ภาษาละติน/บทที่ 3
การผันคำนามเพื่อบอกการก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในภาษาละติน การเรียงลำดับคำภายในประโยคจะเป็น ประธาน-กรรม-กริยา แต่ละส่วนอาจสลับที่กันได้ โดยคำนามที่เป็นประธานและกรรมจะผันวิภัตติต่างกันเพื่อบ่งบอกการก (หน้าที่ทางไวยากรณ์) ที่แตกต่างกัน เช่น
Domina fīliam amat. Fīliam domina amat. Amat fīliam domina. Domina amat fīliam. |
นายหญิงชอบลูกสาว |
Fīlia dominam amat. Dominam fīlia amat. Amat dominam fīlia. Fīlia amat dominam. |
ลูกสาวชอบนายหญิง |
จะสังเกตได้ว่า ประธานจะลงวิภัตติด้วย -a ในขณะที่กรรมจะลงวิภัตติด้วย -am
ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาอังกฤษจะมีการกสามชนิด ได้แก่ การกประธาน (nominative) การกเจ้าของ (possessive) และการกกรรม (objective) การกประธานและการกกรรมจะมีวิภัตติเหมือนกัน คือไม่เปลี่ยนรูปคำนาม ในขณะที่การกเจ้าของจะมีวิภัตติเป็น 's หรือ ' ถึงกระนั้น ปฤจฉาสรรพนามจะเห็นสภาพการผันได้ชัดเจนกว่า กล่าวคือ who? > whose? > whom?
ตารางเปรียบเทียบการผันวิภัตติระหว่างอังกฤษกับละตินจะเป็นดังนี้
พจน์ | ภาษาอังกฤษ | ภาษาละติน | ||
---|---|---|---|---|
การผัน who | ชื่อการก | การผัน domina | ชื่อการก | |
เอกพจน์ | Who? | Nominative ประธาน |
domina นายหญิง |
Nominative ประธาน |
Whose? | Possessive เจ้าของ |
dominae ของนายหญิง |
Genitive เจ้าของ | |
Whom? | Objective กรรม |
dominam นายหญิง |
Accusative กรรมตรง | |
พหูพจน์ | Who? | Nominative ประธาน |
dominae นายหญิงทั้งหลาย |
Nominative ประธาน |
Whose? | Possessive เจ้าของ |
dominārum ของนายหญิงทั้งหลาย |
Genitive เจ้าของ | |
Whom? | Objective กรรม |
dominās นายหญิงทั้งหลาย |
Accusative กรรมตรง |
ข้อสังเกตจากตารางเปรียบเทียบการผันวิภัตติของอังกฤษ-ละติน หากคำนามที่มีวิภัตติเอกพจน์ การกประธาน ลงท้ายด้วย -a
- รูปพหูพจน์ การกประธาน จะลงวิภัตติ -ae
- รูปเอกพจน์ การกเจ้าของ จะลงวิภัตติ -ae ส่วนรูปพหูพจน์จะลงวิภัตติ -ārum
- รูปเอกพจน์ การกกรรมตรง จะลงวิภัตติ -am ส่วนรูปพหูพจน์จะลงวิภัตติ -ās
- รูปเอกพจน์ การกเจ้าของ และรูปพหูพจน์ การกประธาน จะมีลงท้ายด้วยวิภัตติเดียวกัน
แบบทดสอบ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงบอกพจน์และการก และแปลคำต่อไปนี้
- Silva, silvās, silvam
- Fugam, fugae, fuga
- Terrārum, terrae, terrās
- Aquās, causam, lūnās
- Fīliae, fortūnae, lūnae
- Injūriās, agricolārum, aquārum
- Injūriārum, agricolae, puellās
- Nautam, agricolās, nautās
- Agricolam, puellam, silvārum