ดาราศาสตร์ทั่วไป/ยานไพโอเนียร์และวอยเอเจอร์

จาก วิกิตำรา

ภารกิจไพโอเนียร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภารกิจไพโอเนียร์ (Pioneer missions) สามารถแบ่งออกตามกลุ่มได้ดังนี้

  1. การสำรวจอวกาศที่ทำได้ (ค.ศ. 1958 ถึง 1960 / พ.ศ. 2501 ถึง 2503)
    • ไพโอเนียร์ 0 (ทอร์-อะเบิล 1 หรือ ไพโอเนียร์) (Thor-Able 1 หรือ Pioneer) – ยานสำรวจอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ ถูกทำลาย (ยานทอร์เกิดความล้มเหลวหลังจากปล่อยจากฐานไปได้ 77 วินาที) ปล่อยเมื่อ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1985 / พ.ศ. 2501
    • ไพโอเนียร์ 1 (ทอร์-อะเบิล 2 หรือ ไพโอเนียร์ I) – ยานสำรวจอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ ไม่พบดวงจันทร์และล้มเหลวในวงโคจร (บางส่วนของสถานะที่สามล้มเหลว) ปล่อยเมื่อ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1958 / พ.ศ. 2501
    • ไพโอเนียร์ 2 (ทอร์-อะเบิล 3 หรือ ไพโอเนียร์ II) – ยานสำรวจอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ ล้มเหลวในวงโคจร (สถานะที่สามล้มเหลว) ปล่อยเมื่อ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 / พ.ศ. 2501
    • ไพโอเนียร์ P-1 (แอตลาส-อะเบิล 4A หรือ ไพโอเนียร์ W) – ยานเสียหาย 24 กันยายน ค.ศ. 1959 / พ.ศ. 2502
    • ไพโอเนียร์ P-3 (แอตลาส-อะเบิล 4 หรือ แอตลาส-อะเบิล 4B หรือ ไพโอเนียร์ X) ยานสำรวจดวงจันทร์ เสียหายในความล้มเหลวขณะปล่อยจากฐาน 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 / พ.ศ. 2502
    • ไพโอเนียร์ 5 (ไพโอเนียร์ P-2 หรือ ทอร์-อะเบิล 4 หรือ ไพโอเนียร์ V) – โคจรอยู่ระหว่างดาวเคราะห์ ระหว่างโลกและดาวศุกร์ ปล่อยเมื่อ 11 มีนาคม ค.ศ. 1960 / พ.ศ. 2503
    • ไพโอเนียร์ P-30 (แอตลาส-อะเบิล 5A หรือ ไพโอเนียร์ Y) – ยานสำรวจดวงจันทร์ ล้มเหลวในการบรรลุวงโคจรของดวงจันทร์ ปล่อยเมื่อ 25 กันยายน ค.ศ. 1960 / พ.ศ. 2503
    • ไพโอเนียร์ P-31 (แอตลาส-อะเบิล 5B หรือ ไพโอเนียร์ Z) – ยานสำรวจดวงจันทร์ เสียหายในการล้มเหลวในชั้นบน (upper stage) ปล่อยเมื่อ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1960 / พ.ศ. 2503
  2. การสำรวจดวงจันทร์ภารกิจจูโน 2 (Juno II) (ค.ศ. 1958 ถึง 1959 / พ.ศ. 2501 ถึง 2502)
    • ไพโอเนียร์ 3 – ภารกิจบินผ่านดวงจันทร์ แต่ล้มเหลวขณะลงจอด (6 ธันวาคม ค.ศ. 1958 / พ.ศ. 2501)
    • ไพโอเนียร์ 4 – ภารกิจบินผ่าน และประสบความสำเร็จในการบรรลุความเร็วหลุดพ้น (3 มีนาคม ค.ศ. 1959 / พ.ศ. 2502)
  3. ภารกิจภายหลัง (ค.ศ. 1965 ถึง 1978 / พ.ศ. 2508 ถึง 2521)
    • ไพโอเนียร์ 6 (ไพโอเนียร์ A) – ปล่อยเมื่อธันวาคม ค.ศ. 1965 / พ.ศ. 2508
    • ไพโอเนียร์ 7 (ไพโอเนียร์ B) – ปล่อยเมื่อสิงหาคม ค.ศ. 1966 / พ.ศ. 2509
    • ไพโอเนียร์ 8 (ไพโอเนียร์ C) – ปล่อยเมื่อธันวาคม ค.ศ. 1967 / พ.ศ. 2510
    • ไพโอเนียร์ 9 (ไพโอเนียร์ D) – ปล่อยเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1968 / พ.ศ. 2511 (หมดอายุเมื่อตั้งแต่ ค.ศ. 1983 / พ.ศ. 2526)
    • ไพโอเนียร์ E – เสียหายจากความล้มเหลวในการปล่อยเมื่อสิงหาคม ค.ศ. 1969 / พ.ศ. 2512
  4. ภารกิจระบบสุริยะชั้นนอก
    • ไพโอเนียร์ 10 (ไพโอเนียร์ E) – ภารกิจดาวพฤหัสบดีและมวลสารระหว่างดาว ปล่อยเมื่อมีนาคม ค.ศ. 1972 / พ.ศ. 2515
    • ไพโอเนียร์ 11 (ไพโอเนียร์ G) – ภารกิจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และมวลสารระหว่างดาว ปล่อยเมื่อเมษายน ค.ศ. 1973 / พ.ศ. 2516
    • ไพโอเนียร์ H – มีภารกิจเช่นเดียวกับไพโอเนียร์ 10 และ 11 แต่ไม่ได้รับการปล่อย
  5. โครงการไพโอเนียร์วีนัส (Pioneer Venus project)
    • ไพโอเนียร์วีนัสออร์บิเทอร์ (Pioneer Venus Orbiter) (ไพโอเนียร์วีนัส 1 หรือ ไพโอเนียร์ 12) – ปล่อยเมื่อธันวาคม ค.ศ. 1978 / พ.ศ. 2521
    • ไพโอเนียร์วีนัสมัลติพร็อบ (Pioneer Venus Multiprobe) (ไพโอเนียร์วีนัส 2 หรือ ไพโอเนียร์ 13) – ปล่อยเมื่อสิงหาคม ค.ศ. 1978 / พ.ศ. 2521
      1. ไพโอเนียร์วีนัสพร็อบบัส – ยานบรรทุกยานพาหนะและยานชั้นบรรยากาศชั้นบน
      2. ไพโอเนียร์วีนัสลาร์กพร็อบ – ยานบรรทุกร่มชูชีพหนัก 300 กิโลกรัม
      3. ไพโอเนียร์วีนัสนอร์ทพร็อบ – ยานบรรทุกตัวอัดกระทบหนัก 75 กิโลกรัม
      4. ไพโอเนียร์วีนัสไนท์พร็อบ – ยานบรรทุกตัวอัดกระทบหนัก 75 กิโลกรัม
      5. ไพโอเนียร์วีนัสเดย์พร็อบ – ยานบรรทุกตัวอัดกระทบหนัก 75 กิโลกรัม

หมายเหตุ วันที่ที่ปรากฏด้านบนหมายถึงวันที่ภารกิจนั้น ๆ ได้รับการปล่อย

ภารกิจวอยเอจเจอร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภารกิจวอยเอจเจอร์ (Voyager Mission) ถูกปล่อยขึ้นไปในอวกาศเพื่อการศึกษาระบบสุริยะชั้นนอก

วอยเอจเจอร์ 1 (Voyager 1)
ศึกษาดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และกำลังเดินทางอย่างอ่อนล้าไปยังเฮลิโอพอส (Heliopause บริเวณขอบนอกของระบบสุริยะ) นับเป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เดินทางออกไปจากโลกได้ไกลที่สุดในปัจจุบัน
วอยเอจเจอร์ 2 (Voyager 2)
ศึกษาดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ถูกปล่อยภายหลังจากยานวอยเอจเจอร์ 1 แต่ทำความเร็วได้สูงกว่า