ปุ๋ยหมัก
หน้าตา
ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมัก อาจใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน เป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้วย
ปัจจัยที่จำเป็นต่อการทำปุ๋ยหมัก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
- ควรเลือกบริเวณใกล้กับแหล่งซากสัตว์และซากพืช ให้มากที่สุด และสะดวกในกานขนย้ายไปใช้
- ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แต่ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำบริโภค
- ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง
การเตรียมวัสดุ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ซากพืช เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ้าย ซากพืชตระกูลถั่วต่างๆทั้งที่เป็นหญ้าสดและหญ้าแห้ง ใบไม้ทุกชนิด เป็นต้น
- ซากสัตว์ หรือ ปุ๋ยคอก เป็นแหล่งของจุลินทรีย์และอาหารของจุลินทรีย์หรืออาจจะใช้สารเร่งที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย
- ปุ๋ยเคมี ในการทำปุ่ยหมักมักมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ให้เแก่จุลินทีรย์ เช่น การเพิ่มธาตุไนโตรเจนลงในกองปุ๋ย ซึ่งจะใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือ ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืชในกองปุ๋ยหมัก โดยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงในกองปุ๋ยจะถูกจุลินทรีย์นำไปใช้และแปรสภาพให้เป็นสารอินทรีย์ไนโตรเจน
- ปูนขาว เป็นการใส่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตและการย่อยสลายซากพืชจากจุลินทรีย์ โดยการใช้ปูนขาว ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1ตัน
- อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย
ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ชั้นล่างสุดหรือชั้นที่ 1 เมื่อนำวัสดุที่เป็นซากพืชมากองจนได้ความหนาขนาด 30-40 cm โดยมีขนาดความกว้างและความยาวตามต้องการ รดน้ำให้ชุ่มและเหยียบย่ำหรืออัดให้แน่น เพื่อให้น้ำแทรกซึมเข้าสู่เศษวัสดุ โรยทับด้วยปุ๋ยคอกให้ทั่ว หนาประมาณ 5 cm รดน้ำและรดสารเร่งที่เตรียมไว้เป็นสารละลายตามความเข้มข้นที่ระบุไว้ในฉลาก และหว่านปุ๋ยเคมีทับลงเป็นชั้นบางๆ
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่อยู่ถัดขึ้นมา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 คือ นำเศษวัสดุมากองต่อขึ้นจากชั้นที่1 ให้ได้ความหนาประมาณ 30-40 cm รดน้ำให้ชุ่มและเหยียบให้แน่น โรยปุ๋ยคอก สารเร่ง และสารเคมีลงไปบนผิวหน้า
- ชั้นที่ 3 - 4 ทำเป็นชั้นๆ ให้แต่ละกองมี4ชั้น และ ชั้นบนสุดนำดินมาโรยทับเอาไว้ให้มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพราะจะช่วยป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ย ช่วยป้องกันน้ำฝนชะล้างและความร้อนจากแสงแดด และเพื่อช่วยรักษาระดับความชื้นภายในกองปุ๋ย
การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
- ควรตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการบีบเศษวัสดุจากกองปุ๋ย
- การกองปุ๋ยปุ๋ยแบบชนิดกลับกอง จะมีการจัดวางกองเป็นชั้น แล้วมีการกลับกองทุก 10-15 วัน
- การกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง จะทำแบบเดียวกับแบบชนิดกลับกอง แต่มีการทำช่องระบายอากาศไว้
ลักษณะปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้แล้ว
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- อุณหภูมิในกองลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆกองปุ๋ย
- สีของเศษวัสดุเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ย
- ไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ
- อาจมีหญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้
การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- การใช้ปุ๋ยหมักในการเตรียมแปลงในการปลูกผักและพืชไร่และไม้ดอก
- ใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้า
- การใช้ปุ๋ยหมักกับการปลูกพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะปลูก
- การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผล