ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำกริยา
กริยา (verb) เป็นคำที่ใช้เป็นภาคแสดง (predicate) ของประโยค เป็นการกล่าวถึงหรือเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของ
กริยาเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของประโยค ไม่ว่าเป็นประโยคบอกเล่า คำถามหรือคำสั่ง
อารัมภบท
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Verb มาจากภาษาละติน verbum หมายถึง "คำ" จึงกล่าวได้ว่าคำกริยาเป็นคำ (the word) ของประโยค ไม่สามารถถ่ายทอดความคิดใดได้หากปราศจากคำกริยา
กริยาอาจไม่ใช่คำเดียว วลีกริยาก็พบได้บ่อยเช่นกัน กริยาจำแนกได้ดังนี้
- กริยาที่เป็นคำเดียว เช่น "The young man obeyed."
- กลุ่มคำกริยา เช่น "Some day it may be considered reasonable."
- คำกริยาตั้งแต่หนึ่งคำขึ้นไปร่วมกับคำอื่นเพื่อสร้างเป็นวลีกริยา เช่น "They knew well that this woman ruled over thirty millions of subjects."
ในภาษาอังกฤษกริยามีการผันรูปตาม voice, mood, tense รวมถึงจำนวนประธาน การผันนี้อาจมีการเติมคำอื่นเพื่อให้กลายเป็นกลุ่มคำกริยาด้วย
สำหรับ Verbals (ได้แก่ participles, infinitives และ gerunds) มีกล่าวถึงในบทถัดไป
สกรรมกริยา (Transitive verb) และอกรรมกริยา (Intransitive verb)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สกรรมกริยา (Transitive verb) เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมของประโยคเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์ และกรรมนั้นเป็นบุคคลหรือสิ่งที่รับผลของกริยา
อกรรมกริยา (Intransitive verb) เป็นกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง และไม่จำเป็นต้องมีกรรมของประโยค
กริยาหลายคำเป็นได้ทั้งสกรรมกริยาและอกรรมกริยา ต้องแยกแยะจากการใช้ในประโยคไม่ใช่จากรูปกริยา ตัวอย่างเช่น
- "The boy walked for two hours." เด็กชายเดินสองชั่วโมง
- "The boy walked the horse." เด็กชายจูงม้าเดิน
Active vs. Passive voice
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สกรรมกริยาเป็นกริยาที่ต้องมีกรรมในประโยคดังกล่าวข้างต้น เป็นการส่อความ 3 อย่าง คือ ประโยคต้องมีตัวการ หรือบุคคลหรือสิ่งของที่แสดงกริยา กริยาที่แทนการกระทำ และบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นวัตถุของกริยา
Active voice คือ กริยารูปที่แสดงว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานและตัวการเป็นคำเดียวกัน ส่วนอกรรมกริยาถือว่าเป็น active voice เสมอ
Passive voice คือ กริยารูปที่แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้หรือสิ่งที่ได้รับผลของกริยา หรือประธานและกรรมเป็นคำเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
- All infractions of love and equity in our social relations are speedily punished. They are punished by fear.—Emerson.
สำหรับประโยคแรกข้างต้น ประธาน infraction ไม่ได้แสดงกริยา โดยเป็นตัวแทนว่าเป้าหมายของกริยา are punished มุ่งไปที่ใด แต่เป็นประธานของกริยาเดียวกันด้วย ส่วนในประโยคที่สอง fear เป็นตัวการของกริยาเดียวกัน
Moods
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Mood หมายถึง ลักษณะการเข้าใจและการแสดงการกระทำหรือสภาวะของประธาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
Indicative mood
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Indicative (แปลว่า ประกาศหรือยืนยัน) เป็นการอธิบายว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นข้อเท็จจริง ทั้งยืนยันหรือปฏิเสธ
- ประกาศว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งจริงหรือเท็จ
- Distinction is the consequence, never the object, of a great mind.—Allston.
- I do not remember when or by whom I was taught to read; because I cannot and never could recollect a time when I could not read my Bible.—D. Webster.
