เทคนิคการถ่ายภาพ/การถ่ายภาพเฉพาะอย่าง
เทคนิคการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Land and Sea Scape) นักถ่ายภาพสมัครเล่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงาม ชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความ สวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือกมุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตก หรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเช้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็น พระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิด ช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัดลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตา ดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาว ตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลง สีของภาพเพื่อให้ได้ภาพทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น
เทคนิคการถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การถ่ายภาพสัตว์ (Pets & Animals) การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
- การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ
- การถ่ายภาพในสวนสัตว์ ในสวนสัตว์จะเป็นที่รวมของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก การถ่ายภาพสัตว์ในส่วนสัตว์ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีกด้วย
กล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์ ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO
- การถ่ายภาพสัตว์ป่า เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีสัตว์ป่าให้ได้เห็นกัน จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การรอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็นและกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พักหลับนอน แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน
เทคนิคการถ่ายภาพดอกไม้
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เนื่องจากดอกไม้มีขนาดเล็ก การถ่ายรูปในเบื้องต้นจึงต้องตั้งเลนมาโคร คือ เลนที่สามารถโฟกัสได้ในระยะใกล้ๆ และ สามารถซูมขยายได้เพียงพอ จึงจะทำให้เก็บรายละเอียดของดอกไม้และสีสันได้อย่างชัดเจน
เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การถ่ายภาพบุคคล คือการถ่ายภาพที่เน้นบุคคล นิยมตั้งรูรับแสงให้กว้างหรือก็คือการตั้ง f ต่ำๆ เพื่อให้ฉากหลังเบลอ ที่เรียกกันว่า ฉากหลังละลาย การตั้งรูรับแสงให้กว้างสุดได้เท่าใดขึ้นกับคุณภาพของเลนส์เป็นสำคัญ เลนส์ที่มีราคาสูงมักมี f ที่ต่ำกว่านั่นหมายถึงสามารถถ่ายฉากหลังให้ละลายได้มากกว่า เลนส์ที่นิยมได้แก่เลนส์ f 2.8 อีกประการนึงการที่รูรับแสงกว้างจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าตั้งโหมด AUTO หรือโหมด A ในกล้องทั่วไป การที่ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นทำให้ภาพไม่สั่น เมื่อขยายดูใกล้ๆจะเห็นความคมชัดของภาพ สูงกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ที่มีราคาต่ำกว่า การถ่ายภาพบุคคล สามารถแบ่งได้เป็น
- การถ่ายรูปเหตุการณ์ เป็นการถ่ายรูปโดยที่ได้มีการจัดรูปแบบก่อน
- การถ่ายรูปจัดรูปแบบ
เทคนิคการถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สถาปัตยกรรม เป็นการออกแบบโดยใช้โครงสร้างกำแพงและช่องเปิด โดยอาศัยเส้นตรงเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเพื่อเป็นภาพ ดังนั้น ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม เน้น เรื่องการแสงและเงาของธรรมชาติ และการอธิบายโครงสร้างได้ถูกต้อง ( ส่วนที่เป็นเส้นตรงต้องถ่ายให้เป็นเส้นตรง ) แต่ควรจัดสถานที่ให้เรียบร้อย รูปที่ถ่ายต้องมีจุดเด่นในแต่ละภาพ และแสงที่แตกต่างกันในภาพไม่ควรเกิน 20 % เนื่องจากส่วนมากต้องใช้เลนส์ wide มากพึงระวังวัตถุที่อยู่ใกล ช่วงเวลาที่ถ่ายภาพสวย 6.00-9.00 น. และ 15.00-18.00น เดือน พย. - เมษ.สำหรับเมืองไทย
เทคนิคการถ่ายภาพโดยแบ่งตามลักษณะสถาปัตยกรรม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- สมัยใหม่ จะเน้นรูปร่าง สีที่ตัดกัน ท้องฟ้าคม
- ทรงไทย เน้นความนุ่ม สีขาว หรืออ่อน
- สิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรม เน้นความยิ่งใหญ่ น่าเคารพ สงบ
เทคนิคการถ่ายภาพ แบ่งตามวัตถุ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- กำแพง เน้นเงาที่ตกกระทบ แสงที่ตกกระทบ
- ช่องเปิด ( หน้าต่าง/ประตู) แนวคิด ฉากบัง แสงที่ผ่าน เงาที่ตกกระทบ
- กระจก เน้นแสงทะลุจากภายใน และเงาที่อยู่ในกระจก
