ดาราศาสตร์ทั่วไป/ดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี

จาก วิกิตำรา

ดาวเคราะห์ชั้นนอก หรือมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Jovian planets ซึ่งหมายถึงเป็นดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดี ซึ่ง Jovian มาจาก Jupiter ซึ่งเป็นชื่อดาวพฤหัสบดีในภาษาอังกฤษ ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เป็น ดาวเคราะห์แก๊ส เนื่องจากมีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สไฮโดรเจน หรืออาจถูกเรียกว่า ดาวเคราะห์ยักษ์ อันเนื่องมาจากขนาดที่ใหญ่ของมัน บรรดาดาวเคราะห์ชั้นนอกนี้ต่างมีดาวบริวารเป็นของตนเองเป็นจำนวนมาก รวมถึงบางดวงยังมีวงแหวนน้ำแข็งและฝุ่นด้วย

ดาวเคราะห์ชั้นนอก มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ดวง ประกอบด้วย (เรียงตามระดับวงโคจรจากใกล้ไปถึงไกล) ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน

ดาวพฤหัสบดี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 โดยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิ้ล

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด มีมวล 1.9 x 1027 กิโลกรัม (ประมาณ 318 เท่าของโลก) มีความกว้างระยะเส้นผ่านศูนย์กลาง 142,800 กิโลเมตร ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก และยังมี มีเทน แอมโมเนีย ไอน้ำ และส่วนประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ที่จุดลึกที่สุดภายในดาวพฤหัสบดีนั้น มีความกดอากาศที่สูงจนอะตอมของไฮโดรเจนถูกทำให้แหลกออกและอิเล็กตรอนถูกปลดปล่อยออก ผลก็คืออะตอมจะประกอบด้วยโปรตอนจำนวนน้อยมาก ผลผลิตที่สภาพนี้คือไฮโดรเจนจะกลายเป็นโลหะ ส่วนการเคลื่อนที่ของของเหลวในโลหะนี้เป็นชั้นที่ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กอันทรงพลัง

ดาวพฤหัสบดีมีระบบสภาพอากาศที่เป็นพลวัตอย่างมาก หรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แทบตลอดเวลา การเคลื่อนที่ของของเหลวนั้นถูกจัดการโดยการหมุนรอบตัวเองที่รวดเร็วของดาวพฤหัสบดี ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีการแบ่งแถบออกเป็นชุด ๆ ทั้งเข็มขัดมืดและโซนสว่างรอบตัวดาว ชั้นเมฆที่เรามองเห็นนั้นถูกสร้างขึ้นจากแอมโมเนียแข็ง ขณะที่ชั้นเมฆที่อยู่ลึกลงไปข้างล่างนั้นเป็นส่วนประกอบของแอมโมเนียม ไฮโดรซัลไฟด์ และ น้ำ

ดาวพฤหัสบดีมีพายุลูกหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันชื่อ "จุดแดงใหญ่" (Great Red Spot) เป็นพายุที่เป็นระบบพายุหมุนรอบตัวเอง ซึ่งถูกค้นพบมาตั้งแต่เมื่อกว่าร้อยปีก่อน ส่วนวงแหวนนั้น ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนที่ประกอบขึ้นด้วยฝุ่นบางมาก ๆ และยังทึบแสง ทำให้ยากต่อการสังเกต

สำหรับดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีนั้นมีจำนวน 63 ดวงที่ค้นพบแล้ว แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ คัลลิสโต (Callisto), ยูโรปา (Europa), แกนีมีด (Ganymede) และ ไอโอ (Io) ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกโดยกาลิเลโอ กาลิเลอิ เมื่อปี 1610 (ประมาณ พ.ศ. 2153) จึงถูกเรียกอย่างรวม ๆ ว่า "ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ" หรือ Galilean Moons

ดาวเสาร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาพถ่ายดาวเสาร์สีตามธรรมชาติซึ่งถูกถ่ายโดยกล้องบนยานแคสสินีในภารกิจอิควิน็อกซ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551

ดาวยูเรนัส[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาพถ่ายดาวยูเรนัสโดยยานวอยเอเจอร์ 2 เมื่อปี 2529

ดาวเนปจูน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาพถ่ายดาวเนปจูนโดยยานวอยเอเจอร์ 2 เมื่อปี 2529