ภาษาละติน

จาก วิกิตำรา

คำนำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาของชาวโรมันมีอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะวิทยาการต่างๆ ของชาวยุโรป เช่น คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินฉบับปี ค.ศ. 1407 (พ.ศ. 1950)

ภาษาละติน (Lingua Latīna) เป็นภาษาของชาวโรมันโบราณซึ่งอาศัยอยู่แคว้นละทีอุม (Latīum ปัจจุบันคือเมือง Lazio) บริเวณริมชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลี โดยมีโรม (Rōma) เป็นศูนย์กลางของแคว้น ภาษาละตินที่อยู่ภายในตำราวิกิฉบับนี้จะเป็นภาษาที่ชาวโรมใช้กันเมื่อสองพันปีที่แล้ว อันเป็นช่วงเวลาทองแห่งวรรณกรรมโรมัน

การเรียนภาษาละตินเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จของการศึกษาภาษา วรรณกรรม และศิลปะวิทยาการของประเทศในแถบยุโรป ตั้งแต่ครั้งโบราณ วรรณกรรม ศิลปะวิทยาการ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ คัมภีร์ทางศาสนา ถูกถ่ายทอดผ่านภาษาละติน ในสมัยก่อนปฏฺิวัติอุตสาหกรรม ภาษาละตินถูกใช้เป็นภาษากลางสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ ผลงานทางวิชาการของนักวิทยาศาสตร์ เช่น ไอแซค นิวตัน ล้วนตีพิมพ์ด้วยภาษาละตินทั้งสิ้น นอกจากนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของคำภาษาอังกฤษในพจนานุกรมต่างๆ ล้วนเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน การศึกษาภาษาละตินจึงช่วยเพิ่มพูนทักษะการใช้และการสร้างคำศัพท์ใหม่ในภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

อนึ่ง ตำราวิกิฉบับนี้เขียนขึ้นโดยแปลและเรียบเรียงขึ้นจากหนังสือ Latin for Beginners ของ Benjamin L. D'Ooge (Ph.D.) ฉบับตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454) ซึ่งประกาศเป็นโดเมนสาธารณะและสามารถเผยแพร่ได้โดยเสรีแล้ว ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดต้นฉบับดิจิตอลได้จากเว็บไซต์ TextKit

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1490

ตำราวิกิฉบับนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ การอ่านออกเสียง คำและการผันคำ และโครงสร้างประโยค

การอ่านออกเสียง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ตัวอักษรและเสียงของตัวอักษร
  2. หลักการแบ่งพยางค์ ความยาวของพยางค์ การลงเสียงเน้นหนัก

คำและการผันคำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ภาพรวมของไวยากรณ์
  2. การผันคำนามแบบที่ 1: การผันคำนามแบบที่ 1, เพศของคำนาม
  3. การผันคำนามแบบที่ 1 (ต่อ): การผันวิภัตติของคำคุณศัพท์ตามเพศ พจน์ และการกของคำนาม, ลำดับคำในประโยค
  4. การผันคำนามแบบที่ 2: การผันคำนามแบบที่ 2
    • เทคนิคการจำ: เทคนิคการจดจำตารางผันคำนาม, เทคนิคการหาโครงสร้างประโยค, เทคนิคการสร้างประโยคด้วยแม่แบบ

โครงสร้างประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • Benjamin L. D'Ooge. Latin for Beginners. The Athenaum Press. 1911. Source: Latin for Beginners.