ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/พยัญชนะ

จาก วิกิตำรา

รูปพยัญชนะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พยัญชนะ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือที่ใช้สำหรับแทนเสียงแปร รูปพยัญชนะไทยมี 44 ตัว แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้

ไก่ ไข่ ขวด ควาย คน ระฆัง งู จาน
ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง ชฎา ปฏัก ฐาน
มณโฑ ผู้เฒ่า เณร เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง
หนู ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา
ม้า ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ
หีบ จุฬา อ่าง นกฮูก

เสียงพยัญชนะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว มีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง ดังนี้

ลำดับ เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ
1 / ก /
2 / ค / ข ฅ ค ฅ ฆ
3 / ง /
4 / จ /
5 / ช / ฉ ช ฌ
6 / ซ / ซ ศ ษ ส
7 / ย / ญ ย
ลำดับ เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ
8 / ด / ฎ ด ฑ (บางคำ)
9 / ต / ฏ ต
10 / ท / ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
11 / น / ณ น
12 / บ /
13 / ป /
14 / พ / ผ พ ภ
ลำดับ เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ
15 / ฟ / ฝ ฟ
16 / ม /
17 / ร /
18 / ล / ล ฬ
19 / ว /
20 / ฮ / ห ฮ
21 / อ /

การใช้พยัญชนะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น น้อง วย าก มูก ลาด รอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้า หลั เล็

  • พยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะต้นในคำ ๆ หนึ่ง อาจมีเสียงเดียว หรืออาจมีสองเสียงก็ได้ จึงแบ่งพยัญชนะต้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะคู่ ซึ่งพยัญชนะคู่แบ่งออกเป็น อักษรควบ และอักษรนำ
  • พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์

นอกจากนี้ พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.

อักษรนำ คือ การนำพยัญชนะ 2 ตัวมาเรียงกัน แล้วประสมด้วยสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงต้องออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง อะ กึ่งมาตรา เช่น

ถนน อ่านว่า ถะ - หนน
ขยาด อ่านว่า ขะ – หยาด

อักษรที่มี นำ มี 4 คำ ได้แก่

ย่า ยู่ ย่าง ยาก

อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะอื่นควบกับ ร ล ว รวมอยู่ในสระเดียวกัน อักษรควบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ

  • อักษรควบแท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน
กราบกราน กลับกลาย เกลื่อนกลาด ขลาดเขลา ขวนขวาย เคว้งคว้าง คลางแคลง
  • อักษรควบไม่แท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว
จริง ทรง ทราบ ทราม สร้าง เสริม สร้อย ศรี เศร้า

พยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่

  • แม่กง มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น รัง ดวง บาง
  • แม่กน มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น รวน ลาน คน
  • แม่กม มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น ผม ชาม เจิม
  • แม่เกย มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น เฉย วาย สวย
  • แม่เกอว มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น ยาว หนาว ข้าว
  • แม่กก มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น รัก มาก โลก
  • แม่กด มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น ลด มด ทวด
  • แม่กบ มีเสียง เป็นตัวสะกด เช่น จับ สาบ ชอบ

ตัวสะกดที่มีรูปไม่ตรงกับชื่อของมาตราตัวสะกด เช่น บาท อยู่ในมาตราแม่กด เรียกตัวสะกดนี้ว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกได้ว่าเป็นคำที่อยู่ใน แม่ ก กา

ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
  • เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี สะกด เช่น
ชาติ อ่านว่า ชาด ธาตุ อ่านว่า ทาด จิต อ่านว่า จิด บาท อ่านว่า บาด
พุธ อ่านว่า พุด เพศ อ่านว่า เพด ชาติ อ่านว่า ชาด ธาตุ อ่านว่า ทาด
พิษ อ่านว่า พิด ทาส อ่านว่า ทาด อาจ อ่านว่า อาด พืช อ่านว่า พืด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด รัฐ อ่านว่า รัด กฎ อ่านว่า กด ปรากฏ อ่านว่า ปรา - กด
ครุฑ อ่านว่า ครุด พุฒ อ่านว่า พุด วุฒิ อ่านว่า วุด รถ อ่านว่า รด


  • เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี สะกด เช่น
บุญ อ่านว่า บุน คุณ อ่านว่า คุน
การ อ่านว่า กาน ศาล อ่านว่า สาน


  • เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี สะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ ภาพ อ่านว่า พาบ
เสิร์ฟ อ่านว่า เสิบ โลภ อ่านว่า โลบ


  • เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี สะกด เช่น
สุข อ่านว่า สุก ภาค อ่านว่า พาก
เมฆ อ่านว่า เมก

ตัวการันต์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตัวการันต์ คือ ตัวอักษรทั้งพยัญชนะและสระที่ไม่อ่านออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับไว้ข้างบน เช่น

จันทร์ โทรทัศน์ กษัตริย์ รถยนต์ โรงภาพยนตร์

หมายเหตุ -์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต ไม่ใช่ตัวการันต์

ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้

  • เขียนบนพยัญชนะตัวเดียว เช่น ศิษย์ ทิพย์ รัตน์
  • เขียนบนพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เช่น ภาพยนตร์ พักตร์ กาญจน์
  • เขียนบนพยัญชนะสามตัวเรียงกัน เช่น พระลักษมณ์
  • เขียนบนพยัญชนะตัวเดียวและสระ อิ หรือ อุ ศักดิ์ พันธุ์