ผู้ใช้:Jenjira Sumukda/กระบะทราย

จาก วิกิตำรา

แม่แบบ:โปร


การปกครองส่วนท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา การปกครองท้องถิ่นสหรัฐอเมริกาเป็นผลผลิตของมลรัฐ กฎหมายต่างๆที่ใช้เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละมลรัฐ แต่ละมลรัฐจะเป็นผู้กำหนดขอบเขตของ[1] รัฐบาลท้องถิ่นเป็นหน่วยงานการปกครองที่ต่ำกว่ามลรัฐต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมลรัฐเพราะอำนาจการออกกฎหมายที่สูงสุดในรัฐหนึ่งก็คือ สภานิติบัญญัติการใช้อำนาจหรือการมีอำนาจอย่างกว้างขวางมากเพียงใดของหน่วยการปกครองท้องถิ่นก็อยู่ที่กฎหมายมลรัฐจะมอบให้และหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นไม่อาจจะคัดค้านต่อศาลยุติธรรม [2]

โครงสร้างการปกครองของสหรัฐอเมริกา

  • รัฐบาลสหพันธรัฐ(อังกฤษ: Federal Government) จำนวน 1 แห่ง
  • รัฐบาลมลรัฐ (อังกฤษ: States Government) จำนวน 50 แห่ง
  • รัฐบาลท้องถิ่น(อังกฤษ: Local Government)
  1. เคาน์ตี (อังกฤษ: County) จำนวน 3,033 แห่ง
  2. เทศบาล (อังกฤษ: Municipality) หรือซิตี (อังกฤษ: City) จำนวน 19,492 แห่ง
  3. ทาวน์ชิปหรือทาวน์ (อังกฤษ: Township or Town) จำนวน 16,519 แห่ง
  4. เขตโรงเรียน (อังกฤษ: School District) จำนวน 13,051 แห่ง
  5. เขตพิเศษ (อังกฤษ: Special District) จำนวน 37,381 แห่ง
  • รวม 89,527 แห่ง [3]

เหตุผลที่สหรัฐอเมริกาปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สหรัฐอเมริกาเป็นการปกครองแบบสหพันธรัฐ เป็นการปกครองแบบรัฐธรรมนูญจัดสรรอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลส่วนย่อยคือ มลรัฐกับท้องถิ่นเพื่อให้มีอำนาจคู่กัน เช่น การออกกฎหมายหรือการเก็บภาษี สหพันธรัฐได้บังการปกครองเอาไว้อย่างชัดเจนไม่ใช่รัฐบาลส่วนย่อยแบ่งอำนาจกันเอง อำนาจของสองรัฐบาลทั้งสองมีที่มาจากรัฐธรรมนูญและไม่สามารถออกกำหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้ รัฐบาลทั้งสองระดับสามารถใช้อำนาจโดยผ่านตัวแทนได้ [4]

รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปกครองส่วนท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีรูปแบบคือ เคาน์ตี (อังกฤษ: County) เทศบาล(อังกฤษ: Municipality)ทาวน์และทาวน์ชิป (อังกฤษ: Township or Town) เขตพิเศษ (อังกฤษ: Special District)และเขตโรงเรียน (อังกฤษ: School District)แต่ได้มีการจัดไว้สองประเภท ประเภทแรกคือการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป (general-purpose local government) ได้แก่ เคาน์ตี เทศบาล ทาวน์และทาวน์ชิป มีหน้าที่อย่างเช่น การปราบปรามอาชญากรรม ดับเพลิง ลาดยาง เก็บขยะ ดูแลสวนสาธารณะ บริการประปา [5]ประเภทที่สองคือการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์เดี่ยวได้แด่เขตพิเศษและเขตโรงเรียนเขตโรงเรียนจะมีหน้าที่จัดการเรื่องโรงเรียนอย่างเดียวและเขตพิเศษ มีหน้าที่จัดหาน้ำให้ประชาชนเท่านั้น[6]

