ดาราศาสตร์ทั่วไป/สภาพอากาศในอวกาศ

จาก วิกิตำรา

สภาพอากาศในอวกาศนั้นในความหมายทั่วไปที่ประยุกต์กับเงื่อนไขที่สภาพแวดล้อมในอวกาศซึ่งถูกกำหนดโดยกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ อย่างเช่น "ลมสุริยะ" คือ อนุภาคย่อยของอะตอมที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์และเกิดขึ้นตลอดเวลา ลมสุริยะ นี้บางครั้งอาจเป็นถึงขั้น พายุสุริยะ คือ อนุภาคที่ถูกชาร์จ (ส่วนใหญ่เป็นอิเล็กตรอนและโปรตอน) ซึ่งอาจส่งผลกระทบหรือรบกวนหรือทำให้ดาวเทียมในวงโคจรนั้นไร้ความสามารถไป ขัดขวางการสื่อสาร และตัวรังสีอาจเป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศที่ไม่ได้สวมชุดป้องกันอยู่ได้

ลักษณะเกี่ยวกับสภาพอากาศในอวกาศที่เรารู้จักกันดีคือ ออโรรา (Aurora) หรืออีกชื่อในซีกโลกเหนือคือ แสงเหนือ (Northern Lights) เช่นเดียวกับ แสงใต้ (Southern Lights) ในซีกโลกใต้ ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า แสงขั้วโลกเหนือ (Aurora Borealis) และ แสงขั้วโลกใต้ (Aurora Australis) ตามลำดับ แสงเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมวลมหาศาลของอนุภาคลมสุริยะที่ถูกชาร์จแล้วนั้นถูกดึงดูดไปยังบริเวณขั้วของโลกโดยสนามแม่เหล็กของโลกเอง ซึ่งพวกมันจะไปกระแทกและมีปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เรารู้จักกันโดยมากคือ ออกซิเจนและไนโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการปล่อยพลังงานของแสงออกมาให้เราเห็นเป็นออโรรา ซึ่งเป็นกระบวนการที่คล้ายกับในหลอดไฟ

ในช่วงที่พายุลมสุริยะนั้นมีความรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประจุไฟฟ้าสามารถถูกสะสมได้บนสายส่งไฟฟ้าบนโลก จนบางครั้งก่อให้เกิดการโหลดเกิน (Overload) และเกิดไฟฟ้าดับได้ (เช่นเหตุการณ์ในรัฐควิเบกเมื่อปี 2532) ยิ่งไปกว่านั้นยังกระทบกระเทือนกับลักษณะคลื่นวิทยุในชั้นบรรยากาศชั้นบน ซึ่งลมสุริยะที่ผ่านการชาร์จแล้วนั้นยังอาจไปสะสมอยู่ในดาวเทียมสื่อสารที่ประจำอยู่ในวงโคจร และสามารถทำให้พวกมันเสียได้ถ้าไม่ได้รับการป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดขึ้น การประเมินความรุนแรงของพายุสุริยะครั้งหนึ่งในปี 2402 ซึ่งครั้งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ยังมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตโดยรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมา ซึ่งเป็นอันตรายกับนักบินอวกาศที่อยู่บนเที่ยวบินออกจากโลก เช่นกำลังเดินทางไปดวงจันทร์ หรือ ดาวอังคาร ในยานอวกาศและสถานีอวกาศนานาชาตินั้น นักบินอวกาศจะมีความเสี่ยงปานกลางเท่านั้น ตั้งแต่ที่สนามแม่เหล็กของโลกได้ปกป้องบางส่วนให้กับนักบินอวกาศที่อยู่ในวงโคจรระดับต่ำของโลก (คือทั้งยานอวกาศและตัวสถานีอวกาศนานาชาติด้วย)