ข้ามไปเนื้อหา

การค้นหากู้ภัย

จาก วิกิตำรา

การค้นหากู้ภัย (อังกฤษ: search and Rescue) ในบางครั้งอาจจะใช้คำว่า ค้นหาช่วยชีวิต หรือค้นหาช่วยเหลือ หมายถึง การช่วยชีวิต ผู้ที่ประสบภัย ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ, ระหว่างเกิดหรือหลังพิบัติเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ภัยบนท้องถนน เท่านั้น ซึ่งบางครั้งอาจะสับสนกับการเก็บกู้ศพ หรือ งานช่วยเหลือประชาชน

ขั้นตอนค้นหากู้ภัย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. การรับแจ้งและการรายงาน (Report) - ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ หน่วย รับแจ้งเหตุจาก ผู้ประสบภัยหรือหน่วยอื่น เพื่อให้หน่วยช่วยชีวิต เข้าช่วยชีวิตในพื้นที่ที่กำหนด โดย ในส่วน ผู้รับแจ้ง ต้องรับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการช่วยชีวิตขั้นต้น และ กระจายข่าวของส่งข่าวให้หน่วยช่วยเหลือที่ ใกล้ที่สุด หรือ ผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือ
  2. การวางแผนขั้นต้น (Planning) - เป็นการปรับแผนที่เคยวางไว้ ( ถ้ามี ) ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติบ่อยๆจะกลายเป็นซึ่งที่ทหารเรียกว่า รปจ. หรือ ระเบียบปฏิบัติประจำ
  3. การค้นหาและการเข้าสู่พื้นที่ (Locate) ทางบก ได้แก่ การเดินเท้า การขึ้นหรือลงจากที่สูง ทางรถยนต์ ทางอากาศ ทางน้ำ ผสม
  4. การเข้าถึง (Access) เป็นการใช้ ทรัพยากร , เครื่องมือ , ทักษะความชำนาญ เพื่อที่จะเข้าถึง ผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัยทั้งนี้รวมทั้ง การนำชุดช่วยเหลือกู้ภัยออกอย่างปลอดภัยดัวย ประกอบด้วย การเจาะเข้าที่เกิดเหตุ และ การช่วยเหลือ ซึ่ง ภาพที่เห็นบ่อย คือ การใช้เครื่อง ตัดถ่าง งัดแงะร่างผู้บาดเจ็บออกมา อุปกรณที่ใช้เช่น เ อุปกรณ์ลงทางดิ่ง ,เชือก แบบมีแกน ( Kernmetal Rope ) , ชุดสายรัดตัวในการกู้ภัย
  5. การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเตรียมการเคลื่อนย้าย (Stabilize) เป็นการให้การดูแลด้านการแพทย์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะ นำผู้ประสบภัย ออก โดยไม่มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม และ ไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้น จากที่เป็นอยู่ ในส่วนงานด้านนี้ นั้น ในพื้นที่ ประสบภัยที่สามารถเข้าถึงสะดวกด้วยรถยนต์ ก็ ไม่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดนั้น การปฏิบัติดังกล่าว ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ เนื่องจาก งานด้านการพยาบาลสนาม ( การรักษาพยาบาล ที่ อาจจะมากกว่าการปฐมพยาบาล ทั่วไป โดยที่ไม่ใช้นายแพทย์ เนื่องจาก ความห่างไกลของระยะทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้นในการกู้ชีพ เช่น การห้ามเลือดด้วยการบีบเส้นเลือดใหญ่Clamping , การให้น้ำเกลือ , การลดความกดดันในช่องอก Decompression and Drainage of chest , การทำช่องหายใจฉุกเฉิน Emergency Airway Procedures ) ซึ่ง นายแพทย์หลายคนว่า มันอันตราย หากทำไม่ถูกต้อง ควร.ซึ่ง ในสถานการณ์ภัยพิบัติบางครั้ง หมอคงไปไม่ถึงที่เหล่านั้น หรือ นานเกินที่จะรอ
  6. การนำส่งพื้นที่รองรับ หรือพื้นที่ รักษาพยาบาล (Transportation) เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ที่อันตราย ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อการรักษาขั้นสูงต่อไป เช่น การนำออกจากพื้นที่ป่าภูเขามายัง สนาม ฮ.ที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งต่อไปยัง รพ.มีขีดความสามารถเพียงพอในการรักษา เช่น การเคลื่อนย้าย ไปยังพื้นที่ รองรับ ( สถานพยาบาล ) ซึ่งการทำงานโดยทั่วไปก็จะใช้เทคนิคเดี่ยวกับการเข้าถึงพื้นที่

การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การค้นหาช่วยเหลืออากาศยาน แต่เดิม มากจากภารกิจทางทหารที่ต้อง ช่วยเหลือ นักบินทหารที่ถูกยิงตกหรืออากาศยานตกในสมรถภูมิ การปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต ได้มีการบันทึกไว้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยในปี ค.ศ. 1870 ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ใช้บัลลูนรับทหารบาดเจ็บ จำนวนรวม 160 คนออกจากสนามรบเมื่อกองทัพของบิสมาร์คทำการปิดล้อมกรุงปารีส ในสงครามฟรังโก้ – ปรัสเซียน ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 ประเทศฝรั่งเศสได้สร้างประวัติศาสตร์ของการค้นหา และช่วยชีวิตทางอากาศขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องบินเป็นโรงพยาบาลลอยฟ้ารับผู้ป่วยจากประเทศเซอร์เบีย กลับประเทศ

ในปี ค.ศ. 1918 กองทัพบกของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มทำการดัดแปลงเครื่องบินรบมาเป็นโรงพยาบาลในอากาศ และในปี ค.ศ. 1938 ซึ่งเป็นต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงของสงครามชิงเกาะอังกฤษนั้นเยอรมันก็ได้ใช้เครื่องบินแบบโฮน์เคล 5 ซึ่งเป็นเครื่องบินทะเลติดเครื่องหมายกาชาดสีแดง ออกทำการช่วยเหลือนักบินของตนที่ถูกยิงตกในช่องแคบอังกฤษโดยใช้ทั้งแพยางและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ในปี

ค.ศ. 1940 ฝ่ายเยอรมันได้พัฒนาการช่วยชีวิตนักบินฝ่ายตน โดยการวางทุ่นลอยขนาดใหญ่ทาสีเหลืองสด และมีกาชาดสีแดง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในบริเวณช่องแคบอังกฤษ ซึ่งในทุ่นลอยนี้มีทั้งอาหารและน้ำดื่ม และอุปกรณ์ในการดำรงชีพอื่น ๆ อีกหลายชนิดเพียงพอสำหรับคน 4 คน ในปี ค.ศ. 1941 จำนวผู้ปฏิบัติงานในอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรถูกยิงตกทวีจำนวนมากขึ้นจนน่าวิตก จำเป็นต้องพัฒนาการค้นหา และช่วยชีวิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อังกฤษจึงได้จัดตั้งโครงสร้างของหน่วยซึ่งมีระบบในการค้นหาและช่วยชีวิตที่การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นทำให้สามารถรักษาชีวิตนักบินของฝ่ายตนได้เพิ่มมากขึ้น จากผลของความสำเร็จดังกล่าว ใน ค.ศ. 1942 อังกฤษและสหรัฐอเมริกาจึงได้ร่วมมือกันเป็นครั้งแรกใน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานในอากาศให้รู้จักวิธีการค้นหาและช่วยชีวิตตลอดจนเทคนิคต่างๆ ในการดำรงชีวิต โดยการนำแนวความคิดของฝ่ายเยอรมันมาใช้ทำให้โฉมหน้าของการค้นหา และช่วยชีวิตเปลี่ยนไป อย่างสิ้นเชิงดังเห็นได้จากในปี ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถทำการช่วยเหลือนักบินและเจ้าหน้าที่ ประจำเครื่องบินทิ้งระเบิดของตนได้ถึง 28 - 43 เปอร์เซ็นต์ และนักบินขับไล่ของกอง u3607 กองทัพอากาศอีก 3 เปอร์เซ็นต์ ในที่สุดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาก็ได้จัดตั้งระบบการค้นหา และช่วยชีวิตทางอากาศขึ้นมาอย่างจริงจัง ทำให้ระบบนี้มีความก้าวหน้าทางเทคนิคเพิ่มขึ้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

