ภาษาละติน/บทที่ 9
ประเภทของการผันคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนามในภาษาละตินจะแบ่งออกตามประเภทของการผันได้ห้าจำพวก ทั้งนี้จะแบ่งประเภทการผันคำนามตามวิภัตติของรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ
- การผันคำนามแบบที่ 1 ลงวิภัตติรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ -ae
- การผันคำนามแบบที่ 2 ลงวิภัตติรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ -ī
- การผันคำนามแบบที่ 3 ลงวิภัตติรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ -is
- การผันคำนามแบบที่ 4 ลงวิภัตติรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ -ūs
- การผันคำนามแบบที่ 5 ลงวิภัตติรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ -eī
การผันคำนามแบบที่ 2
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนามที่อยู่ในการผันแบบที่ 2 จะลงวิภัตติของรูปเอกพจน์ การกประธาน ด้วย -us, -er, -ir, -um และลงวิภัตติของรูปเอกพจน์ การกเจ้าของ ด้วย -ī ทั้งนี้คำนามที่ลงวิภัตติของรูปเอกพจน์ การกประธาน เป็น -um จะเป็นเพศกลาง ในขณะที่วิภัตติของรูปเอกพจน์ การกประธาน แบบอื่นๆ จะเป็นเพศชาย
การผันคำนามที่ลงวิภัตติด้วย -us กับ -um
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนามที่ลงวิภัตติด้วย -us จะเป็นเพศชาย คำนามที่ลงวิภัตติด้วย -um จะเป็นเพศกลาง คำนามทั้งสองเพศจะผันได้ดังตารางต่อไปนี้
พจน์ | การก | เพศชาย | เพศกลาง | ||
---|---|---|---|---|---|
dominus (เค้าคำ domin-), m. เจ้านาย | วิภัตติ | pīlum (เค้าคำ pīl-), n. หลาว | วิภัตติ | ||
เอกพจน์ | ประธาน | dominus | -us | pīlum | -um |
เจ้าของ | dominī | -ī | pīlī | -ī | |
กรรมรอง | dominō | -ō | pīlō | -ō | |
กรรมตรง | dominum | -um | pīlum | -um | |
ที่มา | dominō | -ō | pīlō | -ō | |
อุทาน | domine | -e | pīlum | -um | |
พหูพจน์ | ประธาน | dominī | -ī | pīla | -a |
เจ้าของ | dominōrum | -ōrum | pīlōrum | -ōrum | |
กรรมรอง | dominīs | -īs | pīlīs | -īs | |
กรรมตรง | dominōs | -ōs | pīla | -a | |
ที่มา | dominīs | -īs | pīlīs | -īs | |
อุทาน | dominī | -ī | pīla | -a |
ข้อสังเกตจากตารางการผันคำนามแบบที่ 2
- วิภัตติของคำนามทั้งเพศชายและเพศกลางจะเหมือนกัน ยกเว้นรูปเอกพจน์ การกประธาน (-us กับ -um) และรูปพหูพจน์ของการกประธานและการกกรรมตรง (-ī กับ -a และ -ōs กับ -a)
- วิภัตติของรูปเอกพจน์ การกอุทาน ของคำนามเพศชายจะลงท้ายด้วย -e ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเพียงข้อเดียว ในขณะที่การกอุทานจะเหมือนกันทุกประการกับการกประธานในการผันคำนามแบบอื่นๆ
ตารางเปรียบเทียบการผันคำนามทั้งสามเพศ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เมื่อเราเปรียบเทียบคำนามทั้งสามเพศ จะเห็นความสัมพันธ์ของการผันคำนามได้อย่างชัดเจน (คลิกที่นี่เพื่อดูเทคนิคการจำ)
พจน์ | การก | เพศหญิง | เพศชาย | เพศกลาง | ข้อสังเกต |
---|---|---|---|---|---|
domina | dominus | pīlum | |||
เอกพจน์ | ประธาน | domina | dominus | pīlum | เป็นไปตามวิภัตติดั้งเดิม |
เจ้าของ | dominae | dominī | pīlī | เพศหญิง -ae เพศชาย/กลาง -ī | |
กรรมรอง | dominae | dominō | pīlō | เพศหญิง -ae เพศชาย/กลาง -ō | |
กรรมตรง | dominam | dominum | pīlum | เพศหญิง -am เพศชาย/กลาง -um | |
ที่มา | dominā | dominō | pīlō | เพศหญิง -ā เพศชาย/กลาง -ō | |
อุทาน | domina | domine | pīlum | เพศชาย -e เพศหญิง/กลางเหมือนกับการกประธาน | |
พหูพจน์ | ประธาน | dominae | dominī | pīlī | เพศหญิง -ae เพศชาย/กลาง -ī |
เจ้าของ | dominārum | dominōrum | pīlōrum | เพศหญิง -ārum เพศชาย/กลาง -ōrum | |
กรรมรอง | dominīs | dominīs | pīlīs | ทั้งสามเพศ -īs | |
กรรมตรง | dominās | dominōs | pīla | เพศหญิง -ās เพศชาย -ōs เพศกลาง -a | |
ที่มา | dominīs | dominīs | pīlīs | ทั้งสามเพศ -īs | |
อุทาน | dominae | dominī | pīla | ทั้งสามเพศเหมือนกับการกประธาน |
ข้อสังเกตจากตารางการผัน
- การกอุทานจะผันเหมือนการกประธานทุกประการ ยกเว้นรูปเอกพจน์ การกอุทาน ของคำนามเพศชาย ที่จะลงท้ายด้วย -e เท่านั้น
- รูปเอกพจน์ของการกประธาน การกกรรมตรง และการกอุทาน ของคำนามเพศกลาง จะผันเหมือนกัน คือวิภัตติ -um ส่วนรูปพหูพจน์ของทั้งสามการกจะผันด้วยวิภัตติ -a เหมือนกัน
- รูปเอกพจน์ การกกรรมตรง ของคำนามเพศชายและเพศหญิง จะลงท้ายด้วย -m ส่วนรูปพหูพจน์จะลงท้ายด้วย -s
- รูปพหูพจน์ การกกรรมรอง และการกที่มา จะเหมือนกันเสมอ
- เสียงลงท้าย -i และ -o จะเป็นเสียงยาวเสมอ เสียงลงท้าย -a จะเป็นเสียงสั้นเสมอ ยกเว้นรูปเอกพจน์ การกที่มาเท่านั้นที่เป็น -ā
การผันตามกันของคำนามในประโยค Copula
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กฎ: ในประโยคที่คำนามเชื่อมด้วย copula (เป็น/อยู่/คือ) คำนามทั้งสองข้างจะต้องผันตามพจน์และการกของซึ่งกันและกัน
คำศัพท์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- bellum, -ī, n. สงคราม (อังกฤษ: rebel - กบฏ)
- cōnstantia, -ae, f. ความคงทน, ความคงที่, ความแข็งแกร่ง (อังกฤษ: constant)
- dominus, -ī, m. เจ้านาย (อังกฤษ: dominate)
- equus, -ī, m. ม้า (อังกฤษ: equine - ที่คล้ายม้า)
- frūmentum, -ī, n. เมล็ดพันธุ์ (อังกฤษ: frumentaceous - ที่คล้ายข้าวสาลี)
- lēgātus, -ī, m. ผู้แทน, ทูต (อังกฤษ: legate - ทูต)
- Mārcus, -ī, m. มาร์ค (อังกฤษ: Mark, Marcus)
- mūrus, -ī, m. กำแพง (อังกฤษ: mural - จิตรกรรมฝาผนัง)
- oppidānus, -ī, m. ชาวเมือง
- oppidum, -ī, n. เมือง
- pīlum, -ī, n. หลาว (อังกฤษ: pile driver - เครื่องตอกเสาเข็ม)
- servus, -ī, m. ทาส, คนรับใช้ (อังกฤษ: servant)
- Sextus, -ī, m. เซ็กซ์ทัส
กริยา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- cūrat ก. (เขา/เธอ/มัน) ดูแล/เอาใจใส่ (ใช้กับกรรมตรง) (อังกฤษ: cure)
- properat ก. (เขา/เธอ/มัน) เร่งรีบ
แบบทดสอบ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงศึกษาบทสนทนาระหว่าง Galba กับ Mārcus แล้วแปลเป็นภาษาไทย
Galba: | Quis, Mārce, est lēgātus cum pīlō et tubā? |
Mārcus: | Lēgātus, Galba, est Sextus. |
Galba: | Ubi Sextus habitat? |
Mārcus: | In oppidō Sextus cum fīliābus habitat. |
Galba: | Amantne oppidānī Sextum? |
Mārcus: | Amant oppidānī Sextum et laudant, quod magnā cum cōnstantiā pugnat. |
Galba: | Ubi, Mārce, est ancilla tua? Cūr nōn cēnam parat? |
Mārcus: | Ancilla mea, Galba, equō lēgātī aquam et frūmentum dat. |
Galba: | Cūr nōn servus Sextī equum dominī cūrat? |
Mārcus: | Sextus et servus ad mūrum oppidī properant. Oppidānī bellum parant. |
จงศึกษาคำถามต่อไปนี้ แปลเป็นภาษาไทย และตอบคำถามเป็นภาษาละติน
- Ubi fīliae Sextī habitant?
- Quem oppidānī amant et laudant?
- Quid ancilla equō lēgātī dat?
- Cujus equum ancilla cūrat?
- Quis ad mūrum cum Sextō properat?
- Quid oppidānī parant?