- สันนิษฐานว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นจริงโดยไม่ประกาศ
- If the penalties of rebellion hung over an unsuccessful contest; if America was yet in the cradle of her political existence; if her population little exceeded two millions; if she was without government, without fleets or armies, arsenals or magazines, without military knowledge,—still her citizens had a just and elevated sense of her rights.—A. Hamilton.
- ใช้ถามคำถามเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง เช่น
- Is private credit the friend and patron of industry?—Hamilton.
Subjunctive mood
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Subjunctive (หมายถึง การเติมเข้ามาโดยอยู่ภายใต้สิ่งอื่น) หมายถึง รูปหรือการใช้กริยาที่แสดงการกระทำหรือภาวะซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพียงแต่เป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้นในใจ
จะแบ่งพิจารณา subjunctive ใน independent clause (อนุประโยคสมบูรณ์) และ dependent clause (อนุประโยคไม่สมบูรณ์)
Subjunctive ในอนุประโยคสมบูรณ์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ใช้เพื่อแสดงความปรารถนา เช่น
- God grant you find one face there You loved when all was young.—Kingsley.
- Long die thy happy days before thy death.—Shakespeare.
- เป็นประโยคบอกเล่าหรือคำถามแบบมีเงื่อนไข
- Most excellent stranger, as you come to the lakes simply to see their loveliness, might it not be as well to ask after the most beautiful road, rather than the shortest?—De Quincey.
Subjunctive ในอนุประโยคไม่สมบูรณ์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ประโยคเงื่อนไขหรือสมมติ (Condition หรือ Supposition) มักมีคำอย่าง if, though, except, unless แบ่งได้เป็น 3 กรณีย่อย
- Conditional 0 (ข้อเท็จจริง) ตัวอย่างเช่น "When I feel well, I sing."
- Conditional I (การทำนายซึ่งอาจจริงหรือไม่ก็ได้) ตัวอย่างเช่น "If I feel well, I will sing."
- Conditional II หรือ Conditional III (ไม่ใช่ข้อเท็จจริง) ตัวอย่างเช่น "If I felt well, I would sing." หรือ "If I had felt well, I would have sung."
- ประโยคที่แสดงความมุ่งหมาย (purpose) มีการใช้ subjective be, may, might, และ should อนุประโยคมักใช้ว่า that หรือ lest เช่น
- It was necessary, he supposed, to drink strong beer, that he might be strong to labor.—Franklin.
- ประโยคที่แสดงผลลัพธ์ คือ subjunctive ที่อาจแสดงผลลัพธ์ของการกระทำ เช่น
- So many thoughts move to and fro,
- That vain it were her eyes to close.
- —Coleridge.
- ในอนุประโยคบอกเวลา (temporal clause) เช่น
- Rise up, before it be too late!—Hawthorne.
- ในประโยคคำถามโดยอ้อม (indirect question) เช่น
- Ask the great man if there be none greater.—Emerson
- ในการแสดงความปรารถนา เช่น
- Bright star! Would I were steadfast as thou art!—Keats.
- ในนามานุประโยค (noun clause)
- As sure as Heaven shall rescue me, I have no thought what men they be.—Coleridge.
Imperative mood
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]imperative เป็นกริยารูปที่ใช้ในคำสั่งโดยตรงหรือขอร้อง เช่น
- Honor all men; love all men; fear none.—Channing.
- Tell me, how was it you thought of coming here?—Id.
