ดาราศาสตร์ทั่วไป/แบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
แบบจำลองที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพถูกเสนอขึ้นโดย นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) ในหนังสือ De revolutionibus orbium coelestium ของเขาซึ่งถูกตีพิมพ์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงเพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีอาญากรณีนอกรีต หนังสือดังกล่าว กล่าวถึงปัญหาจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองของทอเลมี ที่ต้องใช้อีพิไซเคิล (Epicycle) หมายถึง การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ตามทฤษฎีระบบสุริยะที่ว่าวัตถุทรงกลมจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นรอบวงของวัตถุทรงกลมที่ใหญ่กว่า เป็นจำนวนมากในการอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ซึ่งแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเขานั้นจะวางดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ในขณะที่อารยธรรมโบราณบางแห่งในอินเดียและตะวันออกกลาง ได้นำเสนอรูปแบบแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางมาก่อนการค้นพบของโคเปอร์นิคัส ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานสำหรับมุมมองต่อระบบสุริยะในสมัยใหม่
แบบจำลองของโคเปอร์นิคัส
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของโคเปอร์นิคัส มีทฤษฎีที่เขานำเสนอทั้งหมดเจ็ดข้อดังนี้
- มีศูนย์กลางเอกภพอยู่มากกว่าหนึ่งแห่ง
- ศูนย์กลางของเอกภพอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์
- ดาวเคราะห์โลกมิใช่ศูนย์กลางของเอกภพนี้
- ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์นั้นเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างทางดาราศาสตร์ระหว่างโลกและดาวฤกษ์บนท้องฟ้า
- โลกเวียนรอบดวงอาทิตย์ นั้นทำให้เกิดรอบของฤดูกาลที่เราได้รับรู้
- การหมุนของโลกทำให้ดวงดาวที่ปรากฏนั้นเคลื่อนที่ไปในทุก ๆ คืน มิใช่การเคลื่อนไหวของตัวดาวฤกษ์เอง
- การเคลื่อนถอยหลังใด ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกอธิบายโดยอิพิไซเคิลนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากความเร็วที่แตกต่างกันของดาวเคราะห์ต่อการโคจรรอบดวงอาทิตย์
โคเปอร์นิคัสได้ซ่อนเร้นความเชื่อของเขาเกี่ยวกับแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางเป็นเวลาหลายปี และผลงานของเขาก็ไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกระทั่งปี ค.ศ. 1542 (พ.ศ. 2085) ปีเดียวก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม บางคนคาดเดาว่า โคเปอร์นิคัสจะต้องจับแนวคิดของเขาสำหรับเวลาสำคัญ เพราะเขาเกรงกลัวต่อการยอมรับมันในหมู่เพื่อนพ้องและที่สำคัญกว่านั้นคือ ศาสนจักร หลายคนพิจารณาการตีพิมพ์ของหนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) จะเป็นจุดเริ่มต้องของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
ในปีถัดมา ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสได้ถูกขัดเกลาและยืนยันความถูกต้องโดยอิสระโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคน ที่ชัดที่สุดคือ กาลิเลโอ และ เคปเลอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาลิเลโอ ได้บันทึกไว้ว่าทุกดิถี (Phase, เฟส) ของดาวศุกร์นั้นเกิดขึ้นจริง (คล้ายกับที่เกิดกับดวงจันทร์ของเรา) ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้อย่างพอประมาณได้โดยแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลาง ซึ่งขัดแย้งกับการพยากรณ์ดิถีเสี้ยวและดับของดวงจันทร์แต่ผู้เดียวที่โดยแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลาง