ข้ามไปเนื้อหา

การออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใช้ภาษาไทย

จาก วิกิตำรา

บทความ การออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใช้ภาษาไทย เป็นบทความที่กล่าวถึง การออกเสียงตามหลักโดยอ้างอิงตามเสียงภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English) เป็นส่วนใหญ่ บทความนี้ไม่ได้ใช้หลักการเขียนอ้างอิงตาม ราชบัณฑิตยสถาน เนื่องจากต้องการเน้นถึงการออกเสียงมากกว่า การเขียนคำทับศัพท์ สำหรับการออกเสียงอย่างละเอียด และสมบูรณ์ให้ดูที่ สัทอักษรสากล (IPA)

บทความนี้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ช่วยแนะนำสำหรับการเริ่มต้นการออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างง่าย เสียงคำศัพท์ต่างๆ สามารถฟังได้ที่เว็บไซต์พจนานุกรมทั่วไป เช่น พจนานุกรมภาษาอังกฤษของ ไมโครซอฟท์ หรือ พจนานุกรมภาษาอังกฤษของ Webster

เสียงพยัญชนะและเสียงสระ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงแทรก Y (invisible Y)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงแทรก Y เป็นเสียงหลักที่ภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันแตกต่างกับภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ สำหรับตัวอักษร D, N, S, T, X

คำที่ออกเสียง อู หลายคำจะมีเสียง Y แทรกในขณะที่ออกเสียง เช่น

  • university -- อ่านว่า /ยูนิเวอร์ซิตี้/ ไม่อ่านว่า อูนิเวอร์ซิตี้
  • value -- valyue อ่านว่า /แวล ยู/ หรือควบเป็น /แวลิว/ ฟัง เสียงคำว่า Value
  • vacuum -- vacyuum /แวค คยูม/
  • hue -- hyue /ฮิว/
  • cute -- cyute /คิวท์/

แต่จะมีตัวยกเว้น ตัว J

  • jewelry -- จูว์ล์รี่
  • jew -- (คนชาวยิว) อ่านว่า ยู /joo/ ไม่ใช่ /jyoo/ ยิว

แล้วตัวยกเว้นอีก คือ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษแบบอังกฤษหรือแบบบริเตน (Br: British English) จะมีเสียงแทรก Y แต่ถ้าอังกฤษอเมริกัน (Am) จะไม่มีเสียงแทรก Y ในคำที่ขึ้นต้นด้วย D, N, S, T, X

เสียงแทรก E (hidden E)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในภาษาอังกฤษ คำที่ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว ซึ่งตัวที่สองเป็นตัวอักษร E จะอ่านออกเสียงเหมือนมีการแทรกตัวอักษร E เข้าไปข้างหลังอีก 1 ตัว เช่น

  • be - อ่านว่า บี เหมือน /bee/
  • me - อ่านว่า มี เหมือน /mee/

คำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ที่ออกเสียง เอะ ในอเมริกาจะอ่านออกเสียง อี ซึ่งอ่านไม่ถูกต้อง เช่น

  • karaoke - คนอเมริกันจะอ่านเป็น คาราโอคี เหมือน karaokee ซึ่งต้องอ่านเป็น คาราโอเกะ
  • sake - คนอเมริกันจะอ่านเป็น ซาคี เหมือน sakee ซึ่งต้องอ่านเป็น สาเก
  • pokemon - คนอเมริกันจะอ่านเป็น โปกีมอน เหมือน pokeemon ซึ่งต้องอ่านเป็น โปเกมอน

เสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงพยัญชนะที่คนไทยออกเสียงได้ยาก คือ CH, G, L, R, S, SH, TH, V, W, X, และ Z

เสียงพยัญชนะส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่มีการเรียนการสอน โดยเสียงบางคำจะมีการดัดแปลงให้ง่ายต่อการออกเสียง หรืออาจจะมีการอ่านตามภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ เสียงพยัญชนะทั้งหมดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้

