คำศัพท์*
|
หนังสือปูมราชธรรม*
|
ความหมายที่มาจาก:ปูมราชธรรม (เอกสารไทยของชาวฝรั่งเศส)
|
กัลลรูป
|
รูปเมื่อแรกตั้งปฏิสนธิ
|
เวฬุคูหา
|
ปล้องไม้ไผ่ หมายถึงที่อาศัยของแมลงภู่ในปล้องไม่ไผ่
|
กโจม
|
กระโจม
|
รอกกแต
|
กระรอกกระแต
|
มิอย่า บ่มิอย่า
|
แน่นอน เป็นแน่
|
กแทก
|
กระแทก
|
ลบ บวก คูณ หาร
|
:มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ
- ๒ เมล็ดข้าว เป็น ๑ กล่อม ๔ สลึง เป็น ๑ บาท
- ๒ กล่อม เป็น ๑ กล่ำ ๔ บาท เป็น ๑ ตำลึง
- ๒ กล่ำ เป็น ๑ ไพ ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง
- ๒ ไพ เป็น ๑ เฟื้อง ๒๐ ชั่ง เป็น ๑ ดุล
- ๒ เฟื้อง เป็น ๑ สลึง ๒๐ ดุล เป็น ๑ ภารา
|
เยี่ยม
|
ชะโงก, โผล่หน้า
|
อนี้
|
อันนี้
|
สุวบัณฑิต
|
หมายถึง นกแขกเต้าสุวโปดกในเรื่องมโหสถชาดก
|
กดูก
|
กระดูก
|
อัฑฒยาม
|
อัฑฒราตรี คือ เวลาเที่ยงคืน
|
ดอกบัวทั้งห้า
|
คือ บัวเบญจพิธพรรณ หมายถึงดอกบัวทั้ง ๕ สี
|
อุบลทั้งสาม
|
คือ นิลุบล (บัวขาบ) รัตตุบล (บัวแดง) และเสตุบล (บัวขาว)
|
ดอกสายบัวทั้งสอง
|
คือ บัวเผื่อนและบัวผัน
|
“เด็จ”
|
มีความหมายว่า “ตัด” หรือ “ย่อ”
|
สารทฤดู
|
ฤดูสารท ได้แก่ระยะสองเดือนหลังฤดูฝน
|
เพิ่มคำศัพท์. .
|
เทียบศัพท์. .
|
มรดกต่างๆที่กล่าวถึงการศึกษาแบบสหวิทยาในเรื่องพยัตติมีมาดังต่อไปนี้ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อว่า “ปูมราชธรรม”
ปูมราชธรรม หมายถึงขนบราชประเพณีโดยสังเขป ที่พระราชา และระเบียบแบบแผนของราชสำนักจะพึงปฏิบัติ ปูมราชธรรมปรากฏอยู่ในเอกสารเรื่องราวของไทยที่เก็บไว้โดยชาวฝรั่งเศษ คำว่าปูมราชธรรมนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ซึ่งคงจะมีความหมายในเรื่องอย่างเก่า อย่างเรื่องปูมโหร ปูมปฏิทินเป็นต้น นั้น แต่ที่นี้ได้กล่าวไว้แต่ที่เป็นเหตุจริยาภิบาล อันจะเป็นไปได้ถึงแก่พระราชจริยานุวัตรในเบื้องโพ้น ซึ่งสมควรปรากฏแก่ธรรมในทุกสมัยแห่งราชาธิบดี ผู้เป็นราชาโดยธรรม
ราชธรรมตามปูมนี้ กล่าวถึงปัญญาฉลาดปรีชา (พฺยตฺต) เป็นสังเขปมาดังนี้ ว่าพยัตตินั่นแลมีลักษณะอยู่ ๙ ประการ
อธิบายศัพย์ ๙ ประการ
เนาวพยัตติ*
|
เนาวพยัตติ*
|
คำอธิบาย:
|
๑. จาเรพยัตติ (ว่าด้วยสอน โสภณเป็นทรัพย์)
|
- โต่งต่ำ บ่ ปัตติเป็น พยัต
- บ่ ปรีชา ธนาธัช ตรวจก้อง
- ศัตรูบังคับกล กรายยศ กล้ำตัว
- ไลย์ภมรซาบละอองซ่อง โสพิศ จเร ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. จาเรพยัตตินั้นดังฤๅ อุปรมาประดุจดังแมลงภู่ สวภาวะแห่งแมลงภู่นั้นไซร้ ย่อมบินแสวงหาดอกไม้อันมีกลิ่นนั้น ครั้นแลประสบพบได้กลิ่นดอกไม้นั้นแล้ว ก็บินมุ่งหมายมาสู่ดวงดอกไม้นั้น แลทำประทักษิณแก่ดอกไม้นั้นแล้ว จึงโอนเคล้าเอาซราบละอองเกสรดอกไม้นั้นแล้ว ก็บินไปสู่ยังเวฬุคูหาทองนั้น อุปรมาดุจนั้น อันว่าบุคคลผู้มีปรีชาอันฉลาด แลจะแสวงหาประโยชน์ในอิหโลก แลจักใคร่แจ้งซึ่งอันประพฤติผิดแลชอบนั้น แลจะใฝ่แก่กิตติโฆษเพื่อจะให้จำเริญเกียรติยศให้ฦๅชาปรากฏไซร้ ก็พึงให้บำราศความประมาทนั้นเสียแล้ว จงให้มีความเพียรแสวงหาคัมภีร์ฎีกาทั้งปวงนั้นก็ดี แลให้วิริยะสู่หาสมาศัพท์ด้วยสมณพราหมณ์ก็ดี แลให้วิริยะเฝ้าแหนผู้มีอีศวรภาพซึ่งได้ครอบครองนั้นก็ดี แลให้วิริยะสู่หาสมาศัพท์ไต่ถามนักปราชญ์ผู้กอปรด้วยปัญญาญาณนั้นก็ดี แลให้เคารพแก่บิดามารดาครูอาจารย์แลผู้มีอายุศม์นั้นก็ดี แลให้วิริยะในคัมภีร์โลกุดรธรรมแลราชานุวัตรก็ดี โลกวัตรก็ดี แลให้วิริยะในคีติดนตรีแลเครื่องประดับประดาทั้งปวงนั้นก็ดี แลให้รู้สรรพวิชาการอันจะเลี้ยงชีวิตแห่งอาตมนั้นก็ดี แลให้เชื่อผลกรรมแลจำศีลภาวนาบริจาคทานก็ดี บุคคลดังนี้ชื่อว่าแสวงหาประโยชน์แห่งอาตมในอิหโลกบรโลก อุปรมาประดุจดังช่างร่อน สุภาวะช่างร่อนนั้นไซร้ ร่อนเลือกแต่บรรดากรวดแลดินทรายนั้นออกเสียแล้ว จึงประมูลเอา แต่อันหนักนั้นมาส่ำสมไว้ แลบุคคลผู้เป็นพหูสูต พหูทัสสะ พหูสิปปะ พหูสิกขี เหตุได้พบเห็นสดับฟังร่ำเรียนจำเนียรมามาก แลบุคคลดังนี้ประดุจแมลงภู่แลช่างร่อน อาจารย์กล่าวไว้ ชื่อจาเรพยัตติแล)
|
๒. โยคพยัตติ (ว่าด้วยไปถึง เสนางคนิกรชนทุกเหล่า)
|
- ไพเราะเอื้อง เอมโอษฐ์ โอทา
- เสนางค์โยค คำมา นบแล้ว
- พลศิริยาตรา ปวงคน คณิสร
- เกตุปูมลาภนรชนแล เลขเพียง พยัตต์พยนต์ ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. สัตว์ทั้งปวงนั้นไซร้ มีโยค ๔ ประการคือ โยคศิริ ๑ โยคพล ๑ โยคยาตรา ๑ โยคเสนางค์ ๑
