วิกิตำรา:ชั้นหนังสือ/เศรษฐศาสตร์/ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาคือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ [1]
อย่างไรก็ตาม GDP เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
สูตรคำนวณ GDP:
GDP = C + I + G + (X - M)
- C (Private Consumption) การบริโภค
หมายถึง การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนหรือการใช้จ่ายของผู้บริโภค ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของ GDP เนื่องจากว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจึงส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ระดับความเชื่อมั่นที่สูงบ่งชี้ว่าผู้บริโภคเต็มใจที่จะใช้จ่าย ในขณะที่ระดับความเชื่อมั่นต่ำสะท้อนถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตและการไม่เต็มใจที่จะใช้จ่าย[2]
- G (Government Spending)
การใช้จ่ายภาครัฐ หมายถึง การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐบาลและการลงทุนขั้นต้น รัฐบาลใช้จ่ายเงินกับอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐาน และเงินเดือน การใช้จ่ายภาครัฐอาจมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเทียบกับองค์ประกอบอื่นๆ ของ GDP ของประเทศ เมื่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนทางธุรกิจลดลงอย่างรวดเร็ว (ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น)
- I (Private Investment and Government Investment)
การลงทุน หมายถึง การลงทุนภายในประเทศของเอกชนหรือรายจ่ายฝ่ายทุน ธุรกิจใช้จ่ายเงินเพื่อลงทุนในกิจกรรมทางธุรกิจของตน ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาจซื้อเครื่องจักร การลงทุนทางธุรกิจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ GDP เนื่องจากจะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตของเศรษฐกิจและเพิ่มระดับการจ้างงาน
- X คือ Export (ส่งออก)
- M คือ Import (นำเข้า)