  • B -- บ ใบไม้ เช่น boy บอย
  • C -- เป็นได้ทั้ง ซ โซ่ ค ควาย และ ก ไก่ โดยส่วนมากจะออกเสียงดังนี้
    • --CA, CO, CU -- ค ควาย เช่น car คาร์, come คัม, cute คิ้วท์
    • --CE, CI, CY -- ซ โซ่ เช่น cell เซลล์, city ซิตี้, cylinder ไซลินเดอร์
    • --SC -- ก ไก่ เช่น scar สการ์, screen สกรีน, scuba สกูบา
    • อย่างไรก็ตาม มีหลายคำที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด
  • D -- ด เด็ก เช่น dog ด็อก
  • F -- ฟ ฟัน เช่น fun ฟัน
  • G -- ไม่มีเสียงในภาษาไทย เป็นเสียงควบของ ก ไก่ กับ ง งู หรือเสียงควบของ จ จาน กับ ย ยักษ์
    • -- GA, GE, GO, GU - ออกเสียง ก-ง เช่น gas แก๊ส, get เก็ท, golf กอล์ฟ, gun กัน
    • -- GI - ออกเสียง จ-ย เช่น gigantic ไจแกนติค ยกเว้น gigabyte กิกะไบต์
  • H -- อ่านว่า เอช (ในอังกฤษอเมริกัน) ออกเสียงเหมือน ห หีบ และ ฮ นกฮูก เช่น hello เฮลโล
  • J -- จ จาน เช่น jet เจ็ท
  • K -- ออกเสียงได้ทั้งแบบ ค ควาย ก ไก่ และเสียงเงียบ
    • เสียงต้น -- ค ควาย เช่น kilogram คิโลแกรม
    • SK -- ก ไก่ เช่น sky สกาย, ski สกี
    • KN -- เสียงเงียบ (ไม่ออกเสียง) เช่น knee นี, knock น็อค, know โนว์
  • L -- คล้ายกับ ล ลิง สำหรับเสียงต้น และคล้ายกับเสียง น หนู-ว แหวน สำหรับเสียงสะกด (เขียนแทนด้วยตัว ล ลิง)
    • เสียงต้น เช่น lance แลนซ์, look ลุก
    • เสียงสะกด เช่น mill มิลล์ (เรียกว่า dark L), oil โออิล
      • โดยเสียงของตัวอักษร L (เช่น oil, nil) ออกเสียงโดยการลากปลายลิ้นไปแตะที่ปลายฟันเหมือนออกเสียง th
      • การออกเสียงของ LL (เช่น will, full) ออกเสียงโดยการลากปลายลิ้นไปแตะที่ปลายฟันเหมือนออกเสียง th และลากโคนลิ้นไปแตะเพดานอ่อนพร้อมๆ กัน (เสียงจะคล้ายๆ ง-ว)
  • M -- ม ม้า เช่น money มั้นนี่
  • N -- น หนู เช่น no โน
  • P -- พ พาน หรือ ป ปลา
    • เสียงต้น -- พ พาน เช่น pest เพสท์, Peter อังกฤษ พีเทอ อเมริกัน พีเทอร์
    • SP -- ป ปลา เช่น span สแปน, spark อังกฤษ สปาค อเมริกัน สปาร์ค, sport อังกฤษ สปอต อเมริกัน สปอร์ต
  • Q -- ค ควาย หรือ ก ไก่
    • QU -- ค ควาย ควบ ว แหวน เช่น queen ควีน
    • SQU -- ก ไก่ ควบ ว แหวน เช่น squid สกวิด, square อังกฤษ สแกว อเมริกัน สแกวร์
  • R -- คล้ายกับ ร เรือ สำหรับเสียงต้น และคล้ายเสียง เออร์ สำหรับเสียงท้าย
    • เสียงต้น เช่น row โรว์
    • เสียงกลางประโยค เช่น born อังกฤษ บอน อเมริกัน บอร์น
    • เสียงท้าย เช่น fire อังกฤษ ไฟเออ อเมริกัน ไฟเออร์ เสียง R
      • เสียงของตัวอักษร R ออกเสียงโดยการลากลิ้นไปแตะที่เพดานปากด้านบนส่วนหลัง เหมือนคำว่า fire อ่านว่า ไฟ แล้วลากลิ้นไปแตะที่เพดานปาก เสียง เออร์ จะออกมาคล้ายกับเสียง ไฟเออร์