เคาน์ตี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากในข้อมูลปี ค.ศ.2012 มลรัฐเคานืตีมีอยู่ทั้งหมด 3,033 แห่ง เคาน์ตีมีอยู่ทุกหนแห่งยกเว้นมลรัฐที่ไม่มีเคาน์ตี เช่น มลรัฐ ไอส์แลนด์ และกรุงวอชิงตันดีซีที่เป็นเมืองหลวง

  • เหตุผลของการก่อตั้งเคาน์ตี

เคาน์ตีเป็นส่วนเสริมของมลรัฐถูกสร้างโดยมลรัฐเพื่อทำหน้าที่ในระดับท้องถิ่นหน้าที่หลักได้แก่ ประเมินและเก็บภาษี จัดการเลือกตั้งในท้องถิ่น บังคับใช้กฎหมายทำงานทะเบียน เช่น การซื้อขายที่ดิน การแจ้งเกิดตาย และบำรุงรักษาถนน ต่อมามีการเจรฺญเติบโตของประชากรทำให้เคาน์ตี้มีหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ โรงพยาบาล ควบคุมมลพิษ ขนส่งมวลชน พัฒนาอุตสาหกรรม บริการสังคมและคุ้มครองผู้บริโภค เคาน์ตี้ไม่ใช่หน่วยงานของมลรัฐเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในการตัดสินใจเองประชาชนในมลรัฐ 38 แห่ง ได้ออกเสียงยอมรับกฎหมายปกครองตนเองซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้เคาน์ตีมีอำนาจในการตัดสินใจที่มากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็ต้องภายใต้การควบคุมของมลรัฐ

  • โครงสร้างการปกครองของเคาน์ตี

โครงสร้าที่เป็นหลักมาตั้งแต่อดีตคือมีผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเรือกว่า "คณะกรรมาธิการ" (อังกฤษ: board of commissioners) ทำหน้าที่คือการออกข้อบัญญัติ อนุมัติงบประมาน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คณะกรรมาธิการมีจำนวน 3-5 คน มีหนึ่งตนเป็นประธานกรรมาธิการและประชุมกันเดือนละสอครั้ง กรรมาธการไม่ได้มีอำนาจในการทำงานทุกอย่างเพราะมีเจ้าหน้าที่เคาน์ตีอื่นมาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกันส่วนใหญ่ได้แก่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม อัยการ เสมืยน สมัห์บัญชี เจ้าหน้าที่ประเมินภาษี ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านนี้อาจกลายเป็ฯนักการเมืองที่มีอำนาจในการควบคุมหน่วยงานในเคา์ตี โครงสร้างในการปกครองของเคาน์ตีถูกวิจารณ์ว่าไม่มีหน้าที่ในการบริหาารมาจากการเลือกตั้งเหมือนนายกเทศมนตรี การปกครองดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการ จากการวิจารณ์ดังกล่าวทำให้มีการเสนอให้ปฏิรูปโครงสร้างของเคาน์ตี ซึ่งมีข้อเสนอให้ปรับใหม่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่หนึ่งเป็ฯสภาและผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง (อังกฤษ: county council-elected executive plan) เกิดการแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกัน ส่วนคณะกรรมธิการยังคงมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย อนุมัติงบประมาณ ตรวจสอบการเงินของเคาน์ตี ส่วนฝ่ายบริหารเป็นผู้จักเตรียมงบประมาณ บริหารหรือนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจุบันมีเคาน์ตีกว่า 400 แห่งนำรูปแบบนี้ไปใช้ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือเป็นสภาและผู้บริหารมืออาชีพ (อังกฤษ: council-administrator plan) โดยคณะกรรมาธิการจะจ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาบริหาร ข้อดีคือมีมืออาชีพเข้ามารับผิดชอบ ปัจจุบันมีประมาณ 1,000 แห่ง ใช้รูปแบบนี้ โครงสร้างมีผลกระทบต่อการบริหารเคาน์ตีและรูปแบบกรรมาะิการที่ผ่านมามีข้อบกพร่องจึงเกิดมีการเปลื่ยนแปลงไปใช้รุปแบบใหม่หลายแห่ง

