วิกิตำรา:ชั้นหนังสือ/เศรษฐศาสตร์

จาก วิกิตำรา

เศรษฐศาสตร์(Economics) คือ ศาสตร์อย่างหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคสินค้าหรือบริการ

ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า "เราจะจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไร ให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์อันไร้ขีดจำกัด"

-

เราสามารถแบ่งเศรษฐศาสตร์ออกเป็นสองสาขาย่อย ได้แก่

1.เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาในระดับบุคคลหรือหน่วยธุรกิจ

2.เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาในระดับภาพรวมของประเทศหรือนานาชาติ

-

ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ คือ

1.What เราจะผลิตอะไร?

2.How เราจะผลิตอย่างไร?

3.For whom เราจะผลิตเพื่อใคร?

-

ระบบเศรษฐกิจในโลกนั้นแบ่งออกเป็น3ประเภท คือ

1. ทุนนิยม ใช้ระบบกลไกตลาดโดยมีอุปสงค์กับอุปทานและราคาเป็นเครื่องมือกำกับ

2. สังคมนิยม ใช้ระบบการวางแผนจากส่วนกลางหรือรัฐบาล

3. ระบบผสมผสานกันระหว่างข้อหนึ่งกับข้อสอง

-

ปัจจัยการผลิตมีอยู่4อย่าง คือ

1.ที่ดิน...ผลตอบแทน คือ "ค่าเช่า"

2.แรงงาน...ผลตอบแทน คือ "ค่าจ้าง"

3.ทุน...ผลตอบแทน คือ "ดอกเบี้ย"

4.ผู้ประกอบการ...ผลตอบแทน คือ "กำไร"

-

บุคคลในระบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น3ฝ่าย คือ

1.หน่วยครัวเรือน

2.หน่วยธุรกิจ

3.รัฐบาล

-

ต้นทุนค่าเสียโอกาส (อังกฤษ: Opportunity cost)

คือ มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง

เศรษฐศาสตร์จุลภาค[แก้ไขต้นฉบับ]

  1. /อุปสงค์และอุปทาน
  2. /ดุลยภาพของตลาด
  3. /การกำหนดเพดานราคา และ การกำหนดราคาขั้นต่ำ

เศรษฐศาสตร์มหภาค[แก้ไขต้นฉบับ]

  1. /ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)