  • S -- เสียงต้น ออกเสียง ส เสือ ถ้าเป็นเสียงลงท้ายออกเหมือนเสียง ซือ ให้เสียงเหมือนลมผ่านช่องกระจก โดยพูดให้เพียงแค่ลมออกจากปาก และลำคอไม่สั่น (เป็นเสียงแบบ voiceless)
    • เสียงต้น S -- sock ซ้อกค์
    • เสียงท้าย S -- case เคส
  • T -- ท ทหาร หรือ ต เต่า
    • เสียงต้น -- ท ทหาร เช่น tank แทงก์
    • ST -- ต เต่า เช่น street สตรีท, star อังกฤษ สตา อเมริกัน สตาร์
  • V -- เสียงเหมือน ฝ ฝา-ว แหวน โดยเป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับ V F และ B พูดโดยการกัดริมฝีปากก่อนออกเสียง ว แหวน เช่น van แฝวน
  • W (ดับเบิ้ล ยู แต่พูดเร็วเร็ว ก็กลายเป็น ดับ-บ-ลิว) -- เสียงเหมือน ว แหวน แต่มีเสียงก้องในปาก พูดโดยการทำปากจู๋ก่อนแล้วตามด้วยออกเสียง ว แหวน เช่น wow วาว
  • X -- เสียงต้นเป็นเสียง ส เสือ และ ซ โซ่ เสียงท้ายเหมือน ค ควาย รวมกับเสียง เอส
    • เสียงต้น -- xylem ไซเล็ม
    • เสียงท้าย -- box บ็อกซือ
  • Y -- ย ยักษ์ เช่น young ยัง, you ยู
  • Z -- (อ่านว่า ซี ในอังกฤษอเมริกัน หรือที่อ่านกันว่า เซท ในอังกฤษสำเนียงอื่น - แต่คนไทยออกเสียงว่า แซด) เสียงเหมือน ส เสือ และ ซ โซ่ เช่น zebra ซี-บร่า
    • เสียงอักษร Z ต่างกับตัวอักษร C ตรงที่เวลาพูดจะมีการสั่นของเสียง (voice sound) โดยเมื่อเอามือจับที่ใต้ฟันล่าง แล้วออกเสียงจะมีการสั่นของลำคอ เหมือนกับการออกเสียง บ ใบไม้ กับ พ พาน หรือเสียง ด เด็ก กับ ท ทหาร (z, บ ใบไม้, พ พาน เป็นเสียงสั่น)
  • CH -- ออกเสียงได้ 3 แบบ ได้แก่ /CH/, /SH/ สำหรับคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส เช่น champagne, Chicago และเสียง /K/ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ การศึกษา ดนตรี ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษากรีก เช่น chaos, stomach, architecture
    • /CH/ -- เสียง ช ช้าง เหมือนเสียง ท ทหาร ตามด้วยเสียง ช ช้าง พูดโดยการเอาลิ้นแตะโคนฟัน แล้วออกเสียง เฉอะ
    • /SH/ -- เสียง ช ช้างปกติ
      • คำที่เสียงแตกต่างกัน ในขณะที่เสียงไทยใกล้เคียงกัน เช่น ship chip, sheep cheap, shop chop ทดสอบที่โปรแกรมทดสอบแม่แบบ:Fn
    • /K/ -- เสียง ค ควาย ก็ได้ ถ้ามาจากภาษากรีก เป็นความหมายทางประวัติศาสตร์ ดนตรี การแพทย์ การศึกษา ฯลฯ เช่น
      • chaos เคออส, stomachache สโตมัคเอค, chorus คอรัส
  • TH -- เสียงนี้ ไม่มีในภาษาไทย แต่ใกล้เคียงกับ /ด/ /ต/ /ส/ (เชื่อมั้ยละว่ามันใกล้กับ ส) เวลาออกเสียงเริ่มแรกกัดลิ้นเบาเบา แล้วพูด เช่น * THAT หรือว่า BATH พูดแล้วตอนจบกัดลิ้น THANK YOU กัดลิ้นแล้วพูดดู ไม่ใช่ แต้งกิ้ว แต่มันจะเป็นเสียง ผสม /ต//ซ/

เสียงสระในภาษาอังกฤษ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สระในภาษาอังกฤษประกอบด้วยตัวอักษร A E I O U แต่ในการใช้สระจะมีการใช้ผสมกันดังต่อไปนี้

  • ee -- เสียงอี เช่น feed ฟีด
  • i -- เสียงอิ เช่น fin ฟิน
  • i -- เสียงไอ เช่น bi ไบ (ถ้าไม่มีตัวอะไรต่อท้าย ส่วนมากจะเป็นไอ) แต่บางทีก็ไม่ใช่
  • a_e -- เสียง เอ เช่น fade เฟด
  • e -- เสียง เอะ เช่น fed เฟ็ด
  • a -- เสียง a จะเป็นเสียงกึ่งระหว่าง แอะ กับ อะ เช่น fad วิธีออกเสียงให้อ้าปากกว้างสุด แล้วออกเสียงเป็นเสียงระหว่างเสียง แฟด กับ ฟัด
  • u -- เสียง เออะ เช่น cup เคอะ-พ
  • o -- คล้ายเสียง เอาะ แต่อ้าปากกว้าง cop คอพ
  • oo -- เสียง อู เช่น boot บูท
  • ull -- เสียงที่อยู่ระหว่างสระ อุ กับสระ อู เช่น bull บูลล์
  • o_e -- เสียง โอ เช่น bone โบน
  • i_e -- เสียง ไอ เช่น fine ไฟน์
  • oi -- เสียง ออย เช่น coin คอยน์
  • ou -- เสียง อาว เช่น round ราวนด์

นอกจากนี้ สระที่อ่านออกเสียงแปลกไปจากสระทั่วไปเนื่องจากมาจากภาษาอังกฤษเดิมหรือภาษาอื่น เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ เช่น

  • come -- อ่านเหมือน cum คัม เป็นภาษาอังกฤษเดิม ที่มาจากคำว่า cume
  • dove -- อ่านว่า ดัฟ มาจาก duv สำหรับคำที่เป็นอดีตของ dive (dove) อ่านว่า โดฟ
  • entrée -- อ่านว่า อองเทร หรือ ออนเทร อาหารมื้อหลัก มาจากภาษาฝรั่งเศส
  • hors d'oeuvre -- อ่านว่า ออร์เดิร์ฟ

คำที่มาจากภาษาอื่น ในปัจจุบันคนอเมริกันทั่วไปยังมีการใช้ผิดกันเกิดขึ้น

อักษรเงียบ (silent letters)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำในภาษาอังกฤษมากกว่า 60% มีตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง หรือ อักษรเงียบ (อังกฤษ: Silent Letters) ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของตัวอักษรในคำต่างๆ ที่ไม่ต้องออกเสียง