กาล (Tense)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]กาลของกริยาเป็นรูปแบบหรือการใช้ที่บอกให้ทราบว่าเป็นการกระทำหรือภาวะที่เกิดเมื่อใด
ภาษาอังกฤษมีปัจจุบันกาล (past tense), อดีตกาล (past tense) และอนาคตกาล (future tense)
บุคคลและจำนวน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ปัจจุบันในภาษาอังกฤษมีการผัน (inflect) คำกริยาตามบุรุษและจำนวนประธานกรณีเดียว คือ ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์
การผันรูปคำกริยา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในภาษาอังกฤษมีการผันคำกริยาเช่นเดียวกับภาษาคลาสสิกของยุโรปอื่น แต่ไม่มีมากเท่าภาษาเหล่านั้นแล้ว โดยรูปกริยาผันตามความสัมพันธ์ระหว่าง voice, mood, กาล ฯลฯ
กริยาในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ส่วนมากมี 4–5 รูป เช่น walk มี walk, walks, walked, walking หรือ choose มี choose, chooses, chose, choosing, chosen
ทั้งนี้ กริยา be มีหลายรูป เนื่องจากมีรากหลายคำ เช่น am, are, is, were, been ฯลฯ
กริยา be
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Moods | เอกพจน์ | พหูพจน์ | Tense |
---|---|---|---|
Indicative mood | is, am | are | ปัจจุบันกาล |
was | were | อดีตกาล | |
Subjunctive mood | be | ปัจจุบันกาล | |
were | อดีตกาล | ||
Imperative mood | be | ปัจจุบันกาล |
กริยา be มีการใช้ดังต่อไปนี้
- เป็นกริยาหลัก (principal verb) เช่น
- The light that never was on sea and land.—Wordsworth.
- เป็นกริยาช่วย (auxiliary verb) แบ่งได้เป็น 4 กรณีย่อย
- ใช้ร่วมกับรูปกริยาที่ลงท้ายด้วย -ing (imperfect participle) เพื่อสร้าง definite (continuous) tenses เช่น
- Broadswords are maddening in the rear,—Each broadsword bright was brandishing like beam of light.—Scott.
- ใช้กับกริยาในรูป past participle (ลงท้ายด้วย -ed, -en ฯลฯ) เพื่อสร้าง passive voice เช่น
- By solemn vision and bright silver dream,
- His infancy was nurtured.
- —Shelley.
- ใช้กับอกรรมกริยารูป past participle ซึ่งเทียบเท่ากับ active voice ใน present perfect tense และ past perfect tense เช่น
- We drank tea, which was now become an occasional banquet.—Goldsmith.
- ใช้กับ infinitive เพื่อแสดงเจตจำนง การผูกมัด เงื่อนไข เป็นต้น เช่น
- It was to have been called the Order of Minerva.—Thackeray.
- ใช้ร่วมกับรูปกริยาที่ลงท้ายด้วย -ing (imperfect participle) เพื่อสร้าง definite (continuous) tenses เช่น
กริยาแท้ : ตัวอย่าง choose
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ](ตัวอย่างด้านล่างยกตัวอย่างกรณีผันกริยาแท้กับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์)
↓Tenses Moods → |
Active voice | Passive voice | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
Indicative mood | Subjunctive mood | Imperative mood | Indicative mood | Subjunctive mood | Imperative mood | |
Present simple | He chooses. | he choose. | choose | He is chosen. | he be chosen. | Be chosen. |
Present continuous | He is choosing. | he be choosing. | be choosing | He is being chosen. | — | — |
Present perfect | He has chosen. | he have chosen. | — | He has been chosen. | he have been chosen. | — |
Present perfect continuous | He has been choosing. | he have been choosing. | — | — | — | — |
Past simple | He chose. | he chose (หรือ were to choose). | — | He was chosen. | he were chosen (หรือ were to be chosen). | — |
Past continuous | He was choosing. | He were choosing (หรือ were to be choosing). | — | He was being chosen. | he were being chosen. | — |
Past perfect | He had chosen. | — | He had been chosen. | he had been chosen. | — | |
Past perfect continuous | He had been choosing. | — | — | — | — | |
Future simple | He will choose. | — | — | He will be choosen | — | — |
Future continuous | He will be choosing. | — | — | — | — | — |
Future perfect | He will have chosen. | — | — | He will be chosen. | — | — |
Future perfect continuous | He will have been choosing. | — | — | — | — | — |
มีรูปโดยอ้อม (periphrastic) หรือรูปประสม ซึ่งประกอบด้วยกริยาช่วยรวมกับ infinitives และ participles
- Future tense เติม shall และ will กับรูปฐานหรือรากของกริยา
- Perfect tenses เติม have, had และ will (หรือ shall) นำหน้ารูปกริยา past participle
- Continuous tense เติมกริยาช่วยกับ imperfect participle active
- รูป passive ใช้รูปกริยานำหน้ากริยารูป past participle
may, can, could, shall, will
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]May ใช้ใน indicative หรือ subjuncive moods มี 2 ความหมาย ใน indicative ใช้แสดงการอนุญาต หรือบอกว่ามีความสามารถ (คล้ายกับกับว่า can) ส่วนใน subjunctive เมื่อแสดงความสงสัยว่าการกระทำนั้นจริงหรือไม่ หรือเมื่อแสดงความปรารถนาหรือความมุ่งหมาย เป็นต้น
Can ใช้เฉพาะใน indicative mood ส่วน could อาจเป็น subjunctive ได้
Must และ ought to เป็นทั้งกาลปัจจุบันหรืออดีตกาล และใช้เฉพาะใน indicative mood
การใช้ shall และ should
- ใช้กับบุรุษที่ 1 เพื่อ
- สร้างประโยคอย่างง่าย หรือพยากรณ์อนาคต เช่น
- The time will come full soon, I shall be gone.—L. C. Moulton.
