้อย เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ เพื่อเสี่ยงทายว่าจะงอกงาม เพียงใด

- ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้ จะจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่ธรรมดาก็ได้และสิ่งประกอบอื่น ๆ ก็เลือก เอาเท่าที่จำเป็นและหาได้ง่าย

- ในบางพื้นที่ อาจจะใช้เครื่องสักการะที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าพิธีหรือความเชื่อตามประเพณีของท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา

ปลูกบ้านตามเดือน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • เดือนอ้าย (ธ.ค) ได้เมื่อสมุทรโฆษถูกวิทยาธรฉกพระขรรค์ ทำการไม่ดี
  • เดือนยี่ (ม.ค) ได้เมื่อพระรามเกิดทำการดี
  • เดือนสาม (ก.พ) ได้เมื่อพระรามกลืนยาพิษ ทำการไม่ดีแล
  • เดือนสี่ (มี.ค) ได้เมื่อพระสมุทรโฆษได้นางพินทุมดีทำการดี
  • เดือนห้า (เม.ย) ถึงกาลโจรฆ่าพราหณ์ ไม่ดีแน่
  • เดือนหก (พ.ค) ตกพระเจ้าเสด็จอุบัติเหตุ ทำการดีทุกวัน
  • เดือนเจ็ด (มิ.ย) พระนาราย์ปราบยักษ์ อย่าทำจะดีกว่า
  • เดือนแปด (ก.ค) ราพณาสูรต้องโมกขศักดิ์พระราม ไม่ดี
  • เดือนเก้า (ส.ค) ตกพระจันทร์กุมารเกิด ทำการทุกอย่างดีนักแล
  • เดือนสิบ (ก.ย) ตกได้เมื่ออภิเษกพระอินทร์ พักไว้ก่อนอย่าทำ
  • เดือนสิบเอ็ด (ต.ค) ได้เมื่อพระรามข้ามทะเล ไม่ดีอย่าทำ
  • เดือนสิบสอง (พ.ย) ได้เมื่อพระยาจักรพรรดิเกิด ทำการดีนักแล

ข้อห้าม!เกี่ยวกับบ้าน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ห้ามมิให้ทำขื่อใหญ่กว่าเสาบ้าน
  2. ห้ามมิให้ทำแหวกช่องกลางที่นอน
  3. ห้ามมิให้ทำเรือนคร่อมต้นไม้
  4. ไม่ควรสร้างบ้านแบบรูปศาลพระภูมิ มี 2 ห้อง มีฝา 1 ห้องไม่มีฝา 1 ห้อง
  5. ไม่ควรสร้างบ้านที่มีระเบียง 4 ด้านเหมือนศาลาการเปรียญ
  6. ห้ามปลูกบ้านขวางตะวัน
  7. ห้ามปลูกเรือนขวางคลอง
  8. ห้ามทำเรือนมี 4 จั่ว
  9. เรือนหลังหนึ่งห้ามทำประตู 4 แห่ง หน้าต่าง 9 แห่งประตูไม่อยู่กลางบ้าน
  10. จำนวนบันไดห้ามใช้จำนวนขั้นคู่
  11. บันไดไม่ลงทางทิศตะวันตก
  12. ไม่หันหัวเตียงไปทางทิศตะวันตก
  13. ไม่นอนขวางกระดาน
  14. ไม่ทำน้ำพุไหลเข้าตัวเรือน
  15. ไม่ทำทางลอดใต้ห้องส้วม
  16. ไม่ทำอาคารพักอาศัยเป็นรูปตัว“ที”
  17. ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลัง ถือเป็นเรือน“อกแตก”
  18. ไม่ทำภูเขาไฟจำลองไว้ในบ้าน
  19. ไม่ทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของที่ดินที่ทางสามแพรกหรือสี่แยก
  20. ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา เครื่องวัด เครื่องหลวง เป็นส่วนประกอบของบ้าน
  21. ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ
  22. ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เงาเรือน
  23. ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น
  24. ห้ามมีสัตว์ตกตายในหลุมตอฆ่อ

การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ตามหลักโหราศาสตร์สิทธิการิยะ ผู้ใดจะสร้างบ้านให้อยู่เย็นเป็นมงคลกับตนเอง ให้ปลูกต้นไม้ ดังนี้

ทิศตะวันออก ปลูกไม้ไผ่หรือต้นกุ่มหรือต้นมะพร้าว ไข้ร้ายมิพบพาน
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกต้นสารภีหรือต้นยอกันจัญไรดีนัก
ทิศใต้ ปลูกต้นมะม่วงหรือต้นมะพลับอายุยืนดี
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปลูกต้นพิกุล ราชพฤกษ์ขนุน สะเดา กันโทษดีแท้
ทิศตะวันตก ปลูกต้นมะขาม มะยมกันผีกันขึ้นความ
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปลูกต้นมะกรูด รูดผีสางนางไม้
ทิศเหนือ ปลูกต้นพุทราหรือต้นหัวว่านกันอาคม มีมนต์คุณ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกต้นทุเรียนและขุดบ่อคงไว้ กันศัตรูมีชัย

ต้นไม้ที่ห้ามปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน![แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ต้นโพธิ์ เพราะเป็นต้นไม้ประจำวัดวาอารามเท่านั้น
ต้นไทร เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่เกินไป รากอาจเป็นอันตรายกับฐานบ้าน
ต้นตะเคียน เพราะเป็นต้นไม้ที่เชื่อว่าผีนางอายนางไม้สิงอยู่
ต้นดอกทอง เพราะเป็นลางร้าย ทำให้คนในบ้านผิดประเวณีกัน
ต้นยาง เพราะเป็นต้นไม้ที่คนโบราณนำไปทำหีบศพ

ทั้งนี้ให้พิจารณาดูว่า ต้นไม้หรือกอไม้ใดมีชื่อเรียกไม่เป็น มงคล ก็ห้ามนำมาปลูก เช่น ต้นโศก ต้นระกำ ต้นหวาย กอไผ่ รวก ต้นจำปาจำปี เป็นต้น

ความรู้เผยแพร่เพื่อประชาชน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]