- น้ำ ในสถานที่จริง หรือ อาจมีการพรมน้ำก็ได้ แนวคิดใช้น้ำเป็นกระจกสะท้อนภาพวัตถุ แบ่งได้เป็น น้ำนิ่ง, น้ำไหวเล็กน้อย, น้ำไหวมาก หรืออาจมีดอกไม้ลอยอยู่
- คน มีจุดมุ่งหมายให้เป็นจุดสนใจ หรือเปรียบเทียบสเกล ไม่ควรเห็นภาพบุคคลชัดเจน เพียงเป็นพอทราบว่าเป็นบุคคล
วัตถุที่น่าสนใจควรเน้นให้ดูเกินจริง บางเช่น เอียงมากว่าปกติ หรือให้เห็นเด่นเป็นพิเศษ
เทคนิคการถ่ายภาพวัตถุนิ่ง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การถ่ายภาพวัตถุนิ่ง ถ้าวัตถุมีขนาดเล็กนิยมถ่ายในกระโจมไฟ ที่ให้แสงได้ในทุกทิศทุกทางไม่ทำให้เกิดเงามืดในภาพ การถ่ายวัตถุที่มีขนาดใหญ่ต้องการ การจัดแสงอย่างมาก
เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวและภาพกีฬา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ใฃ้ชัตเตอร์สปีดความเร็วสูงๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว โดยที่ภาพไม่เบลอ ผลที่ได้จะออกมาอย่างที่เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์คือ ภาพนักกีฬาหยุดนิ่ง แต่จะดูแข็งๆไปบ้างตามปกติ
เทคนิคการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ควรใช้แฟลชตามความเหมาะสม เช่น ใช้แฟลชน้อยๆ เบาๆ สำหรับแสงไม่พอเพียงเล็กน้อยหรือต้องการให้เห็นความชัดลึกด้วย หรือไม่ก็กระแทกแฟลชเข้าไปแรงๆ ตรงๆเลย ถ้าต้องการถ่ายแค่จุดใกล้ๆ ไม่เกิน 5 เมตรให้ชัดเพียงแค่จุดนั้น แต่สิ่งที่อยู่ด้านหลัง จะไม่สามารถมองเห็นเลย
ในกรณีที่ใช้แฟลชไม่ได้ สามารถกระทำได้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือเคลื่อนไหว กับ อยู่นิ่ง
หากภาพกำลังเคลื่อนไหวนั้น ให้เพิ่มค่า ISO (ยิ่งสูงมาก ยิ่งสว่างแต่ต้องแลกกับความคมชัด จะน้อยลงมา )ตามด้วยเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดของเลนส์นั้นๆ (F น้อยๆ) แล้วใช้สปีดชัดเตอร์ให้น้อยที่สุด เท่าที่จะถ่ายวัตถุนั้นให้อยู่ในสภาวะหยุดนิ่งได้ ถ้าความไวชัดเตอร์น้อยเกินไป(ไวเกิน) ภาพจะมืด หรือถ้ามากเกินไป(นานเกิน) ภาพจะมีเงาซ้อน ต้องกะให้พอดี แต่ถ้าเป็นวัตถุอยู่นิ่ง ให้ปรับค่า ISO ไปที่กลางๆ ตามด้วยเปิดรูรับแสงให้มากที่สุดเช่นกัน แล้ว ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้มีความนานขึ้น ยิ่งนานมากเท่าไร ภาพก็จะยิ่งสว่างมากเท่านั้น การถ่ายภาพแบบนี้ ควรพึ่งขาตั้งกล้อง เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
- ถ้าอยากให้ภาพมีความคมชัด ให้ใช้ ISO ค่อนข้างน้อย แต่ภาพจะมืดลงตามไป วิธีแก้คือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้นานขึ้นไปอีก
- การถ่ายภาพเคลื่อนไหวกลางคืน ถ่ายให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็พอแล้ว ถ้าไม่ต้องการรายละเอียด
เทคนิคการถ่ายภาพบนจอโทรทัศน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]โทรทัศน์เป็นวัตถุที่มีแสงด้วยตัวเอง ดังนั้นการถ่ายภาพจากจอของโทรทัศน์ จึงจำเป็นต้องระวังในเรื่องของแสงเป็นสิ่งแรกและสำคัญมาก ไม่เช่นนั้นภาพถ่ายที่ได้อาจมีลักษณะที่สว่างจนเกินไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามเปิดใช้ไฟแฟชร์ส โดยเด็ดขาด
เทคนิคการถ่ายภาพพาโนรามา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การถ่ายภาพพาโนรามา เป็นการถ่ายอีกแบบหนึ่ง ที่สามารถถ่ายภาพเก็บรายละเอียดได้ในองศาที่กว้างกว่ารูปทั่วๆไป กล่าวคือ ภาพที่ได้ จะมีลักษณะเป็นภาพแนวนอน และมีความยาว ภาพพาโนรามาเกิดจากการนำภาพมาต่อกัน อาจจะใช้โปรแกรมช่วย หรือกล้องบางรุ่มอาจถ่ายได้เลย
วิธีการถ่ายขึ้นอยู่กับการใช้กล้อง กล้องที่สามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้ในตัวกล้องเองจะถ่ายโดยการเปิดโหมด พาโนรามา เริ่มถ่ายโดยการกดชัตเตอร์ลงครั้งหนึ่ง
และแพนกล้องไปทางซ้ายหรือทางขวาอย่างช้าๆ และเมื่อได้มุมที่ต้องการก็กดชัตเตอร์ลงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย และหากถ่ายพาโนรามาด้วยกล้องอื่นๆ เช่น DSLR จะไม่สามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้ ยกเว้นบางรุ่น บางยี่ห้อเท่านั้น วิธีการถ่ายพาโนรามาสำหรับกล้องอื่นๆ มีดังนี้คือ เป็นการถ่ายภาพทีละภาพ และแพนกล้องไปช้าๆ โดยให้ภาพต่อไป มีส่วนทับซ้อนกัยโดยประมาณ 20 % แล้วจึงนำไปต่อเป็นภาพพาโนรามาในโปรแกรม ในคอมพิวเตอร์
เทคนิคการถ่ายภาพใกล้และภาพขยายส่วน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ](รอเพิ่มเติม)
เทคนิคการถ่ายภาพลอกแบบและการสำเนา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ](รอเพิ่มเติม)
เทคนิคการถ่ายภาพดิจิตอล
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ](รอเพิ่มเติม)