ข้ามไปเนื้อหา

ปลาแซลมอน

จาก วิกิตำรา

ปลาแซลมอน เป็นปลาที่กำเนิดในน้ำจืด เจริญเติบโตและใช้ชีวิตในน้ำเค็ม มีพฤติกรรม การดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ต่างจากปลาทั่วไป อาศัยในน้ำเค็มเป็นหลัก แต่ฤดูวางไข่ปลาจะว่ายทวนกระแสน้ำ เพื่อผสมพันธ์ในน้ำจืด หลังจากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะตาย ลูกปลาที่ฟักออกมาจากไข่ จะว่ายน้ำออกสู่ทะเล เมื่อโตเต็มวัยและถึงเวลาวางไข่ ก็จะอพยพกลับไปวางไข่ยังซึ่งถิ่นกำเนิด[1]

ปลาแซลมอนที่นำมาบริโภคร้อยละ 60 มาจากการเพาะเลี้ยง โดยแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญของโลกอยู่ในประเทศนอร์เวย์ และ ชิลี[2]

ในธรรมชาติปลาแซลมอนจะกินสัตว์ทะเล เช่น กุ้งตัวเล็ก ๆ รวมทั้งพืชทะเล[3]

การเพาะเลี้ยง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
พื้นที่เพาะเลี้ยง

บริเวณที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน คือ ชายฝั่งทะเล โดยที่ประเทศนอร์เวย์มีสภาพเหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงมากที่สุด เนื่องจากแนวชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์สามารถป้องกันภัยอันเกิดจากธรรมชาติ เช่น ลมมรสุม คลื่นยักษ์ ทั้งยังมีอุณหภูมิเหมาะสม

นอกจากนอร์เวย์แล้ว ประเทศชิลีก็มีสภาพทางภูมิศาสตร์เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง โดยมีชายฝั่งเป็นแนวยาว ทั้งยังใกล้กับแหล่งอาหารสำคัญของปลาแซลมอน

ส่วนแหล่งเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา อังกฤษ ก็จัดเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก

รูปแบบการเพาะเลี้ยง

การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน นิยมเลี้ยงในกระชัง หรืออาจทำเป็นคอกที่มีหลังคาปิดบางส่วนในบริเวณชายฝั่ง อาจเป็นพื้นที่ชายฝั่ง หรือบริเวณปากอ่าว และจะเป็นคอกที่มีขนาดใหญ่ สามารถลอยน้ำได้ โดยให้ปลาแซลมอนอาศัยอยู่ไว้ในน้ำทะเลเหมือนธรรมชาติจริง

การอนุบาลตัวอ่อน

ปลาแซลมอนจะวางไข่ในน้ำจืดโดยตัวอ่อนฟักออกมาจะทำการเลี้ยงในน้ำจืดระยะหนึ่ง เมื่อโตได้ขนาดที่จะว่ายออกทะเลเหมือนธรรมชาติจะย้ายไปยังกรงหรือคอกที่จัดทำไว้ในน้ำเค็ม หรือ บริเวณชายฝั่ง เพื่อให้เจริญเติบโตมีขนาดตามที่ต้องการของตลาด[2]

อาหาร

อาหารหลักที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอนคือปลาป่น นอกจากนี้ยังใช้ เลือด เศษเนื้อ ขนไก่ โค แกะ หมู จะถูกนำมาผสมลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา[4]

wikt
wikt
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของ