บรรณานุกรม

จาก วิกิตำรา

ในทางสารนิเทศบรรณานุกรม หมายถึงข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

คำว่า "บรรณานุกรม" เป็นศัพท์บัญญัติมาจากภาษาอังกฤษ bibliography ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันคือ รายการสื่อสารนิเทศทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้ประกอบการเขียนหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย

การเขียนบรรณานุกรม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม มักจะเรียงลำดับ ดังต่อนี้ไป

หลักการ ตัวอย่าง หมายเหตุ
ชื่อ ชื่อสกุล. เว้นวรรค ชื่อเรื่อง. เว้นวรรค ครั้งที่พิมพ์. เว้นวรรค เมืองที่พิมพ์ เว้นวรรค : เว้นวรรค ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ (หรือสำนักพิมพ์), เว้นวรรค ปีที่พิมพ์. ประคอง นิมมานเหมินท์. นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพรผล งานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. บรรณานุกรมเรื่องหนึ่ง เมื่อขึ้นต้นบรรทัดแรก ให้ชิดซ้าย หากมีความยาวเกิน 1 บรรทัด บรรทัดต่อมา ให้ย่อเข้าไป8ตัวอักษร, การใส่จุด (.) นิยมใช้ตามรูปแบบข้างบนนี้

รายละเอียด[1][2][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ส่วน เงื่อนไข รายละเอียด
ชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ใช้ ชื่อสกุล (Last name) ขึ้นก่อน แล้วตามด้วย ชื่อต้น (First name) และชื่อกลาง (Middle name) ตามลำดับ แต่สำหรับชื่อคนไทย แม้จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ต้องเอาชื่อสกุลขึ้นก่อน
ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ นั้นไว้ข้างหลังชื่อ โดยหลังชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา ส่วนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ อาชีพ หรือยศ ให้ตัดออกไป เช่น พล.ต.อ. วสิษฐ์ เดชกุญชร ลงเป็น วสิษฐ์ เดชกุญชร ยกเว้น นามแฝง เช่น ว.วินิจฉัยกุล, ดร.ป๊อป, หลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
การลงชื่อผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ สมาคม เป็นต้น ให้ลงชื่อหน่วยงาน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และตามด้วยฐานะของหน่วยงาน เช่น การศึกษานอกโรงเรียน, กรม แรงงานและสวัสดิการสังคม, กระทรวง เป็นต้น
หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.
หากมีผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งทั้งสามคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคและคำว่า และ. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น สังวร ปัญญาดิลก, วลัย ชวลิตธำรง และสุมนตรา ปิยะเกศิน.
หากมีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่งคนแรก และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์. เช่น อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ. การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ปานเทวา

การพิมพ์, 2541.

หากเป็นหนังสือแปลจากต่างประเทศ ให้ใช้หลัก ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.แปลโดย ชื่อผู้แปล.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
ครั้งที่พิมพ์ เมื่อพิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ โดยใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.) ต่อท้าย
สถานที่พิมพ์ หากมี ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนั้นๆ
หากไม่มี ให้ใช้ (ม.ป.ท.) คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( : )
สำนักพิมพ์ หากมีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์
หากมีคำที่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ตัดออกเหลือเพียงชื่อสำนักพิมพ์
หากไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้ (ม.ป.พ.) แทนเพียงครั้งเดียว หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
ปีที่พิมพ์ หากไม่มี ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) ถ้าหนังสือไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ท., หรือ ม.ป.ป.) หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

ลักษณะการเขียนบรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. แหล่งที่สืบค้น (วัน เดือน ปีที่สืบค้น)

ตัวอย่างเช่น ....

สุกรี เจริญสุข. ในหลวงกับพระอัจฉริยภาพด้านการดนตรี. http://kanchanapisek.or.th/articles/music.th.html (1 กรกฎาคม 2551)

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. เทมส์-ปาลิตา. 2549. การเขียนบรรณานุกรม. เด็กดีดอตคอม. เข้าถึงได้จาก : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=657681. เรียกข้อมูลวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551.
  2. ม.ม.ป. การเขียนบรรณานุกรม. pittajarn.lpru.ac.th. เข้าถึงได้จาก : http://pittajarn.lpru.ac.th/~prayad/slide12.ppt . เรียกข้อมูลวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551.