  • ผลของการปฏิบัติงานของเคาน์ตี

เคาน์ตีในปัจจุบันมีความเด่นกว่าเคาน์ตีในอดีตประชากรที่อยู่เลยชาญเมืองออกไปมีการรวมตัวกันเป็นคาน์ตีผลักดันให้มีการปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น เคาน์ตีถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลงานที่แปลกกันออกไป ส่วนเคาน์ตีและมลรัฐมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น เป็นเพราะมลรัฐมีรายได้ที่ไม่พอจ่ายจึงได้มอบหมายโครองการให้เคาน์ตีไปทำโดยเฉพาะบริการที่ขาดแคลนงบระมารและการดุแลสุขภาพในระยะยาวเคานืตียังถูกคาดหวังว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการสร้างบ้านและการวางแผนการใ้ช้ที่ดิน ขณะยายบริการออกไป[7]

เทศบาล[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในสหรัฐอเมริกาคำว่า เทศบาล (อังกฤษ: Municipality) กับคำว่า ซิตี (อังกฤษ: City) จะเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ หมายถึงเป็นเขตที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นเขตที่ใหญ่ ในภาษาไทยบางครั้งจึงแปลซิตีว่านคร เป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด ซิตีมีความแตกต่างกันกับเคาน์ตีคือการเกิดและการกำหนดหน้าที่สำหรับการเกิดซิตีนั้นซิตีเป็นหน่วยหลักของการปกครองท้องถิ่นของสังคมส่วนใหญ่

  • การจัดตั้งซิตี

ซิตีจัดตุังขึ้นตามกดหมายของแต่ละเขตพื้นทที่ขั้นตอนส่วนมากในการจัดตั้งซิตีคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเคาน์ตียื่นต่อมลรัฐเพื่อขอให้ออกรัฐธรรมนูญการรวมกันเป็นซิตี พื้นที่ที่ขอตั้งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้วย เช่น จำนวนของประชากรหรือความหนาแน่นขั้นต่ำ ส่วนใหญ่ต้องลงประชามติโดยให้ประชาชนออกออกเสียงว่าต้องการรวมหรือไม่ถ้าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ในการจัดตั้งซิตีมลรัฐก็จะออกรัฐธรรมนูญจัดตั้งซิตี ซิตีที่สร้างส่วนใหญ่มีสิทธิเลือกเจ้าหน้าที่ เก็บภาษี และให้บริการแก่ประชาชนแต่ไม่ใช่ทุกซิตีที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ เช่น ซิตีในมลรัฐแคลิฟอเนียร์ส่วนใหญ่ดำเนินโดยตากฎหมายของมลรัฐมากกว่ารัฐธรรมนูญซิตีใหม่ๆจะเกิดขึ้นมาทุกๆปี ซิตีเหมือนเคาน์ตีตรงที่เป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป จุดต่างจากเคาน์ตีคือ มีอำนาจการตัดสินใจและมการใช้ดุลพินิจมากว่า มลรัฐเกือบทุกแห่งมีบทบัญญัติทางปกครองตนเองโดยให้จัดตั้งซิตีแม้ว่าบางมลรํฐจะยังไม่สามารถจัดตั้งซิตีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม โดยทั่วไปซิตีให้บริการประชาชนได้มากกว่าเคาน์ตี งานหลักของซิตีคือ ตำรวจ ดับเพลิง งานสาธารณะ สวนสาธารณะและการพักผ่อนหย่อนใจ มีบางซิตีที่มีงานเพิ่ม เช่น ดูแลสุสาน การเคหะ ท่าเรือ งานเทศกาล ศูยน์การประชุม เทศบาลซิตีจะทำหน้าที่เก็บขยะ กวาดถนน ตรวจร้านอาหาร รักษาบำรุงสัญญาณไฟและปลูกต้นไม้

