หนี้
หนี้ (obligation) เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก "ลูกหนี้" ทำหรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้
กฎหมายเกี่ยวกับหนี้นั้นเรียก กฎหมายลักษณะหนี้ (law of obligations) เนื่องจากหนี้เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานอย่างหนึ่งในกฎหมายแพ่ง กฎหมายลักษณะหนี้จึงเป็นกฎหมายหลักกลุ่มหนึ่งในกฎหมายแพ่งด้วย แบ่งศึกษาตามลำดับดังนี้
บทที่ 1 บททั่วไป: ภาพรวมว่าด้วยหนี้คืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร มีผลอย่างไร และใครคือเจ้าหนี้กับลูกหนี้
บทที่ 2 อำนาจแห่งหนี้: เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว เจ้าหนี้ลูกหนี้มีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้าง
บทที่ 3 เจ้าหนี้และลูกหนี้หลายคน: เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ๆ มีหลายคน คนเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและความสัมพันธ์กับคู่กรณีอีกฝ่ายเช่นไร
บทที่ 4 ความระงับแห่งหนี้: หนี้สิ้นสุดลงได้อย่างไร และส่งผลเช่นไร
รายละเอียดของแต่ละบทปรากฏอยู่ในกล่องท้ายหน้านี้แล้ว
ตำรานี้ว่าด้วยหนี้ตามกฎหมายแพ่ง สำหรับหนี้ตามกฎหมายมหาชน ดู หนี้สาธารณะ (government debt) และหนี้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดู พันธกรณี (obligation)
อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก
ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น
รายการอ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ภาษาไทย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- สำนักงานศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2530 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2554.07). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789744665577.
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551.03.10). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. (2552). หลักกฎหมายหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 10, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9789742887483.
- ราชบัณฑิตยสถาน.
- (2551.02.07). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- ศาลฎีกา. (2550.01.25). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- สมยศ เชื้อไทย. (2554.06). ความรู้กฎหมายแพ่ง คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9789742882623.
ภาษาต่างประเทศ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- กฎหมาย
- Code civil des français: éd. originale et seule officielle. (1804). France: Bibliothèque nationale de france. [En ligne]. (Consulté: 2013.02.14).
- Kamol Sandhikshetrin. (2007). The Civil and Commercial Code, Books I-VI, and Glossary. (8th edition). Bangkok: Nitibannakan. ISBN 9789744473493.
- Langenscheidt Translation Service.
- (2010). Bürgerliches Gesetzbuch. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2011). German Civil Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Legifrance.
- (2006.04.04). French Civil Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2005.01.01). French Commercial Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2013). Code civil. [En ligne]. (Consulté: 2013.02.14).
- Ministry of Justice of Japan. (2011). Japanese Civil Code. [Online]. Available: <Parts 1-3 and Parts 4-5>. (Accessed: 2013.02.14).
- อื่น ๆ
- John Bouvier. (1856). A Law Dictionary, Adapted to the Constitution and Laws of the United States. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Latin-dictionary.org. (2008). Impossibilium nulla obligatio est. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Obligation.. (2012). Dictionary.com. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Obligation. (2012). The FreeDictionary's legal dictionary. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Res perit domino. (2011). Legaldictionary.org. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).