การพูด

จาก วิกิตำรา

การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังกล่าวคือ เมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟัง จึงจะเกิดความสมบูรณ์ จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้          สวนิต ยมาภัย (2525) ได้ให้ความหมายของการพูดไว้ว่า "การพูด คือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และอากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูด ให้ผู้ฟังรับรู้ และเกิดการตอบสนอง"          จากความหมายดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า การพูดเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ เข้าใจ โดยอาศัย การฝึกฝน มิใช่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นเพียงผู้ให้อวัยวะที่ใช้สำหรับออกเสียงมาเท่านั้น คนเราถ้าอวัยวะที่ใช้สำหรับออกเสียงไม่บกพร่อง ก็สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ที่จะเปล่งเสียงออกมาให้เป็นภาษาที่สื่อสารกันเข้าใจในหมู่ชนด้วยกันนั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ คือเรียนรู้ถึงภาษาที่ใช้พูดจากันในหมู่เหล่า และอาศัยการฝึกฝน เพื่อให้พูดได้ดี บรรลุจุดมุ่งหมายของการพูดและใช้การพูดเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้          สรุปแล้ว การพูดก็คือพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ โดยอาศัยภาษา ถ้อยคำ น้ำเสียง ตลอดจนกิริยาท่าทาง และอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนแก่ผู้อื่น ให้เกิดผลตอบสนองตามที่ต้องการ

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]