  • A
    • ea- เช่น treadle (เทร็ดเดิล) bread (เบร็ด) thread (เธร็ด)
    • คำที่ลงท้ายด้วย -cally ทั้งหลาย (ซึ่ง al จะไม่ออกเสียง) เช่น technically (เทค-นิค-ลี) logically (ลอ-จิค-ลี) politically (โพ-ลิ-ติค-ลี)
  • B
    • -mb เช่น lamb (แลม) bomb/bomber (บอม/บอมเมอร์) comb (คม) numb (นัม) thumb (ธัม) tomb (ทูม) plumb/plumber พลัม/พลัมเมอร์
    • -bt เช่น debt (เด็ท) doubt (เดาท์) subtle (ซัทเทิล)
  • C
    • sc- เช่น scissors (อังกฤษ ซิสเซอส์ อเมริกัน ซิสเซอร์ส) science (ไซแอนซ์) scent (เซนท์) muscle (มัสเซิล)
    • คำอื่นๆ เช่น acquit (อะควิท) acquire (อังกฤษ อะไควเออะ อเมริกัน อะไควร์) czar (อังกฤษ ซา อเมริกัน ซาร์) yacht (ย็อท/ย้าท) victual (วิทัล) indict/indictable (อินไดท์/อินไดเทเบิล) Tucson (ทูซอน) Connecticut (คอนเนทิคัท)
  • D
    • -dg- เช่น edge (เอ็จ) bridge (บริจ) ledge (เล็จ)
    • -nd- เช่น handkerchief (อังกฤษ แฮงเคอชิฟ อเมริกัน แฮงเคอร์ชิฟ) handsome (แฮนซัม) landscape (แลนสเกป) sandwich (แซนวิช) Windsor (อังกฤษ วินเซอ อเมริกัน วินเซอร์) รวมทั้ง grand (แกรน) ต่างๆ ที่เป็นปู่ย่าตายาย เช่น grandma/grandmother grandpa/grandfather grandson/granddaughter และ Wednesday (เวนสเดย์ ตัว e ก็เงียบด้วย)
  • E
    • ส่วนใหญ่ที่อยู่ท้ายตัวสะกดจะไม่ออกเสียง เช่น fame (เฟม) serve (อังกฤษ เซิฟ อเมริกัน เซิร์ฟ) rite (ไรท์) more (อังกฤษ มอ อเมริกัน มอร์) clue (คลู) vogue (โว้ก) corpse (อังกฤษ คอพส์ อเมริกัน คอรพส์)
    • คำกริยาหลายๆ คำที่ลงท้ายด้วย -en พอเติม -ing หรือ -er ตัว e (และตัว n) ก็จะไม่ออกเสียง เช่น fastening/fastener (ฟาสนิง/อังกฤษ ฟาสเนอ อเมริกัน ฟาสเนอร์) whitening/whitener (ไวท์นิง/อังกฤษ ไวท์เนอ อเมริกัน ไวท์เนอร์) softening/softener (ซอฟนิง/อังกฤษ ซอฟเนอ อเมริกัน ซอฟเนอร์)
  • F -- halfpenny (เฮพนี)
  • G
    • -gn เช่น align (อะไลน์) design (ดีไซน์) gnash (แนช) reign (เรน) champagne (แชมเพน) resign (รีไซน์ แต่ออกเสียงตัว g ใน resignation เรสิกเนชัน)
    • -gh (ซึ่งจะไม่ออกเสียงทั้ง g และ h) เช่น light (ไลท์) high (ไฮ) eight (เอท) straight (สเตรท)
    • คำอื่นๆ เช่น diaphragm (ไดอะแฟรม)
  • H
    • wh- เช่น what (ว็อท) where (อังกฤษ แว อเมริกัน แวร์) when (เว็น) whisper (อังกฤษ วิสเพอ อเมริกัน วิสเพอร์) whistle (วิสเซิล)
    • xh- เช่น exhaust (เอ็กซอสต์) exhibition (เอ็กซิบิชัน) exhibit (เอ็กซิบิท)
    • h นำหน้าสระ honor/honour (อังกฤษ ออเนอ อเมริกัน ออเนอร์) honest (ออเนสต์) hour (อังกฤษ อาวเวอะ อเมริกัน อาวเวอร์) heir (อังกฤษ แอ อเมริกัน เอร์)
    • คำอื่นๆ เช่น ghost (โกสต์) khaki (กากี) rhyme (ไรม์) school (สกูล) Thames (เทมส์) Pooh (พู)
  • I -- business (บิสเนส)
  • J -- ไม่มี
  • K -- kn- เช่น knee (นี) know (โนว์) knight (ไนท์) knowledge (นอเล็จ)
  • L
    • -al- เช่น talk (ทอค) walk (วอค) chalk (ชอค) calf (คาฟ) half (ฮาฟ) psalm (ซาม) calm (คาม) salmon (แซมอน) almond (อามอนด์ หรืออัลมอนด์)
    • -ol- เช่น folk (โฟค) yolk (โยค)
    • could/should/would (คู้ด/ชู้ด/วู้ด)
  • M -- mnemonic (นีโมนิค) grammar (อังกฤษ แกรมา อเมริกัน แกรมาร์ ออกเสียงตัว m แค่ตัวเดียว)
  • N
    • -mn เช่น autumn (ออทัม) condemn (คอนเด็ม) damn (แดม) hymn (ฮิม) column (คอลัม แต่ออกเสียงตัว n ใน columnist คอลัมนิสต์)
    • คำอื่นๆ เช่น monsieur (อังกฤษ เมอซเยอะ อเมริกัน เมอซเยอะร์)
  • O -- leopard (อังกฤษ เล็พเพิด อเมริกัน เล็พเพิร์ด) jeopardy (อังกฤษ เจ็พเพอดี อเมริกัน เจ็พเพอร์ดี)
  • P
    • pn- เช่น pneumatic (นิวแมติก) pneumonia (นิวมอเนีย)
    • ps- เช่น psychology (ไซโคโลจี) pseudo (ซูโด) psalm (ซาม) corps (เอกพจน์อังกฤษอ่าน โค อเมริกันอ่าน โคร์ พหูพจน์อังกฤษอ่าน โคส อเมริกันอ่าน โคร์ส)
    • pt- เช่น ptomaine (โทเมน) Ptolemy (โทเลมี) receipt (รีซีท)
    • pb- เช่น cupboard (อังกฤษ คับบอด อเมริกัน คับบอร์ด) clapboard (อังกฤษ คลับบอด อเมริกัน คลับบอร์ด) Campbell (แคมเบล)
    • คำอื่นๆ เช่น coup (คู) raspberry (ราสเบอรี)
  • Q -- ไม่มี
  • R
    • diarrhea (ไดอะเรีย ออกเสียง r ตัวเดียว)
    • ใน British English ตัว r ที่อยู่หน้าพยัญชนะหรือสระตัวอื่น จะเป็นอักษรเงียบ เช่น card (ค้าด) corps (โค) fork (ฟ้อค) grammar (แกรมา) แต่ใน American English จะออกเสียง คาร์ด โคร์ (เอกพจน์) ฟอร์ค แกรมาร์
  • S
    • -sl เช่น isle (ไอล์) island (ไอแลนด์) aisle (ไอล์ เหมือน isle เลย a ตัวแรกก็เงียบด้วย)
    • คำอื่นๆ เช่น Illinois (เอ็ลลินอย) bourgeois (อังกฤษ เบอจัว อเมริกัน เบอร์จัว) viscount (ไวเคานท์) fracas (เฟรคา แต่คำนี้อเมริกันออกเสียงตัว s ด้วย จะออกเป็น เฟรคัส) debris (เดบรี) apropos (อัพโพรโพ)
  • T
    • st- เช่น listen (ลิสซึน) fasten (ฟาสเซน) castle (คาสเซิล) rustle (รัสเซิล) asthma (แอสมา) Christmas (คริสมาส) tsunami (ซูนามิ)
    • -et เช่น ballet (บัลเล) buffet (บัฟเฟหรือบุฟเฟ) gourmet (อังกฤษ กัวเม อเมริกัน กัวร์เม)
    • ft- เช่น soften (ซ็อฟเฟน) often (อ็อฟเฟน แต่คำนี้ออกเสียงตัว t ด้วยก็ได้ อ็อฟเทน)
    • rapport (รัพพอร์)
  • U -- u ที่นำหน้าสระ ไม่ออกเสียง เช่น guard (อังกฤษ กาด อเมริกัน การ์ด) guess (เกส) build (บิลท์) guide (ไกด์) four (อังกฤษ ฟอ อเมริกัน ฟอร์ เหมือน for) tongue (ทังก์) colleague (คอลลีก) cheque (เช็ค)
  • V -- ไม่มี
  • W
    • wr- เช่น write (ไรท์) wrong (รอง) wrist (ริสต์)
    • sw- เช่น sword (อังกฤษ ซอด อเมริกัน ซอร์ด) answer (อังกฤษ อานเซอ อเมริกัน อานเซอร์)
    • wh- เช่น whore (อังกฤษ ฮอ อเมริกัน ฮอร์) whole (โฮล) who (ฮู)
    • rw- เช่น Norwich (นอริช) Warwick (วอริค)
    • คำอื่นๆ เช่น two (ทู) Greenwich (กรีนนิช)
  • X -- faux pas (โฟ พา) Sioux (ซู)
  • Y -- say (เซ) mayor (อังกฤษ แม อเมริกัน เมร์)
  • Z -- rendezvous (รอนเดวู) laissez-faire (อังกฤษ เลเซแฟ อเมริกัน เลเซแฟร์) chez (เชย์)

การเน้นเสียง (stressing)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การเน้นเสียงในภาษาอังกฤษทำได้โดยการทำให้เสียงดังขึ้น หรือทำให้เสียงสูงขึ้น

การเน้นเสียงของคำ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำศัพท์แต่ละคำจะมีการเน้นเสียงในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับคำ สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดพจนานุกรม เช่น

(ตัวใหญ่ คือ เสียงที่เน้น)

  • Option --/OP-tion/ เสียงเหมือน อ้อป-ชัน
  • canal -- /ca-NAL/ เสียงเหมือน คะ-แนล (ลากเสียง แนล)
  • deposit -- /de-PO-sit/ เสียงเหมือน ดิ-พ้อ-สิท
  • spaghetti --/spa-GHET-ti/ สเปอะ-เก๊ต-ทิ อันนี้แปลกหน่อย เน้นตัวที่สาม

การเน้นเสียงในประโยค

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในประโยคจะมีการเน้นเสียงหลายจุด ยกเว้นคำที่เป็น pronoun และ preposition และคำท้ายสุดของประโยคจะมีการเน้นเสียงหนักสุด ที่เรียกว่า เสียงเน้นหลัก (Primary Stress) เช่น

  • If you don't want to add a poll to your topic.
    • อ่านเป็น If you don't want to add a poll to your topic.
  • I don't think that control is in OPEC's hands.
    • อ่านเป็น I don't think that control is in OPEC's hands.

เสียงเชื่อม (linking)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงเชื่อมเป็นเสียงต่อเนื่องระหว่างคำที่อ่านต่อเนื่องกัน โดยเสียงสะกดของคำแรกจะออกเสียงต่อเนื่องมาเป็นเสียงพยัญชนะต้นของคำที่สอง เช่น

  • It's a book - จะออกเสียงเหมือน /its-sa-book/ อ่าน อิทซ์-ซะ-บุ้ค ไม่ใช่ อิทซ์-อะ-บุค
  • Can you add a poll? - จะออกเสียงเหมือน /can-you-add-da-poll/ อ่าน แคน-ยู-แอด-ดะ-โพล โดยคำว่า อะ จะออกเสียงเป็น ดะ เนื่องจากเสื่องเชื่อมจากคำสะกดของคำหน้า
  • Weekend - จะออกเสียงเหมือน /week-kend/ อ่าน วีคเค็นด์ โดยคำว่า เอ็นด์ จะออกเสียงเป็น เค็นด์ เนื่องจากเสียงเชื่อมจากตัวสะกดของคำหน้า
  • L.A. - จะออกเสียงเป็น /L-la /อ่าน แอล เล ไม่ใช่ แอล เอ
  • vineyard (ไร่องุ่นทำไวน์) - จะออกเสียงเป็น /vin-neard/ อังกฤษอ่าน ฝวินเนียด อเมริกันอ่าน ฝวินเนียร์ด ไม่ใช่ วายยาด
  • bald eagle (นกอินทรีย์หัวขาว) - จะออกเสียงเป็น /bal-dea-gle/ บอลดีเกิ้ล ไม่ใช่ บอล อีเกิ้ล

เสียงสูงต่ำ ท้ายประโยค

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงสูงต่ำท้ายประโยคขึ้นอยู่กับความหมายของประโยค โดย

