ภาษาละติน/บทที่ 6

จาก วิกิตำรา

หน้าที่ (ต่อ)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การกที่มา (Ablative) เป็นการกที่บ่งบอกแหล่งที่มา แหล่งกำเนิด หรือเครื่องมือของกริยา จะใช้ร่วมกับบุพบท

กฎ: คำนามที่มีรูปเอกพจน์ การกประธาน ลงวิภัตติ -a จะมีรูปเอกพจน์ การกที่มา ลงวิภัตติด้วย -ā และมีรูปพหูพจน์ ลงวิภัตติด้วย -īs

การกอุทาน (Vocative) เป็นการกที่ใช้ระบุการอุทานชื่อ

กฎ: คำนามรูปเอกพจน์และพหูพจน์ การกประธาน ที่ลงท้ายด้วยวิภัตติ -a และ -ae จะมีรูปเดียวกันกับรูปเอกพจน์และพหูพจน์ การกอุทาน

บุพบท[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำบุพบทในภาษาละตินจะมีส่วนเติมเต็มได้สองการก คือ การกที่มา หรือการกกรรมตรง ขึ้นกับบุพบทแต่ละตัว

คำบุพบทต่อไปนี้มีส่วนเติมเต็มเป็นการกที่มา

บุพบท ความหมาย
ā, ab จาก (อังกฤษ: away from เช่น เขาอาศัยอยู่ห่างจากกรุงเทพ)
จาก (อังกฤษ: down from เช่น เขามาจากกรุงเทพ)
ē, ex จาก (อังกฤษ: out from เช่น เขาออกมาจากห้องเรียน)
cum ด้วย (เช่น กินข้าวด้วยซ้อม เดินทางด้วยรถ)
in ใน, บน (เช่น เขาอาศัยอยู่บนเกาะ)

คำคุณศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์ ใช้ขยายคำนามเพื่อบอกลักษณะเฉพาะ เช่น

ประโยค Puella parva bonam deam amat.
เด็กผู้หญิงตัวเล็กชอบเทพีที่ดี

คำว่า parva และ bonam เป็นคำคุณศัพท์ที่ขยาย puella และ deam ตามลำดับ

กฎ: คำคุณศัพท์จะผันตามพจน์และการกของคำนามที่มันขยาย

โปรดสังเกตประโยคต่อไปนี้

ประโยค Puella est parva.
เด็กผู้หญิงมีตัวเล็ก
ประโยค Puella parva bonam deam amat.
เด็กผู้หญิงตัวเล็กชอบเทพีที่ดี

จะสังเกตได้ว่า คำคุณศัพท์จะผันตามพจน์และการกของคำนาม ไม่ว่าจะขยายคำนาม หรือเป็นส่วนเติมเต็มของ copula

คำศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • bona ค. ดี (อังกฤษ: bonus)
  • grāta ค. น่าพึงพอใจ (อังกฤษ: great)
  • magna ค. ใหญ่, ยิ่งใหญ่ (อังกฤษ: magnitude)
  • mala ค. เลว, ไม่ดี (อังกฤษ: malaria)
  • parva ค. เล็ก, น้อย
  • pulchra ค. สวย, น่ารัก
  • sōla ค. โดดเดี่ยว (อังกฤษ: isolate)

คำนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ancilla น. สาวใช้
  • Jūlia น. จูเลีย

สรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • mea ส. ของฉัน
  • tua ส. ของท่าน
  • quid ส. อะไร? (รูปเอกพจน์ การกประธานและการกกรรมตรง)

กริยาวิเศษณ์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • cūr ว. ทำไม?
  • nōn ว. ไม่

Enclitics[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • -ne หรือเปล่า? เช่น amat (เขา/เธอ/มัน) ชอบ > amatne (เขา/เธอ/มัน) ชอบหรือเปล่า?

แบบทดสอบ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงศึกษาบทสนทนาระหว่างกัลบากับจูเลีย แล้วแปลเป็นภาษาไทย

Jūlia: Quis, Galba, est Diāna?
Galba: Diāna, Jūlia, est pulchra dea lūnae et silvārum.
Jūlia: Cujus fīlia, Galba, est Diāna?
Galba: Lātōnae fīlia, Jūlia, est Diāna.
Jūlia: Quid Diāna portat?
Galba: Sagittās Diāna portat.
Jūlia: Cūr Diāna sagittās portat?
Galba: Diāna sagittās portat, Jūlia, quod malās ferās silvae magnae necat.
Jūlia: Amatne Lātōna fīliam?
Galba: Amat, et fīlia Lātōnam amat.
Jūlia: Quid fīlia tua parva portat?
Galba: Corōnās pulchrās fīlia mea parva portat.
Jūlia: Cui fīlia tua corōnās pulchrās dat?
Galba: Diānae corōnās dat.
Jūlia: Quis est cum fīliā tuā? Estne sōla?
Galba: Sōla nōn est; fīlia mea parva est cum ancillā meā.

ข้อสังเกตจากบทสนทนา

  • คำนามในการกอุทาน จะไม่ได้อยู่หน้าสุดของประโยคอย่างที่ภาษาไทยเป็น
  • การตอบคำถาม ใช่/ไม่ใช่ จะใช้การทวนกริยาซ้ำ เช่น คำถาม Pugnatne nauta? (นักเดินเรือกำลังต่อสู้หรือเปล่า) ถ้าจะตอบใช่ ก็ตอบเพียง Pugnat. ถ้าจะตอบไม่ใช่ ก็ตอบเพียง Nōn pugnat.