- ใช้ในคำถามหาคำสั่ง หรือส่อความว่าเชื่อฟังหรืออำนาจอยู่กับประธาน เช่น
- With respect to novels, what shall I say?—N. Webster.
- สร้างประโยคอย่างง่าย หรือพยากรณ์อนาคต เช่น
- ใช้กับบุรุษที่ 2 และ 3 เพื่อ
- แสดงอำนาจ ในรูปของคำสั่ง คำมั่นหรือการพยากรณ์อย่างมั่นใจ ตัวอย่างเช่น
- She should not walk, he said, through the dust and heat of the noonday;
- Nay, she should ride like a queen, not plod along like a peasant.
- —Longfellow.
- ใช้ใน indirect quotation แสดงการกระทำในอนาคต
- He declares that he shall win the purse from you.—Bulwer.
- ใช้ในคำถามโดยตรงของบุรุษที่ 2 เมื่อคาดว่าคำตอบจะเป็นในอนาคต
- "Should you like to go to school at Canterbury?"—Dickens.
- แสดงอำนาจ ในรูปของคำสั่ง คำมั่นหรือการพยากรณ์อย่างมั่นใจ ตัวอย่างเช่น
- ใช้กับประธานทั้ง 3 บุรุษ
- should ใช้ในความหมายผูกมัด เช่น
- I never was what I should be.—H. James, Jr.
- shall และ should ใช้ในอนุประโยคไม่สมบูรณ์โดยบอกสภาวะ เวลา ความมุ่งหมาย เป็นต้น เช่น
- That accents and looks so winning should disarm me of my resolution, was to be expected.—C. B. Brown.
- should ใช้ในความหมายผูกมัด เช่น
การใช้ will และ would
- ใช้กับบุรุษที่ 1 ใช้เพื่อแสดงถึงความตั้งใจในอนาคต หรือคำมั่นสัญญา เช่น
- I will go myself now, and will not return until all is finished.—Cable.
- ใช้กับบุรุษที่ 2 ใช้เพื่อแสดงคำสั่ง แต่จะดูเบาลงจนดูเหมือนเป็นการกระทำที่กรรมคาดว่าควรปฏิบัติอยู่แล้ว
- You will proceed to Manassas at as early a moment as practicable, and mark on the grounds the works, etc.—War Records.
- ใช้กับทั้งบุรุษที่ 2 และ 3 เพื่อแสดงการกระทำที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต เช่น
- All this will sound wild and chimerical.—Burke.
- ใช้กับทุกบุรุษเพื่อแสดงความปรารถนา เช่น
- Would that a momentary emanation from thy glory would visit me!—C. B. Brown.
- ใช้กับบุรุษที่ 3 เพื่อแสดงการกระทำว่าเป็นขนบธรรมเนียม โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นเวลาอนาคตหรือไม่ เช่น
- On a slight suspicion, they would cut off the hands of numbers of the natives, for punishment or intimidation.—Bancroft.
อ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ข้อความบางส่วนในหน้านี้ นำมาจากตำรา An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