  • ประโยคธรรมดา ลงเสียงต่ำ
    • I like coffee ลงเสียงต่ำที่คำว่า coffee อ่าน ค็อป-ฟี
  • ประโยคคำถามที่ถามว่า ใช่หรือไม่ ขึ้นเสียงสูง (รวมถึงประโยคที่เป็น tag question)
    • Do you like coffee? ขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า coffee อ่าน คอป-ฟี้
  • ประโยคคำถามที่ถามหาคำตอบ ลงเสียงต่ำ
    • What do you like? ลงเสียงต่ำตรงคำว่า like อ่าน ไลค์

สำหรับประโยคเดียวกันที่ออกเสียงต่างกัน จะทำให้ความหมายต่างกัน เช่น

  • Do you like tea or coffee?
    • ถ้าพูด คำว่า coffee ลงเสียงต่ำ ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ชาหรือกาแฟ (โดยให้เลือกเอา)"
    • ถ้าพูด คำว่า coffee ขึ้นเสียงสูง ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ชาหรือกาแฟไหม (โดยถามว่า เอาหรือไม่เอา)"

เสียงท้าย -s, -es, -ed

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • -s ก็ตามด้วย เสียง s ปกติ คือ ลากเสียง s ออกไปตอนจบประโยค
  • -es เจ้าของภาษาจะออกเสียง /อิส/ แต่ตามความคุ้นเคยของคนไทยมักออกเสียงชัดเจนว่า /เอส/ อย่างเช่น
    • boxes -- บ๊อกซิส (เจ้าของภาษา) บ๊อกเซส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • glasses -- อังกฤษ กล๊าสสิส อเมริกัน แกล๊สสิส (เจ้าของภาษา) กล๊าสเสส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
  • -ed อันนี้มีสองแบบ ถ้าตามด้วย ตัว T หรือ D จะออกเสียง /เอ็ด/ หรือ /อิด/ แต่ถ้าไม่ใช่ให้ ออกเสียง /เดอะ/
    • reloaded -- รีโล้ดดิด (เจ้าของภาษา) รีโล้ดเด้ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • wanted -- ว้อนถิด (เจ้าของภาษา) ว้อนเต้ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • notified -- โน้ทิไฟเดอะ จะออกเสียง d (เดอะ) ในลำคอ

เสียงพยัญชนะท้าย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • หลายๆ คำที่มีพยัญชนะท้ายจะมีเสียงเบาๆ ที่ไม่ควรละ
    • เสียง -nd เช่น finding ออกเสียง ฟาย(อึน)ดิ่ง หรือบางครั้งอาจได้ยิน ฟายนิ่ง
    • เสียง -ne เช่น line ออกเสียง ละอินหรือไลเน่อะ (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) ต่างจาก lie ออกเสียง ลาย
    • เสียง -le เช่น mobile ออกเสียง โม-บะอิลหรือโมไบลึ (สองพยางค์) หรือบางครั้งอาจได้ยิน โม-บึล
    • เสียง -le เช่น file ออกเสียง ฟะอิลหรือไฟอิล (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) หรือบางครั้งอาจได้ยิน ฟาว ต่างกับ fine ออกเสียง ฟาย(อึน) หรือ fire ออกเสียง ฟายเออะ

คำผสม (compound noun)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำผสม จากคำนามสองคำ การออกเสียง ให้ขึ้นเสียงสูงตรงกลาง แล้วลงต่ำตอนท้าย เช่น

  • คำว่า greenhouse / green house
    • คำผสม greenhouse (บ้านที่เป็นเรือนกระจก) ขึ้นเสียงตรง green และลงต่ำตรง house เสียง
    • คำปกติเรียงกัน green house (บ้านสีเขียว) ออกเสียงตามปกติ ไม่ต้องขึ้นลงเสียง
  • คำว่า English teacher
    • คำผสม หมายถึง ครูสอนภาษาอังกฤษ ขึ้นเสียงตรง English ลงตรง teacher
    • คำปกติเรียงกัน หมายถึง ครูชาวอังกฤษ ออกเสียงตามปกติ
  • Basic Pronunciation for Beginners, Jill Knutson
  • Speech Craft, Workbook for Academic Discourse, Laura D. Hann, Wayne B. Dickerson

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เครื่องมือช่วยศึกษา

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]