  • โครงสร้างการปกครองซิตี

โครงสร้างของซิตีของซิตี้ได้กำหนดไวในกฎบัตร(อังกฤษ: Charter) ซึ่งตราขึ้น กฎบัตรที่ใชกับซิตี้จะมีหลายประเภทหลักๆ เชน กฎบัตรธรรมดา (อังกฤษ: General Charter) กฎบัตรโฮมรูล (อังกฤษ: Home-Rule) และกฎบัตรพิเศษ (อังกฤษ: Special Charter)เปนตน กฎบัตรเหลานี้มลรัฐจะตราขึ้นมาเพื่อใชกับแตละซิตี้ [8] รูปแบบโครงสร้างของซิตีมี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. รูปแบบนายกเทศมนตรีและสภา(อังกฤษ: Mayor-Council from) รูปแบบนี้สภาเป็นผู้แต่งตั้งหัวหน้าฝ่าย ซึ่งจะแบ่งออกได้อีก 2 รูปแบบตามอำนาจของนายกเทศมนตรีคือ นายกเทศมนตรีเข้มแข็ง ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารมีอำนาจเทียบเท่ากับผู้ว่าการรัฐรับผิดชอบในการบริหารงานประจำ จ้างและไล่ผู้บริหารระดับสูงออก จัดเตรียมในส่วนของงบประมาณและมีอำนาจยับยั้งมติของสภา ส่วนอีกรูปแบบคือ นายกเทศมนตรีอ่อนแอ มีนายกเทศมนตรีเพื่อเป็นบทบาทและสัญลักณ์ ส่วนอำนาจบริหารมาจากสภาซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นสามชิกด้วย สภาเป็นผู้จัดการบริหารเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และจัดงบประมาณ นายกเทศมนตรีไม่มีอำนายับยั้งมติสภา แต่จะทำงานในด้านพิธีกร เช่นกาารกล่าวสุนทรพจน์ เป็นประธานประชุม เปิดงานเทศกาล แต่นายกเทศมนตรีอ่อนแอนี้เป็นคนที่มีอำนาจทางการเมืองแต่ต้องอาศัยอำนาจที่ไม่เป็นทางการ
  2. รูปแบบสภาและผู้จัดการ(อังกฤษ: Council-manager from) เป็นรูปแบบที่เน้นการแยกอำนาจการเมืองออกจากการบริหาร คือ สภากำหนดนโยบายส่วนผู้จัดการนำนโยบายไปปฏิบัติ (สภาจ้างนักบริหารมืออาชีพมาบริหารซิตี )ผู้จัดการซิตีแต่งตั้งและถอดถอนหัวหน้าฝ่าย ควบคุมการบริการ กำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลและจัดเตรียมงบประมาณเสนอสภา ผู้จัดการเป็นคนที่มีความสำคัญมากในการบริหารจัดการซิตีและการที่ผู้จัดการมีอำนาจแนะนำสภาจึงมีอำนาจมาก แต่เมื่อการที่ผู้จัดการแนะนำสภาก็ยากที่จะแยกฐานะผู้จัดการระหว่างการเป็ฯผู้บริหารกับนักการเมืองออกจากกัน เพราะผู้จัดการมีอิทธิพลในการต่อการกำหนดนโยบายของสภาได้
  3. รูปแบบคณะกรรมาธิการซิตี(อังกฤษ: City commission from) รูปแบบนี้เป็นการรวมเอาสภานิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเข้าด้วยกัน คณะกรรมาธิการเป็นสมาชิกองค์การที่ปกครอง

ซิตีแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหัวหน้าฝ่าย กำหนดนโยบายและเป็นผู้บริหาร รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด (ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไม่ตรงกันว่าการปกครองแบบใดที่ดีที่สุดแต่ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรีเข้มแข็งดีทีสุดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการบริหารที่ชัดเจน

ทาวน์และทาวน์ชิป[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ลักษณะการปกครองของทาวน์

ในมลรัฐนิวอิงแลน์ มีทาวน์ให้บริการเหมือนกับเคาน์ตีและซิตี แต่ทาวน์ในมลรัฐนี้ยังคงรักษาประชาธิปไตยโดยมีการจัดการประชุมในทุกๆปีเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย ประชาชนจะเลือกเจ้าหน้าที่ออกข้อบัญญัติในท้องถิ่น เก็บภาษี อนุมัติงบประมาณ ประชาชนที่มาประชุมนั้นจะทำหน้าทีเป็นสภานิติบัญญัติแม้การประชุมทาวน์จะเป็นประชาธิปไตยทางตรง แต่มีจำนวนน้อยเพราะประชาชนมาประชุมค่อยข้างต่ำผู้ออกเสียงในที่ประชุมต่ำกว่าร้อย10 ส่วนใหญ่แล้วทาวน์ทำหน้าที่คล้ายๆกับหน่วยการปกครองที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ส่วนทาวน์ชิปมีอยูบ้างในบางมลรัฐ เช่น อิลินอยส์ อินเดียนา แคนซัส มิเนโซตาและมิสซูรี เป็นต้น มีลักษณะชนบท มีเนื้อที่เฉลี่ยดดยประมาณ 36 ตารางไมล์และให้บริการเฉพาะด้านถนนและการบังคับกฎหมาย มีคณะกรรมาธการธิการที่มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้คนที่ทำงานในทาวน์ชิปเป็นอาสาสมัครมากกว่ามีเงินเดือนประจำ ทาวน์ชิปมีเขตกว้างมากเท่าใดก็ยิ่งต้องขายาการบริการออกไปให้มากขึ้นเท่านั้น

  • อนาคตของทาวน์และทาวน์ชิป

มีการคาดหมายกันมานานแล้วว่าการปกครองแบบทาวน์และทาวน์ชิปต้องถูกยุบเพราะคนในท้องถิ่นไปเป็นซิตีกันหมด เช่นในปี ค.ศ.2000 ประชาชนที่อาศัยอยู่ทาวน์ชิปในมลรัฐมิเนโซตาได้ตัดสินใจรวมกันเป็นซิตีเพื่อป้องกันการถูกยุบเพื่อรวมกับซิตีอื่นที่อยู่ใกล้ๆ ในแต่ละทาวน์จะเผชิญปัญหาต่างกัน บ้างต้องเผชิญกับการย้ายถิ่นฐานของประชากรจำนวนมากปล่อยให้เคาน์ตีและเขตพิเศษดูแลส่วนที่เหลือ นับเป็นปัญหาว่าทาวน์และทาวน์ชิปยังจำเป็นชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 21 หรือไม่แต่อย่างไรก็ตามทาวน์และทาวน์ชิปก็ไม่นิ่งเฉยแต่ได้มีการรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ชื่อว่า “ สมาคมแห่งชาติทาวน์และทาวน์ชิป ” (อังกฤษ: The National Association of Towns and Townships) และมีศูนย์อบรมชุมชนขนาดเล็กแห่งชาติ(อังกฤษ: The National Center for Small Communities) สำหรับจัดอบรมให้คำปรึกษาแก่ทาวน์ต่างๆ และในปัจจุบันทาวน์เล็กๆได้มีกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการอำนวยความสะดวกต่างๆ

เขตพิเศษ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปกครองแบบเขตพิเศษจัดตั้งขึ้นเพื่อทำในสิ่งที่การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบอื่นไม่ทำหรือไม่สามารถที่จะทำได้ คือบริการตามความต้องการของคนในพื้นที่นั้นๆเฉพาะแห่ง การเกิดเขตพิเศษเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ทางแรกคือเกิดขึ้นเพราะมลรัฐสร้างเขตพิเศษตามกฎหมายเฉพาะ ทางที่สองคือ หน่วยปกครองท้องถิ่นเป็นผู้จัดตั้งเขตพิเศษเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ ทางที่สามคือ ประชาชนเรียกร้องให้จัดตั้งเขตพิเศษ ซึ่งมักจะมีการลงมติตามมา เขตพิเศษบางเขตมีอำนาจในการเก็บภาษี บางเขตค่าบริการ เงินอุดหนุน รายได้จากการขายพันธบัตรเป็นเงินทุน เขตที่มีการเก็บภาษีคณะกรรมการมาจากการเลือกตั้ง เขตพิเศษไม่ได้จัดองค์การเหมือนกันร้อยละ 92 ของเขตจะมีหน้าที่เดี่ยวแต่จะทำหน้าที่ต่างกัน แต่หน้าที่ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน คือ การจัดการทรัพยากร ป้องกันอัคคีภัย พัฒการเคหะและชุมชุน บริการน้ำดื่มและระบายน้ำเสีย ในเรื่องของงบประมาณและเจ้าหน้าที่ก็แตกต่างกันมาก ตั้งแต่เล็กน้อยจนมีขนาดใหญ่โต

  • ความจำเป็นของเขตพิเศษ

การทำงานของเขตพิเศษมีการทับซ้อนกับการทำงานของการปกครองในท้องถิ่นแบบอื่นแต่ทำไมจำต้องมีเขตพิเศษอีกสำหรับคำตอบที่มีมาตั้งแต่ในอดีตนั้นคือเน้นข้อบกพร่องของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ

  1. ด้านเทคนิค ในบางมลรัฐซิตีไม่อาจขยายการบริการเกินขอบเขตที่กำหนดได้ และยังมีปัญหาคือปัญหาที่แก้อาจไม่ตรงกับเขตบริการ เช่น แม่น้ำไหลผ่านเคาน์ตีหลายแห่งและอาจท่วมฝั่งของแต่ละเคาน์ตีเมื่อฝนตกหนักซึ่งมันเป็นปัญหากระทบส่วนต่างๆของแต่ละเขตและต้องดูขนาดปัญหาด้วย การแก้ปัญหาของแต่ละเขตอาจดูมีเหตุผลแต่จะแก้เขตใดเขตหนึ่งในปัญหาเขตของตนไม่ได้เพราะไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด
  2. ด้านการเงิน การปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละเขตมีการจำกัดทางการเงินและข้อจำกัดในการเก็บภาษีแต่ละแห่งมีภาระหนี้สิน ความต้องการบริการในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่ารายรับของแต่ละเขต หากใช้เขตพิเศษเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะพ้นภาระหนี้สินเพราะเขตพิเศษจะดีกว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นตรงที่ว่ามีการเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้ซึ่งคิดจากค่าใช้จ่ายจากสัดส่วนของผู้บริโภคโดยตรง
  3. ด้านการเมือง เพราะว่ากฎหมายได้มีการจำกัดอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น เช่น เคาน์ตีมีอำนาจจำกัดประชาชนเขตชาญเมืองอาจได้รับบริการเท่าที่เคาน์ตีจัดให้ แต่เขตพิเศษบางแห่งกระตุ้นให้รัฐบาลหันมาสนใจการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นอยู่มากกว่าเดิม เมื่อสร้างเขตพิเศษขึ้นมาแล้วเขตพิเศษจะมีอำนาจทางการเมืองขึ้นมา การปกครองท้องถิ่นที่มีอยูอาจถูกต่อต้านจากกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการมีเขตพิเศษเอาไว้
  • ปัญหาของเขตพิเศษ

