ข้ามไปเนื้อหา

ดาราศาสตร์ทั่วไป/ประวัติย่อของเอกภพ

จาก วิกิตำรา

แต่ไหนแต่ไร มนุษย์มักก่อให้เกิดความสนใจด้วยการสร้าง เราอยู่ที่ไหน และเอกภพที่เราอาศัยอยู่นี้มาจากไหน ในคัมภีร์ฤคเวท กล่าวไว้ว่า ก่อนจะมีการสร้างเอกภพขึ้นนั้น ทุกอย่างไม่มีตัวตนและไม่มีอยู่จริง

ความเป็นไปได้หลายสิ่งได้รับการพิจารณาโดยนักวิทยาศาสตร์ในช่วงหลายพันปี เอกภพเกิดขึ้นโดยทันทีหรอ มันถูกสร้างอย่างฉับพลันโดยพระเจ้าหรือ มันจะคงอยู่ตลอดไปหรือเปล่า หรือสร้างมาแล้วเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แม้ในตอนนี้ก็ตามหรือ

เช่นเดียวกับที่เราสามารถใช้มาตรขนาด ในการเปรียบเทียบขนาดของวัตถุอย่างคร่าว ๆ ในเอกภพได้ เราสามารถใช้มาตรเวลาในการเปรียบเทียบระยะของเวลาที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ดาวหางฮัลเลย์ใช้เวลาประมาณ 75 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์ เราจึงสามารถบอกได้ว่า ระยะของคาบวงโคจรดาวหางฮัลเลย์นั้น มีระยะเวลาเท่ากับมาตรเวลาของช่วงชีวิตมนุษย์

จุดกำเนิดของเอกภพตามทฤษฎีบิ๊กแบง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เอกภพคือพื้นที่ขนาดใหญ่ เวลาของมันก็ใหญ่เช่นกัน อายุของเอกภพเหมือนว่าจะอยู่ที่ 13.7 พันล้านปี เหมือนกับมาตราส่วนของที่ว่างขนาดใหญ่ ช่วงเวลา 14 พันล้านปีมันยากเกินกว่าจะจินตนาการได้สำหรับมนุษย์ซึ่งมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่ามาก เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจมาตราส่วนของเวลาที่ยาว ๆ นั้น เราสามารถ "บีบอัด" ระยะเวลาอันยาวนานของเวลา คือ อายุของเอกภพให้สั้นลงมาเท่ากับช่วงชีวิตมนุษย์ได้

มนุษย์ทั่วไปมีอายุขัยราว ๆ 80 ปี นั้นหมายความว่าโลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แปดสิบครั้งเพื่อให้ครบอายุขัยเฉลี่ยของเรา มาตราส่วนเวลาของชีวิตมนุษย์และมาตราส่วนเวลาของประวัติศาสตร์มนุษย์นั้นสั้นกว่ามาตราส่วนเวลาของการเปลี่ยนแปลงในเอกภพมาก นักดาราษสตร์ได้ศึกษาวิธีที่จะนำเอาเอกภพมาเพียงเพื่อศึกษาชั่วขณะหนึ่งที่มันดำรงอยู่ เพื่อให้ภาพนั้นชัดเจนว่าเวลาของจักรวาลนั้นพอดีกันได้อย่างไร ลองคิดดูว่า นักดาราศาสตร์ได้จินตนาการว่าชีวิตนั้น "ยืดออก" เพื่อให้พอดีกับประวัติศาสตร์ของเอกภพเป็นอย่างไร

ถ้าอายุขัยของมนุษย์ยาวนานกว่าที่เป็นอยู่นี้ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ก็อาจจะเร็วเกินไปที่จะใช้วัดอายุ แทนที่มันอาจต้องใช้การวัดเวลาที่ใช้ได้จริง ๆ จากบางอย่างที่ช้ากว่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 230 ล้านปีในการโคจรรอบดาราจักรทางช้างเผือก นั่นหมายความ 1 ปีของทางช้างเผือกจะนานกว่าปีปกติถึง 230 ล้านปี

สมมติว่านักดาราศาสตร์สูงอายุมีอายุขัย 80 ปีทางช้างเผือก แทนที่จะเป็น 80 ปีปกติ ด้วยวิธีนั้น นักดาราศาสตร์จะสามารถมีอายุยืนเพียงพอที่จะเห็นเหตุการณ์ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบางในมาตรเวลาจักรวาลวิทยาไม่ใช้มาตรเวลาของมนุษย์ ชีวิตของนักดาราศาสตร์คนนั้นจะเคลื่อนไปอย่างช้ามาก ๆ การเติบโตและการกระทำของเขานั้นช้ากว่า 230 ล้านปี ที่อัตรานี้ นักดาราศาสตร์คนนั้นต้องใช้เวลาถึงสี่เดือนในการกระพริบตาหนึ่งครั้ง


ตารางสรุปเหตุการณ์
230 ล้านปี = 1 ปี
เหตุการณ์ มาตราส่วนเวลาจริง มาตราส่วนเวลาที่บีบอัด'
เริ่มการสร้างโครงสร้าง 1 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 2 วัน
ดาวฤกษ์และดาราจักรยุคแรกก่อตัว 2 พันล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 6 ปี
ดวงอาทิตย์และโลกก่อตัว 9 พันล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 37 ปี
หลักฐานของสิ่งมีชีวืตแรกบนโลก 1 หมื่นล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 47 ปี
รูปแบบของสิ่งมีชีวิตขั้นสูงบนโลกปรากฏ 500 ล้านปีก่อน 57 ปี
ไดโนเสาร์ตัวแรกปรากฏ 230 ล้านปีก่อน 58 ปี
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ 65 ล้านปีก่อน 4 เดือนก่อน
มนุษย์ปรากฏตัว 2 แสนปีก่อน 8 ชั่วโมงก่อน
การคิดค้นระบบการเขียน 6 พันปีก่อน 15 นาทีก่อน
ความคิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ 4 ร้อยปีก่อน หนึ่งนาทีก่อน
วันปัจจุบัน 1.37 หมื่นล้านปีหลังบิ๊กแบง 59 ปี
ช่วงชีวิตมนุษย์ 80 ปี 10 วินาที
ดาราจักรทางช้างเผือกชนกับดาราจักรแอนดรอมิดา 1.7 หมื่นล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 71 ปี
ดวงอาทิตย์สิ้นอายุขัย 2 หมื่นล้านปีหลังจากบิ๊กแบง 80 ปี