การใช้เฮลิคอปเตอร์ในภารกิจการช่วยชีวิตทางทหารเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสงครามเกาหลีโดยสหรัฐอเมริกาใช้เฮลิคอปเตอร์แบบเอช-5 ร่วมกับเครื่องบินแบบ ซี-47 และเครื่องบินแบบแอล-5 ทำการช่วยเหลือทหารของฝ่ายสหประชาชาติไปส่งยังพื้นที่ปลอดภัยได้ จำนวนทั้งสิ้น 8,690 คน ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานด้วยเฮลิคอปเตอร์ถึง 8,218 คน และ 86 คน จากจำนวนดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือออกมาหลังแนวรบของข้าศึก ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนาม กองบินค้นหาและช่วยชีวิตของสหรัฐอเมริกาสามารถช่วยชีวิตผู้ ทำงานในอากาศที่ถูกยิงตกในดินแดนของเวียดนามเหนือได้ถึงหนึ่งในสามของจำนวนทั้งหมด แม้ว่าจะมีการต่อต้านอย่างรุนแรงก็ตาม เมื่อรวมถึงบริเวณอื่น ๆ ก็สามารถช่วยชีวิตได้มากกว่าครึ่ง ซึ่งครั้งนี้เป็นการ ปฏิบัติงานของเฮลิคอปเตอร์แทบทั้งสิ้น

การค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศไทย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศไทย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 เมื่อ ได้รับโอนฮ.-1 (เอช – 51) มาจากกรมการบินพลเรือนโดยจัดเป็นภารกิจหนึ่งของกองบิน 6 ฝูง 63 ขณะนั้น และต่อมาเมื่อก่อตั้งกองบิน 3 ขึ้น ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ คือ ฝูงบิน 31 และ 32 ก็ได้รับมอบภารกิจนี้ต่อมาจนกระทั่งเมื่อกองบิน 3 ถูกยุบ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์จึงมาขึ้นตรงกับกองบิน 2 ซึ่งใช้ชื่อฝูงบิน 201 และ ฝูงบิน 203 ตามลำดับ และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในการค้นหาและช่วยชีวิตเป็นภารกิจหลักตลอดมา

สถานการณ์ในอดีตที่มีนักบินที่ประสบภัย ในสมรภูมิเขาค้อ คือ เรืออากาศเอกชวลิต ขยันกิจ และเรืออากาศโทพงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ เป็นนักบิน ได้เข้าทิ้งระเบิดนาปาล์ม ซึ่งอยู่ในเขตเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ขณะที่ เรืออากาศโท พงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ ซึ่งเป็นหมายเลขสอง ( หมายเลข 1333 เลข ทอ. บข.18-17/17 Sel.No.71-0264 ) เข้าโจมตีถูกฝ่ายตรงข้ามยิงอาวุธไม่ทราบชนิด ในระยะสูงประมาณ 1,000 ฟุต โดยเครื่องบินได้ทำการเลี้ยวซ้ายมุดลงระเบิดในกลางป่าห่างจากเป้าหมายประมาณ 2 กม. ซึ่งจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศที่เครื่องบินตรวจการณ์แบบโอวัน ได้ถ่ายภาพมาพบว่าเครื่องบินไฟไหม้ตกลงในหุบเขา เขตบ้านภูชัย เขาค้อ ห่างจากแม่น้ำเข็กราว 1 กม. และมีลักษณะคล้ายนักบินดีดตัวออกจากเครื่อง การช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิตจึงเริ่มขึ้น ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินได้ถูกปฏิบัติทันที ในขณะนั้น พลตรียุทธศิลป์ เกสรศุกร์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธการ กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของนักบินผู้ที่ถูกยิงตก ได้มาร่วมปฏิบัติการค้นหาในครั้งนี้ด้วย การค้นหา และช่วยเหลือมีการส่งเครื่องบินและทหารจำนวนมากเข้าไปค้นหาตามพิกัดที่ได้จากการแปลความภาพถ่ายทางอากาศ โดยการช่วยเหลือ ใช้ กำลังเดินเท้าของ ทหาร ตำรวจจำนวนมาก

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย โดยมีกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นผู้รับผิดชอบหลักโดยใช้ทรัพยากรอันได้แก่อากาศยาน/เรือ จากหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วย ค้นหาและระวังภัย ร่วมกัน

