ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาละติน/บทที่ 8

จาก วิกิตำรา

การผันคำคุณศัพท์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กฎ: คำคุณศัพท์ จะต้องผันตามเพศ พจน์ และการกของคำนามที่มันขยาย

คำคุณศัพท์ที่ขยายตามคำนามเพศหญิง จะลงวิภัตติด้วย -a และผันเช่นเดียวกันกับคำนามที่ลงวิภัตติด้วย -a เช่นกัน เช่น

พจน์ การก คำนาม คำคุณศัพท์ วิภัตติ
domina (เค้าคำ domin-), f. นายหญิง bona (เค้าคำ bon-), ดี
เอกพจน์ ประธาน domina bona -a
เจ้าของ dominae bonae -ae
กรรมรอง dominae bonae -ae
กรรมตรง dominam bonam -am
ที่มา dominā bonā
อุทาน domina bona -a
พหูพจน์ ประธาน dominae bonae -ae
เจ้าของ dominārum bonārum -ārum
กรรมรอง dominīs bonīs -īs
กรรมตรง dominās bonās -ās
ที่มา dominīs bonīs -īs
อุทาน dominae bonae -ae

จงผันนามวลีต่อไปนี้ให้ครบทั้งตาราง

  • puella mala
  • ancilla parva
  • fortūna magna

ข้อยกเว้นสำหรับการผันคำนามแบบที่ 1

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำที่มีเค้าคำลงท้ายด้วยสระ เช่น dea (เค้าคำ de-), fīlia (เค้าคำ fīli-) จะต้องลงวิภัตติของพหูพจน์ การกกรรมรองและการกที่มา เป็น -ābus แทน -īs เพื่อไม่ให้เสียงกลืนกัน เช่น

การก เอกพจน์ พหูพจน์
ประธาน dea bona deae bonae
เจ้าของ deae bonae deārum bonārum
กรรมรอง deae bonae deābus bonīs
กรรมตรง deam bonam deās bonās
ที่มา deā bonā deābus bonīs
อุทาน dea bona deae bonae

ลำดับคำในประโยค

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ลำดับคำในประโยคภาษาละตินจะเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา แต่ลำดับคำก็สามารถสลับที่ได้ เพราะแต่ละคำจะระบุหน้าที่ไว้ด้วยวิภัตติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ส่วนของประโยคที่ตำแหน่งต่างกันจะผลต่อการเน้นความสำคัญอยู่เหมือนกัน

  • ส่วนที่เน้นความสำคัญมากที่สุด จะอยู่ที่ตำแหน่งหน้าสุด
  • ส่วนที่เน้นรองลงมาเป็นอันดับสอง จะอยู่ที่ตำแหน่งหลังสุด
  • ยิ่งส่วนใดก็ตามอยู่ข้างนอก ไม่ว่าจะนับจากทางซ้ายหรือทางขวา ส่วนนั้นก็ยิ่งทวีความสำคัญ

ตามปกติแล้ว ประโยคภาษาละตินจะมีรูปแบบดังนี้

ประธาน ส่วนขยายประธาน กรรมรอง กรรมตรง กริยาวิเศษณ์ กริยา

สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตามปกติแล้ว สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของจะต่อท้ายคำนามที่มันขยาย แต่ถ้านำมาไว้ข้างหน้าคำนาม จะเป็นการเน้นความสำคัญของสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของขึ้นมา เช่น

fīlia mea ลูกสาวของฉัน
mea fīlia ลูกสาวของฉัน
casa Galbae กระท่อมของกัลบา
Galbae casa กระท่อมของกัลบา

เมื่อนำไปประกอบเป็นประโยค ก็จะทำให้เน้นส่วนต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น

Fīlia mea agricolīs cēnam parat. ลำดับคำปกติ
Mea fīlia agricolīs parat cēnam. เน้นที่ mea และ cēnam
Agricolīs fīlia mea cēnam parat. เน้นที่ agricolīs

คำคุณศัพท์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตามปกติ คำคุณศัพท์จะต่อท้ายคำนามที่มันขยาย แต่ถ้าคำคุณศัพท์นำหน้าคำนาม จะเป็นการเน้นที่คำคุณศัพท์แทน เช่น

Fīlia mea casam parvam nōn amat. ไม่เน้นที่ parvam
Fīlia mea parvam casam nōn amat. เน้นที่ parvam
Parvam fīlia mea casam nōn amat. เน้นที่ parvam มากๆ

ปฤจฉาสรรพนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปฤจฉาสรรพนามจะอยู่ด้านหน้าสุดเสมอ

Copula (เช่น est, sunt) มีความสำคัญน้อย จึงมักอยู่กลางประโยคหรือในตำแหน่งที่ฟังดูแล้วเหมาะสม

  • Italia, -ae, f. อิตาลี (อังกฤษ: Italy)
  • Sicilia, -ae, f. เกาะชิชิลี (อังกฤษ: Sicily)
  • tuba, -ae, f. ทรัมเป็ต, ทูบา (อังกฤษ: tuba)
  • via, -ae, f. เส้นทาง, ถนน (อังกฤษ: viaduct - ทางยกระดับ)
  • alta ค. สูง, ลึก (อังกฤษ: altitude)
  • clāra ค. ใส, สว่าง, มีชื่อเสียง (อังกฤษ: clear)
  • lāta ค. กว้าง (อังกฤษ: latitude)
  • longa ค. ยาว (อังกฤษ: long)
  • nova ค. ใหม่ (อังกฤษ: novelty)

จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย และบ่งชี้การเน้นภายในประโยคด้วย

  1. Longae nōn sunt tuae viae.
  2. Suntne tubae novae in meā casā? -- Nōn sunt.
  3. Quis lātā in silvā habitat? -- Diāna, lūnae clārae pulchra dea, lātā in silvā habitat.
  4. Nautae altās et lātās amant aquās.
  5. Quid ancilla tua portat? -- Ancilla mea tubam novam portat.
  6. Ubi sunt Lesbia et Jūlia? -- In tuā casā est Lesbia et Jūlia est in meā.
  7. Estne Italia lāta terra? -- Longa est Italia, nōn lāta.
  8. Cui Galba agricola fābulam novam nārrat? -- Fīliābus dominae clārae fābulam novam nārrat.
  9. Clāra est īnsula Sicilia.
  10. Quem laudat Lātōna? -- Lātōna laudat fīliam.