ปัญหาของเขตพิเศษจะอยู่ที่ประสิทธิภาพในการบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชนแต่ส่วนมากจะมองด้วยอคติ คือ เขตพิเศษขาดความรับผิดชอบ ประชาชนไม่ค่อยรู้ว่ามีเขตพิเศษ เขตพิเศษจึงทำหน้าที่โดยไม่ถูกตรวจสอบ จาการวิจัยของเบินส์ (Bruns) พบว่าการมีเขตพิเศษถูกจัดตั้งเพราะการเมืองผู้ี่ได้รับประดยชน์ในส่วนมากเป็นผู้ที่มีฐานะดีอยูแล้ว เช่น นักธุรกกิจ นักพัฒนาและสมาคมชุมชน จากการวิจัยในท่าเรือและท่าอาศยาน 100 แห่งพบ มีคณะกรรมการการบริหารไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนซึ่งแตกต่างจากคณะกรรมาการบริหารที่มาจากการแต่งตั้ง เขตพิเศษจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปํญหาที่ซับซ้อนและยังต้องเผชิญการแข่งขันจากเคาน์ตีและซิตีอีก จากการศึกษาพิเศษ 300 เมื่อเปรียบเทียบกับการปกครองท้องถิ่นอื่นแล้วเขตพิเศษต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่า เมื่อรับรู้ปัญหานี้แล้วรัฐบาลจึงจับตาดูเขตพิเศษอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะบทบาทในการให้บริการของเขตพิเศษและในมลรัฐหลายแห่งได้มีการจัดตั้งเขตพิเศษมากขึ้น

เขตโรงเรียน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ถือเป็นการปกครองท้องถิ่นส่วนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะจึงถือเป็นเขตพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มของการปกครองเขตดรงเรียนเป็นไปตามทฤษฎีว่า " ยิ่งน้อย ยิ่งดี " (อังกฤษ: Fewer is better) แนวคิดในการจัดตั้งเขตโรงเรียนเกิดจากการต้องการอนุรักษ์ของชุมชนแต่ปัจจุบันต้องใช้เงินจำนวนมาก

  • การเมืองในเขตโรงเรยน

การปกครองในเขตโรงเรียนในสหรัฐอเมริการเป็นการเมือง เพราะโรงเรียนปกครองโดยคณะกรรมการที่มีอำนาจในเขตโรงเรียน คณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก 5-7 คนที่มมาจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่กำหนดนโยบาย การปกครองโรงเรียนเหมือนกับการปกครองซิตีที่ลงทุนเพื่อการปฏิรูป ช่วงทศวรรษที่ผ่านมากล่าถึงการปฏิรูปโรงเรียนเป็นอย่ามาก บางแห่งเกรงว่าดรงเรียนจะใช้เงินในทางที่ผิดและมีผลสัมฤทธิ์การศึกษาต่ำจึงได้มีการเปลื่ยนการควบคุมจากเขตดรงเรียนมาขึ้นกับซิตีโดยตรง

  • ปัญหาของเขตโรงเรียน

สิ่งที่เป็นปัญหาคือทำอย่างไรจึงจะมีเงินเพียงพอในการจัดการศึกษาเพราะยอมรับว่าดรงเรียนที่มีเงินเพียงพิที่จะจัดการศึกษาได้ดีกว่าดรงเรียนที่ไม่มีเงินความแตกต่างของโรงเรียนมาจากทรัพย์สินซึ่งเป็ฯรายได้สำ๕ัญที่สุดของโรงเรียน มลรัฐพยายามจะเข้ามาแทรกแซงโดยใช้สูตรความเท่าเทียมเพื่อที่จัดสรรเงินให้เขตดรงเรียน เขตโรง้รียนที่ยากจนกว่าจะได้รับเงินอุดหนุนมากว่าเขตที่ร่ำรวย แม้มลรัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนเพื่มแต่ก็ยอมให้โรงเรียนแตกต่างกัน โรงเรียนที่ร่ำรวยอยู่แล้วก็จะเก็บเกี่ยวผลประดยชนืทรัพยืสินที่มีอยุ่ได้แต่โรงเรียนที่ยกจนก็ใช้เงินจากเงินอุดหนุน ระบบการเงินแบบนี้ถูกมองว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ สภนิติบัญญัติจึงพยายามออกแบบให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น[9]