ขั้นตอนโดยทั้วไปจะเริ่มจาก ศูนย์ความคุมการจราจราทางอากาศ รายงานเมื่อเกิดสถานการณ์ที่อากาศยานยานมีแนวโน้มจะประสบภัย โดยรายงานมายัง ศูนย์ประสานงานการค้นหาช่วยเหลือ กรมขนส่งทางอากาศ และ ศูนย์ประสานงานการค้นหาช่วยเหลือ จะแจ้งไปยัง หน่วยในระบบค้นหา ซึ่งก็คือ เหล่าทัพต่าง , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, หน่วยบินเกษตร , หรือ แม้กระทั่ง กรมการปกครอง ในส่วนของจังหวัด โดยจะมีการตั้ง ศูนย์ประสานงานการค้นหาฯ หรือ บก.เหตุการณ์นั่นเอง

การจัดกำลังในการค้นหาและช่วยเหลือ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ส่วนควบคุม ( บก.)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โดยปกติ หลังจากที่ ทราบว่ามีอากาศยานหายไปจากจอเรดาห์ หรือมีสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าอากาศยานตก ศูนย์ควบคุมการจรจรทางอากาศจะแจ้ง มายัง ศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือแห่งชาติ ( Search and Rescue Coordination Center : SARCC) จะมีการแจ้งเตือนหน่วยในระบบการค้นหา โดยจะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ (OSC : On Scene Commander ) ในที่นี้จะมีการ ประสานการใช้ หน่วยต่าง การรวบรวมข่าวสารเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยมี OSC หรือ ผู้บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ จะต้องเป็นผู้ควบคุมประสานงาน ตั้งแต่การ จัดตั้ง บก.เหตุการณ์ การวางแผน , การควบคุมอำนวยการ แก้ปัญหาระหว่างการค้นหา ,การติดตามสถานการณ์ ,การแถลงข่าวและให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนและญาติ,การบันทึกการปฏิบัติแต่ละวัน สรุปผลการค้นหาว่ามีข้อดีข้อบกพร้องอะไรที่ต้องแก้ไข , การประสานงานด้านการติดต่อสื่อสารของหน่วยที่มาร่วมค้นหา

ในส่วนนี้ดูเหมือนเป็นงานง่าย ชี้นิ้วสั่ง แต่แท้จริงแล้วเป็นงานเริ่มต้นที่ยากที่สุดที่จะทำให้สมบูรณ์และถูกใจทุกฝ่าย หากเริ่มต้นไม่ดีข้อมูลไม่ครบ สั่งการแบบไร้ทิศทาง ก็จะส่งผลถึงประสิทธิภาพการค้นหา ยกตัวอย่าง เช่น “ อากาศยานหายไปจากจอเรดาห์ที่พิกัดLat 06° 02´ 54´´Long 101° 38´ 10´´ เมื่อ ส่วนวางแผน ให้ข้อมูลเพียงแค่ อากาศยานหายไปที่พิกัด นี้ โดยไม่ได้พิจารณา ปัจจัยอื่นๆประกอบ เช่นความสูง ความเร็ว, ทิศทาง สภาพความเร็วลมภูมิอากาศบริเวนนั้น อาจจะทำให้ชุดค้นหาเข้าใจผิดว่า อากาศยานตกบริเวณพิกัดนั้น ซึ่งแท้จริงแล้ว การหายไปไม่ได้หมายความถึงเครื่องตกบริเวณนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ พิกัด ภูมิศาสตร์ ยังไม่สะดวกในใช้การเดินในภูมิประเทศ เท่า ระบบพิกัด ทางทหาร ”

การที่ส่วนควบคุม ผบ.เหตุการณ์เข้าพื้นที่โดยไม่ได้เตรียมเรื่องเครื่องมือสื่อสาร ที่พักชั่วคราว และที่สำคัญที่สุด แผนที่มาตราส่วนที่ใช้กับการค้นหาทางพื้นดิน ซึ่ง ส่วนควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบิน นั้นมักจะไม่คุ้นเคยและเชื่อว่าไม่จำเป็น โดยลืมไปว่าหากเครื่องบินตก เครื่องต้องตกลงสูงพื้นโลก ซึ่งต้องใช้แผนที่มาตรส่วนใหญ่ เช่น มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐ ในการใช้แผนที่ทางอากาศมาอธิบายกับหน่วยที่เดินเท้าทางพื้นดิน ย่อมใช้เวลานานในการทำความเข้าใจมากกว่า และยากในการแบ่งพื้นที่การค้นหาทางพื้นดิน

ส่วนค้นหาและช่วยเหลือ Rescue Team (ResTm)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือ ส่วนที่มีเครื่องมือ ทรัพยากรในการค้นหา ช่วยเหลือ ส่วนมาก ก็มักจะนึกถึงการใช้อากาศยานในการค้นหา และ ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือในการค้นหามีทั้ง ทางบก ทางน้ำ รวมอยู่ด้วย ซึ่งในวงการการบิน มักจะลืม ส่วนทางบกไปสนิทในการฝึกการค้นหา ซึ่งจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น เรามี กำลังคนที่พร้อมอยากจะช่วยจำนวนมาก เช่น มูลนิธิต่างๆ ซึ่งท่านผู้เสียสละเหล่านั้น มักจะคุ้นเคยกับการช่วยเหลือภัยบนท้องถนนที่ราบเรียบ แต่เมื่อ ต้องเผชิญสถานการการค้นหา แล้ว จะต้องใช้ทักษะการเป็นนักกู้ภัยที่มีมาตรฐาน เช่น ความพร้อมของทักษะส่วนบุคคล ที่จำเป็น การอ่านแผนที่การใช้เข็มทิศ , การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในพื้นที่ลาดชัน , เครื่องมือที่จำเป็นก็ไม่พร้อมเช่น เข็มทิศ,แผนที่ , การเตรียมการส่วนบุคคล เช่น การแต่งกายที่เหมาะสมสำหรับการเดินป่า,รองเท้า,เสบียงสำหรับการค้นหาที่ต้องใช้เวลามากกว่า๖ชม.เป็นต้น

ส่วนสนับสนุน เป็นส่วนที่รับผิดชอบการจัดพื้นที่สนับสนุน Mission support site (MSS)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จัดตั้งมาเพื่อสนับสนันกำลังในการช่วยเหลือ เช่น จัดสรรพื้นที่ในการวางอุปกรณ์,เครื่องมือ,การจัดพื้นที่จอดรถ , ส่วนงบประมาณ,ส่วนจัดอาหารสำหรับส่วนปฏิบัติการ ,จนท.ประจำรถแสงสว่าง , จนท.ควบคุมการเติมน้ำมัน ,ส่วนพัสดุ ทั้งนี้แล้วแต่ สถานการณ์ว่าจะต้องสนับสนุนเรื่องใดบ้างซึ่งก็ไม่หนีเรื่องความต้องการพื้นฐานและวัสดุสิ้นเปลืองในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรคำนึงถึง ระบบงบประมาณ ที่จะต้องมีการเบิกจากด้วย ระเบียบที่ซับซ้อนของทางราชการ ซึ่ง การดำเนินการควรจะมีเจ้าหน้าที่ที่เชียวชาญด้านงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ของทุกส่วนโดยเฉพาะส่วนราชการ

ส่วนจัดพื้นที่ปลอดภัยรองรับ (Safe Area: SA)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นส่วนที่ กำหนดขึ้นเพื่อ รองรับผู้บาดเจ็บ, ทรัพยสิน ,ร่างผู้เสียชีวิต(ควรจะแยกออกจากพื้นที่ที่รับผู้บาดเจ็บหรือไม่ให้มองเห็น) ซึ่ง ส่วนดังกล่าวจะต้องประสานข้อมูล ผู้ประสบภัยขั้นต้นกับ หน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ( Emergency Medical Service: EMS) เพื่อเตรียมการรักษาพยาบาล ตั้งแต่ยังไม่พบผู้ประสบภัย , ประสานเตรียมรับผู้บาดเจ็บเมื่อชุดค้นหาพบผู้ประสบภัย , โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่รองรับขั้นต้นและพื้นที่ปลายทาง โดย พื้นที่รองรับขั้นต้น มักจะอยู่ใกล้ บก.เหตุการณ์ เพื่อเตรียมการนำส่ง รพ.ที่มีขีดความสามารถสูงต่อไป พื้นที่ปลายทาง มักจะใช้พื้นที่ รพ. ซึ่งหาก อากาศยานที่ตกเป็นอากาศยานโดยสาร ก็อาจะต้องมีกาประสานการส่งผู้ป่วย ตามอาการ ความเหมาะสมของสถานพยาบาลนั้นต่อไป ซึ่ง ส่วนนี้ ควรจะมี จนท.ตร. , จนท.พยาบาลฉุกเฉิน คอยดูแล ร่วมกับส่วนประชาสัมพันธ์เพื่อประสาน กับญาติผู้บาดเจ็บในการรับทราบการมาถึงของ ผู้ประสบภัย