- อันว่าโยคศิรินั้น พระมหากระษัตริย์พระองค์ใดจะให้มีฤทธานุภาพแล ปลูกศรีมหาโพธิ กุฎีวิหารแลขุดสระบ่อน้ำ แลบริจาคจตุประจัยแก่สงฆ์ แลแต่งข้าวบิณฑ์ข้าวบาตรฉัตรธงธูปเทียนบูชาสการะพระเจดีย์แลศรีมหาโพธิ แลให้แผ้วถางถนนหนทาง แลปลูกสร้างปราสาทราชมนเทียรแลสวนอุทยาน สระน้ำบ่อน้ำแลให้พลีกรรมเทวดาอันรักษาโลกนั้นเป็นอาทิ คือเทพดาโสดาบัน แลเทพดามหิมาธิก แลเทพดามเหสักข์อันอยู่ในเมืองนอกเมือง แลบริจาคทานแก่สมณพราหมณ์แลยาจกพันนิพกทั้งหลาย แลให้รู้จักคุณวิเศษรักใคร่ผู้มีคุณวิชญาการทั้งปวงนั้นเป็นอาทิ คือ ช่างเขียน ช่างฉลัก ช่างกลึง ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างนวการ แลช่างขับรำแลดุริยดนตรีเล่นการมหรสพ แลตั้งพิทธีโดยฤกษ์ตามฤดูกาลนั้น แลประพฤติโดยลักษณะดังนี้ไซร้ คือว่าจะให้จำเริญศรีสวัสดีแห่งเมือง ชื่อว่าโยคศิริแล
- อันว่าโยคพลนั้นเป็นอาทิ คืออำมาตย์เสนาบดีมนตรีมุข แลผู้ได้บังคับบัญชา แลเศรษฐีคฤหบดีนอกเมืองในเมือง แลนายบ้านขว้านช่องแลข้าส่วยไร่ แลควาญช้างควาญม้าชาวไร่นาอากรลูกค้าวานิช แลประชาราษฎรอันอยู่ในแว่นแคว้นสีมามณฑลนั้นก็ดี อันเป็นหูเมือง ตาเมือง จรมูกเมือง ปากเมือง ตีนเมือง มือเมือง ท้องเมือง ข้างเมืองนั้นก็ดี แลคนทั้งปวงนี้ควรให้เจียดทองพานทอง แลบ้านเมืองแลไร่นาอากรตรหลาดขนอนก็ดี ควรให้ประทานรางวัลเป็นอาทิคือ ขันเงินขันทองแลเสื้อผ้าก็ดี แลให้พิจารณาโดยอัชฌาสัยคุณแห่งบุคคลทั้งปวงนั้นแล้ว จึงให้พระทานรางวัลเลี้ยงดูตามคุณวิชญาการนั้น แลให้สงเคราะห์ด้วยถ้อยคำอันไพเราะประดุจศัพท์สำเนียงเสียงพิณแห่งท้าวอุเทนราชอันผูกตรากหูช้างแลใจช้างทั้งปวงไว้นั้น ลักษณะดังนี้ว่าหว่านไมตรีผูกตรากใจคนทั้งปวงไว้ คือว่ารักใคร่ไพร่พลทั้งปวง ชื่อว่าโยคพลแล
- อันว่าโยคเสนางค์นั้นให้ป้องกันรักษาเมือง แลแต่งค่ายคู เขื่อน ทวาร หอรบแลธงไชยแลจตุรงคพลทั้งสี่จงครบสรรพไว้ แลจดุรงคพลทั้งสี่นั้นคือ พลช้างสรรพด้วยจำลองแลกโจมอันมีพรรณต่าง ๆ แลทหารซึ่งจะขี่คอช้างนั้น สรรพด้วยหมวกแลเกราะนวมประดับสำหรับช้าง แลพลม้านั้น สรรพด้วยทวนอันมีส้นแลตรูถือสำหรับม้านั้น แลรถนั้นประดับธงเทียวแลหางยูงแลชนนกอันมีพรรณนั้น แลทหารซึ่งขี่รถนั้นถือทวนยาวแลธนูหน้าไม้ พลเดินนั้นถือด้างแลเขนเงินเขนทองแลทวนเทา แลธนูหน้าไม้แลปืนใหญ่ปืนนกสับ ลาง บ้างถือตรวดแลคบไฟ หม้อชัน แลจัดทหารทั้งปวงไว้แล้ว จึงแต่งเป็นนายทัพนายกองยุกรบัตรเกียกกาย แลสารวัตรอาชญาศึก กองแล่นกองใช้แลสรรพแล้ว จึงให้ไปตั้งประจำอยู่ทุกหัวเมืองทั้งปวงตามใกล้แลไกลนั้น แลตกแต่งการดังนี้ ชื่อว่าโยคเสนางค์แล
- อันว่าโยคยาตรานั้น ถ้าแลพระมหากระษัตริย์พระองค์ใดจะยาตรายกทัพศึกไปไซร้ให้ชุมนุมโหราจารย์แลราชครูแลสมณพราหมณ์แล้วให้หาฤกษ์อันดี แลให้รู้จักยายีนาคร แล้วให้บูชาพระเจดีย์แลศรีมหาโพธิ แลสมณพราหมณ์ แลกทำพลีกรรมในเมืองแลนอกเมือง เลี้ยงดูทแกล้วทหารไพร่พลทั้งปวง แลให้แผ้วถนนหนทางประดับด้วยราชวัติฉัตรธง ครั้นแลได้ฤกษ์ไซร้ ให้ประคมฆ้องกลองเป็นสัญญาสำคัญไว้แล้ว เสด็จด้วยยาน ๔ประการคือ ช้าง ม้า รถ แลอวน เป็นพาหนะ แลกางเศวตฉัตรขึ้นไว้ แล้วจึงบำเรอด้วยฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยดนตรี แลฝ่ายทหารทั้งปวงนั้นใส่หมวกแลประดับด้วยหางยูงแลขนนกอันมีพรรณ แลถืออาวุธต่าง ๆ สำหรับณรงค์นั้น แล้วก็ห้อมล้อมโดยซ้าย ขวา หน้า หลังตามหมู่ตามกรมนั้น จึงพระมหากระษัตริย์นั้นพิษฐานหลั่งน้ำด้วยขันทอง ขอพรแก่เทพดาอันรักษาเศวตฉัตรนั้นแล้ว จึงตีกลองไชยโดยฤกษ์ แลทอดพระเนตรเล็งแล ใกล้ไกลโดยทิศทั้งสี่นั้นแล้ว จึงควรยาตรา ตกแต่งการดังนี้ ชื่อว่าโยคยาตราแล)
|
๓. โมเจยพยัตติ (ว่าด้วยศัตรูต้องรู้)
|
- รู้เท่า เกริกเกียรติก้อง โกรธา
- รู้พยัตติ โมเจยยา ต้องรู้
- ศัตรูมิรู้เกียรติกรายกล้า ละทำนอง
- ปล่อยปราชญ์ต้องสองรู้ ละเปลื้องต้อง พฤตินัย ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. โมเจยพยัตตินั้นดังฤๅ อุปรมาประดุจดังน้ำปรอทแลน้ำปูน ศิลานั้น สวภาวะปรอทนั้นไซร้ เห็นเป็นก้อนกลมกล่อมอยู่ดุจดังจะหยิบเอาได้ ครั้นแลไปหยิบเอาไซร้ อย่าว่าจะหยิบเอาได้เลย แต่จะชุ่มในนิ้วมือก็หามิได้ สวภาพน้ำปูนนั้นไซร้ เห็นขาวผ่องเป็นนวลอยู่ดังน้ำนม แลดุจกินได้ ครั้นแลกินเข้าไปลำคอคือดังจะเปื่อยทำลายไป ดุจเดียวบุคคลหนึ่งนั้นมีปัญญารู้หลักเฉลียวฉลาด แลบุคคลผู้อื่นทำเล่ห์กลอุบายล่อลวง สงเคราะห์ด้วยธนทรัพย์แก้วแหวนเงินทอง แลถ้อยคำอันไพเราะ ประดุจดังเสียงพิณแห่งท้าวอุเทนราชอันผูกตรากใจช้างไว้ แลประดุจง้วนผึ้งอันเอมโอชนั้น เพื่อจะทำลายอายุศมเดชะตระบะให้ถอยเกียรติยศผลประโยชน์ทั้งปวงนั้นเสีย บุคคลผู้กอปรด้วยปัญญาอันฉลาดนั้น รู้ว่าล่อลวงด้วยกลอุบายแล้ว แลคิดอ่านเปลื้องอาตมให้พ้นจากภัยนั้นได้ อุปรมาประดุจดังพระมโหสถอันกอปรด้วยปัญญาอันฉลาด แม้นราชครูทั้ง ๔ คิดจะทำลายปองร้ายเท่าใดก็ดี มิอาจสามารถจะทำลายเสียได้ เพราะพระปัญญานั้นหาผู้จะเสมอมิได้ แลปัญญามนุษยชาตินี้ก็ยกไว้ บ่เริ่ม เมื่อยังเป็นเดียรัจฉานชาติอยู่นั้น เหตุมีปัญญาอันฉลาด แลมิได้ประมาทลืมสติจึงพ้นจากภัยนั้นก็มี)
|
๔. ฉายาพยัตติ (ว่าสอนนัยเกี่ยวแก่พยัตติธรรม)
|
- ฉายาวัฒน ต้องเนกขัมมาติ
- ครวญรู้ทัน วิชามี บ่ประหาร
- เร่งรบใคร่เอา ฉัพพยัตติ รันตราย
- รักษ์ไล่รู้หลักวิรางค์ชาย(ชาญ) ต้องรู้ เรืองธรรม์ ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าฉายาพยัตตินั้น อุปรมาประดุจดังเกลือ สุภาวะเกลือนั้นไซร้ สรรพโภชนาหารโอชรสทั้งปวงนั้น อาศัยแก่เกลือเป็นอาทิจึงมีรส แลบุคคลผู้หนึ่งนั้นมีปัญญาอันฉลาดแลมีสติรักษาพยัตตินั้นไว้ แลรู้คุณวิชญาการในโลก คือคีติดนตรีแลขับรำ ช่างเงิน ช่างทองเหลือง สโนหะ แลอิฐแลง ผ้าแลหนังแลด้ายเข็มนั้นก็ดี แลรู้ครบการทั้งนี้ แลการซึ่งจะเสียไปนั้น ก็รู้บำรุงตกแต่งให้ดี แลพากยวาจาซึ่งจะขาดนั้นก็ต่อสืบได้ แลเป็นศัตรูแก่กันแต่ก่อนมานั้นก็ดี ครั้นแลฟังถ้อยคำแห่งอาตมไซร้ ก็กลับคืนเป็นมิตรสหายรักใคร่กันเล่า แลเนื้อความซึ่งจะอัปราไชยนั้นก็ให้มีไชยชำนะได้ แลคนผู้มีคุณวิชาการรู้หลักดังนี้ อาจารย์กล่าวไว้ว่า ชื่อฉายาพยัตติแล)
|
๕. ธาราพยัตติ (ว่าสอนเกี่ยวแก่ปริมาณของคำนวณ)
|
- จวบพจญ รำฦกตั้น คัณทูล
- คณานวล ควรคูณ บทหาริย์
- พูนทรัพย์ รับรอกูล เยาวเรศดั้น
- คนวณพอมั่นสถลเสถียร บทต้อง สูญสอง ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าธาราพยัตตินั้น บุคคลผู้หนึ่งนั้นมีปัญญารู้หลักแลฉลาดในคำนวณควณการ ๑๐ ประการ เป็นอาทิคิดควณทันคัณทูล แลน้ำ แผ่นดิน แลเรือ เกวียน ไม้ หนัง แลทอง เทียน แลฉับชาญชำนาญควณทั้งนี้ จะตั้งพยุหะ ลบ บวก คูณ หาร แลรู้จักโดยคุณสังขยา มาก น้อย สั้น ยาว ตื้น ฦก หนัก เบาทั้งปวงจนเถิง กล่ำ กล่อม แลเมล็ดข้าว เมล็ดงา แลพันธุ์ผักกาด แลเส้นผมนั้นก็ดี อนึ่ง จะดำเนินโดยชลมารค สถลมารคไซร้ ก็จำ ศก มาส วัน คืน แลดาวฤกษ์ทั้งปวงนั้นเป็นสำคัญ แลจะมุ่งหมายไปสถานใด ๆ นั้นก็มิได้แคล้วคลาดซึ่งตามปรารถนานั้น อนึ่ง รู้จักลักษณะสินค้าซึ่งจะควรซื้อขายสะดวกนั้น แลสำคัญด้วย คิ้ว นิ้ว ตา แลคิดอ่านรวดเร็วฉับไวนั้น อาจารย์กล่าวไว้ว่า ชื่อธาราพยัตติแล)
|
๖. สัลวพยัตติ (ว่าเกี่ยวแก่การผูกจิตไมตรี)
|
- อาตมพทม พยัตป้อง สันติ
- ภูตกอปรพร เพทไวทย์วิ รามขำ
- สัลลวแลต้องจิต พิรุธนาถ เยาวนี
- ดำเนินบกธาตุมี เรื่องเดชรอบ ดุจกัลป์ ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าสัลลวพยัตตินั้น อุปรมาประดุจดังยางรัก ๆ นั้นย่อมผูกพันรัดรึงไว้ให้มั่นคง แลแต่งเครื่องทั้งปวงให้หมดไซร้ แลยังมีบุคคลผู้หนึ่งนั้น แลคนทั้งหลายทั้งปวงซึ่งอยู่รอบคอบใกล้ไกลนั้นย่อมทำสนิทชิดเชื่อผูกรักมักใคร่ให้ปันพัสดุสิ่งใด ๆ นั้นก็ดี แลช่วยกิจการแห่งผู้อื่นนั้นเป็นฉันกิจการแห่งอาตม แลทำประดุจดังญาติ แล้วก็กล่าวถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตนั้น แลผู้ได้บังคับบัญชาเป็นใหญ่นั้นก็มีบรรณาการไปสู่หาเนือง ๆ มิได้ขาด แลกิจการแห่งท่านนั้นมิได้เกียจคร้านแลช่วยด้วยหัวใจตามกำลังแห่งอาตม แลผู้กอปรด้วยคุณวุทธิทั้งปวงนั้นก็มีบรรณาการสิ่งอันควรนั้น ผูกเป็นไมตรีไว้ อนึ่ง จะดำเนินโดยทางบก เรือไปสถานใด ๆ ไซร้ แลผู้อยู่หัวบ้านหัวเมืองทั้งนั้นย่อมทำฉันญาติ มิได้ตระหนี่ แลมีของฝากรากไม้ตามบังควรนั้น ผูกพันเป็นมิตรไมตรีไว้ แลกล่าวถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตดุจอำมฤตนั้น ครั้นแลเห็นหน้าแลฟังถ้อยคำอันไพเราะนั้น ก็บังเกิดมีความเมตตากรุณา ครั้นแลมีความเมตตากรุณาแล้วจะปรารถนาสิ่งใด ๆ นั้น มิอาจที่จะอำพรางไว้ได้เลย แม้นโลกธรรมสิ่งใด ๆ บังเกิดมีแก่อาตมก็ดีย่อมมีผู้ช่วยทำนุกบำรุง เมื่อแลผูกเป็นพันธมิตรไว้ทุก ๆ หัวบ้านหัวเมืองแลสถานใด ๆ ดุจดังนัยซึ่งกล่าวมานี้ไซร้ คือว่าฝากอาตมแลโภชนาหารไว้แก่คนทั้งปวงนั้นดุจเดียว แลบุคคลกอปรด้วยสติธรรม แลช่องสำแดงพยัตติไว้ให้แจ้งดังนี้ แลพิจารณาเห็นผลประโยชน์แห่งอาตมในอนาคตกาลนั้นไซร้ อาจารย์กล่าวไว้ว่า ชื่อสัลลวพยัตติแล)
|
๗. ลเหลหาพยัตติ (ว่าเป็นนัยเกี่ยวแก่ทรัพย์สินมีค่า)
|
- รู้ต่ำตื้น ต่อทรัพย์ต้อง โดยเร็ว
- รู้หลักเลว ต่อเตือนทรัพย์ ข้าไท้
- สำรวมรู้ไว้ มูลมากราพ ลเหลหา
- เร่งรวมมุทุตาได้ มวลมัธย์มาก มากัลป์ ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าลเหลหาพยัตตินั้นอุปรมาประดุจดังปลวก สุภาวะปลวกนั้นไซร้ แม้นก้อนดินแต่ประมาณปลายข้าวสารนั้นก็ดี เหตุกำลังอันอุตสาหะขนเนือง ๆ นั้นก็ให้บังเกิดเป็นจอมปลวกขึ้น แลบุคคลผู้บริบาลรักษาสติธรรมแลสำแดงพยัตติไว้ให้แจ้งแล้วแลตัดความประมาทนั้นเสีย แลมีความเพียรมิได้ลืมสมปฤดีซึ่งจะเลี้ยงชีวิตนั้นทุกเมื่อ แลรู้ขนาดซึ่งจำหน่ายแลประดับประดาแลจะบริโภคกินอยู่ แลจะสำรวลเล่นหัว แลจะประมูลส่ำสม แลรู้บังคับบัญชาตักเตือนข้าไทแลญาติพี่น้องลูกหลานแลคนอันทรมานทนทุกข์ยากแลตัดความเกียจคร้านเสีย แลตั้งความเพียรซึ่งจะเลี้ยงชีวิตดังน้ำในกัลออมอันใสนั้นไซร้ อาจารย์กล่าวไว้ว่า ชื่อลเหลหาพยัตติแล)
|
๘. สุจิลาพยัตติ (ว่าเป็นนัยสอนเกี่ยวแก่กลอุบาย)
|
- กษัตริย์รุก สู้รบ รารำคาญ
- กระต่ายต้วม สาธารณ์ ต้องแล้ว
- เศวตวิมาน ก่อกลีราญ ครหณา
- รัฐต้วมต้องสุจิลา ล่วงเลิ้ง ลุนปืน ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าสุจิลาพยัตตินั้น อุปรมาประดุจดังกต่ายล้ำสัตว์จตุบาททั้งปวงไซร้ กต่ายนั้นรู้หลักอุบายกลยิ่งกว่าสัตว์ทั้งปวงนั้น แลผู้ฟังเอาถ้อยคำแห่งกต่ายนั้นไซร้ ก็ย่อมได้ทุกข์รำคาญแค้นเคืองก็มี แลสัตว์อันถ่อยนั้นก็ยกไว้ บ่เริ่มหนึ่งไกรสรสีหราชแลฟังเอาถ้อยคำแห่งกต่ายนั้นไซร้ ก็เถิงซึ่งความพินาศดุจเดียว)
|
๙. สันนีกพยัตติ (ว่าเป็นนัยสอนเกี่ยวแก่ศิลปะ)
|
- พยัตติอากาศ ดั่งดวงแต้ม แซมเทา
- ตรึงตรัยเนาว์ อรุณหลั่ง รุ้งรังสี
- กอปรสีเลื่อม เพื่อมพราย ลวตี
- สันนีกนึกรดึกดี เมื่อมมาบ มมังกาล ฯ
(ปูมราชธรรมว่า ดังนี้. อันว่าสันนีกพยัตตินั้นดังฤๅ อุปรมาประดุจดังพื้นอากาศแลฉัททันตสระ สภาวะพื้นอากาศนั้นไซร้ ในเพลากาลทั้งสามนั้นก็บังเกิดมีพรรณสามประการ แลในเพลาอรุโณทัยนั้น เมื่ออรุณรังสีก็มีพรรณสี่ประการคือ ดังสีเงินแลสีทองแลสีทองแดงแลสีสัมฤทธิ์ ประดุจดังแกล้งเขียนแต้มแต่งแลเป็นอันงามรุ่งเรืองงามแก่ตาโลกทั้งปวง แลในกาลเมื่อเพลาสายัณห์นั้นไซร้ให้บังเกิดเมฆมีพรรณต่าง ๆ คือ สีทอง แลสีทองแดงแลสัมฤทธิ์ประดุจแกล้งฉละเฉลาแต้มเขียนไง้ ณ พื้นอากาศนั้น แลควรทัศนาการเป็นที่จำเริญใจ งามแก่ตาโลกทั้งปวง แลในเมื่อเพลาอัฑฒยามนั้นก็มีรัศมีรุ่งเรืองประเทืองไปด้วยรัศมีแห่งดาวทั้งปวงแลกอปรด้วยดาวฤกษ์ทั้งร้อยแปดประดับห้อมล้อมพระจันทร์ แลมีเศวตวิมานอันเทียมด้วยเศวตกุญชรอันเป็นโสภณาการแก่ตาโลกทั้งปวง)
|
จบเบื้องต้น เทียบศัพท์ปูมราชธรรม
บทสรุปเรื่องเกี่ยวแก่งานต้นฉบับที่หอสมุดวชิรญาณ
|
ตำรานี้คือฉบับร่างหรือโครงร่างที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา คุณสามารถช่วยเหลือในการพัฒนางานเขียนหรือสอบถามเพื่อขอความช่วยเหลือในสภากาแฟได้ |