ความสัมพันธ์ระหว่างมลรัฐกับการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาไม่ได้มอบอำนาจทางการเมืองไว้ให้การปกครองส่วนท้องถิ่นอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมากจากมลรัฐ รัฐธรรมนูญยุคแรกๆกล่าวถึงการปกครองไว้ไม่กี่แห่งคือกล่าวถึงเคาน์ตีเป็นกลไกการปกครองมลรัฐมายาวนานการปกครองท้องถิ่นของสหรัฐไม่มีฐานะตามรัฐธรรมนูญของประเทศแต่สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐเป็นผู้จัดตั้งตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ได้กำหนดขอบเขตไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐและไม่ให้กระทำนอกเหนืออำนาจ มลรัฐได้ออกกฎหมายหลายฉบับบางฉบับยอมรับการปกครองส่วนย่อยแตกต่างกันแต่บางฉบับออกมาเพื่อควบคุมท้องถิ่นตามอำเภอใจทำตามสภานิติบัญญัติของมลรัฐนี้จนทำให้ประชาชนในหลายๆรัฐเกิดความไม่พอใจและได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้สภานิติบัญญัติออกกฎหมายพิเศษมาบังคับท้องถิ่น มลรัฐอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐเป็นแนวทางจัดสรรอำนาจให้ท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนท้องถิ่นควบคุม ส่วนมลรัฐควบคุมและส่วนที่ควบคุมร่วมกันหือส่วนใช้อำนาจร่วมกัน ผ่านสองทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการจัดสรรอำนาจซับซ้อนมากขึ้นเพราะแต่ละรัฐมีจำนวนท้องถิ่นและมีการออกกฎหมายที่ต่างกันนอกจากนี้ท้องถิ่นอาจร้องขอให้สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐออกกฎหมายพิเศษได้อีกแม้ว่า 41 มลรัฐจะห้ามไม่ให้สภานิติบัญญัติออกกฎหมายพิเศษที่กระทบต่อท้องถิ่นแต่ไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เช่น มลรัฐหลายแห่งแยกเคาน์ตีออกจากกันปัจจุบันมลรัฐแต่ละแห่งสามารถออกกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นได้เอง เช่นมลรัฐเม็กซิโก แม้ว่าซิตีและเคาน์ตีจะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐแต่ยังต้องส่งงบประมาณให้หน่วยปกครองท้องถิ่นอนุมัติ การใช้อำนาจท้องถิ่นเป็นอิสระขึ้นอยู่กับแต่ละมลรัฐส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐธรรมนูญมลรัฐเขียนไว้ไม่ชัด เป็นผลให้ต้องตีความแล้วมีเรื่องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลตัดสินเป็นคดีๆไป[10]

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก,"การปกครองท้องถิ่น",http://law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-5.pdf,หน้าที่ 33
  2. เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์,"การปกครองสหรัฐอเมริกา",2512
  3. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,"แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น",เล่มที่1,บริษัทบพิธการพิมพฺ์ จำกัด,2555,ISBN 978-616-770710-5,หน้าที่114
  4. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,"แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น",เล่มที่1,บริษัท บพิธการพิมพิ์ จำกัด,2555,ISBN 978-616-7707-10-5 หน้าที่113
  5. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,"แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น",เล่มที่1,บริษัทบพิธการพิมพฺ์ จำกัด,2555,ISBN 978-616-770710-5,หน้าที่116
  6. http://www.local.moi.go.th/document%209.pdf
  7. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,"แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น",เล่มที่1.บริษัทบพิธการพิมพฺ์ จำกัด,2555,ISBN 978-616-770710-5,หน้าที่116-119
  8. http://www.local.moi.go.th/document%209.pdf
  9. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ.แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น.เล่มที่1.บริษัทบพิธการพิมพฺ์ จำกัด.2555.ISBN 978-616-770710-5. หน้าที่120-129
  10. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ.แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น.เล่มที่1.บริษัทบพิธการพิมพฺ์ จำกัด.2555.ISBN 978-616-770710-5. หน้าที่129-130