Augmented Reality Markup Language for wikitude
ARML (Augmented Reality Markup Language) คือภาษาที่ทำให้ผู้พัฒนา application จัดการเนื้อหาที่แสดงบนเว็บเบราว์เซอร์ของโทรศัพท์มือถือได้หลากหลาย โดยสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ KML เพราะ KML ไม่ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงตัวโปรแกรมหลักได้ ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มข้อมูลเอง ขาดส่วนเสริมที่สำคัญไป และเว็บเบราว์เซอร์แรกที่รองรับ ARML คือ wikitude
ARML Structure
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ARML ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือส่วนผู้ให้บริการเนื้อหา(Content Provider Section) และส่วนกำหนดพิกัดที่สนใจ (POI section)
Empty ARML Document
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ตัวอย่าง tag
<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
<kml xmlns="http://www.opengis.net/kml/2.2"
xmlns:ar="http://www.openarml.org/arml/ext/2.2"
xmlns:wikitude="http://www.openarml.org/arml/ext/2.2">
<Document>
</Document>
</kml>
จะสังเกตได้ว่าได้มีการแบ่ง ARML ออกเป็น 3 ชั้น[1]ด้วยกัน
- ชั้น KML ก็คือชั้น KML ทั่วไป
- ชั้น AR นั้นคือชั้น tag ที่ทุก AR เว็บเบราว์เซอร์ มี
- ชั้น wikitude ก็มี tag ของตัวเองเช่นเดียวกับ เว็บเบราว์เซอร์อื่น
หากว่าพบ tag ในส่วนที่คล้ายกันในหลายๆ เว็บเบราว์เซอร์แล้ว ก็จะถูกนำมาเก็บไว้ในชั้น AR เป็นไปได้ว่าในอนาคต จะสามารถนำส่วนของชั้น AR มาเก็บไว้ในชั้น KML ได้บ้าง
-
โครงสร้างชั้น ARML
Content Provider Section
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คือส่วนที่ที่จัดการเนื้อหาของผู้ให้บริการ เช่น สัญลักษณ์ เว็บไซต์ ชื่อ คำอธิบาย เป็นต้น
<ar:provider id="myCpId">
<ar:name>The name of the CP</ar:name>
<ar:description>Any description of the CP</ar:description>
<wikitude:providerUrl> http://myUrl.com/</wikitude:providerUrl>
<wikitude:tags>any tags for the CP</wikitude:tags>
<wikitude:logo>http://logoUrl.com</wikitude:logo>
<wikitude:icon>http://iconUrl.com</wikitude:icon>
</ar:provider>
Tag สำหรับ wikitude ส่วนเนื้อหาของผู้ให้บริการ[2]
TAG | คำอธิบาย |
---|---|
ar:provider (required) | ระบุตัวเนื้อหาของผู้ให้บริการหรือช่องทางของเนื้อหา เช่น Wikipedia Youtube Twitter สามารถใส่เพิ่มมากกว่า 1 ผู้ให้บริการ |
ar:name (required) | ชื่อของผู้ให้บริการเนื้อหา |
ar:description (optional) | อธิบายเนื้อหา ข้อมูลเพิ่มเติม |
wikitude:providerUrl (optional) | การเชื่อมโยงเนื้อหา ตามที่ผู้ให้บริการต้องการ |
wikitude:tags (optional) | พวกคำค้นต่างๆ จะช่วยให้เข้าถึงเร็วขึ้นเวลาค้นหา |
wikitude:logo (optional) | รูปสัญลักษณ์ที่ต้องการให้แสดงเมื่อถูกเลือก |
wikitude:icon (required) | icon คือรูปสัญลักษณ์ที่จะแสดงผลใน wikitude ซึ่งจะเชื่อมโยงกับส่วนจุดที่สนใจ(POI) |
Point of interested section
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คือ จุดที่สนใจ (POI) คือพิกัดของผู้ให้บริการนั่นเอง จะเป็นในรูปของ พิกัด ลองจิจูด ละติจูด จะมีอัลติจูดจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง จุดที่สนใจจะต้องเชื่อมต่อกับส่วนเนื้อหาของผู้ให้บริการ[3]
<Placemark id="123456">
<ar:provider>myCpId</ar:provider>
<name>Title of my POI</name>
<description>My POI description</description>
<wikitude:info>
<wikitude:thumbnail>
http://thumbnailUrl.com
</wikitude:thumbnail>
<wikitude:phone>123-456- 78</wikitude:phone>
<wikitude:url>http://poiUrl.com</wikitude:url>
<wikitude:email>in@Poi.com</wikitude:email>
<wikitude:address>
My POI Street 5, 5020 POI, Austria
</wikitude:address>
<wikitude:attachment>
http://myAttachmentLink.com
</wikitude:attachment>
</wikitude:info>
<Point>
<coordinates>
13.048056,47.797222,432.0
</coordinates>
</Point>
</Placemark>
Tag สำหรับ wikitude ในส่วนจุดที่สนใจจะคล้ายกับส่วนของเนื้อหาผู้ให้บริการ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
TAG | คำอธิบาย |
---|---|
name (required) | ชื่อของจุดที่สนใจ(POI) |
description (optional) | คำอธิบาย รายละเอียดของพิกัดนั้น ไม่สามารถใช้ รูปแบบภาษา HTML |
wikitude:info (optional) | ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดที่สนใจ |
wikitude:thumbnail (optional) | เป็นรูปภาพที่แสดง ขนาด 64x64 pixel |
wikitude:phone (optional) | หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าใส่ wikitude จะแสดงปุ่ม call me ให้เอง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบริการทางโทรศัพท์มือถือ |
wikitude:url (optional) | การเชื่อมโยงไปเว็บเพจที่มีข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่สนใจ |
wikitude:email (optional) | เขียน email ส่งไปหาบุคคลนั้นโดยตรง |
wikitude:address (optional) | ที่อยู่ของจุดที่สนใจ |
wikitude:attachment (optional) | สามารถแนบไฟล์ต่างๆ เช่น รูปภาพ PDF ฯลฯ |
Create an ARML file
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]วิธีการสร้าง ARML สามารถทำได้โดย
- แปลง KML ไฟล์เป็น ARML ไฟล์
- เขียน ARML เอง ถ้ารู้ภาษา XML
- ใช้ web-based GUI (อยู่ในช่วงพัฒนายังไม่สมบูรณ์)
แปลง KML ไฟล์เป็น ARML ไฟล์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การแปลง KML เป็น ARML เป็นขั้นตอนที่ง่าย โดยการเปิด ไฟล์ KML ที่ถูกสร้างไว้ในโปรแกรมแก้ไขข้อความและลบทุกส่วนออก เหลือไว้เพียงส่วนจุดที่สนใจ หรือ <Placemarks> มีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน[4]ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ลบส่วนที่ Comment ออกจาก KML เดิม ส่วนของ Namespace gx หรือ atom เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือลบทุกอย่างยกเว้นชื่อ คำอธิบาย และจุดพิกัด
<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
<kml xmlns="http://www.opengis.net/kml/2.2"
<!-- xmlns:gx="http://www.google.com/kml/ext/2.2"
xmlns:kml="http://www.opengis.net/kml/2.2"
xmlns:atom="http://www.w3.org/2005/Atom"> -->
<Document>
<!--<name>rent-a-buddy.kml</name>
<Style id="sn_ylw-pushpin">
<IconStyle>
<scale>1.1</scale>
<Icon> <href>http://maps.google.com/mapfiles/kml/pushpin/ylw-pushpin.png</href>
</Icon>
<hotSpot x="20" y="2" xunits="pixels" yunits="pixels"/>
</IconStyle>
</Style>
<StyleMap id="msn_ylw-pushpin">
<Pair>
<key>normal</key>
<styleUrl>#sn_ylw-pushpin2</styleUrl>
</Pair>
<Pair>
<key>highlight</key>
<styleUrl>#sh_ylw-pushpin2</styleUrl>
</Pair>
</StyleMap>
<Folder>
<name>Meine Orte</name>
<visibility>0</visibility>
<open>1</open> -->
<Placemark>
<name>Rent-a-buddy Office Vienna West</name>
<description>The Rent-a-buddy Office in Vienna West, very close to the city’s main station. Phone: 0043 1 123456789 E-Mail: office_vienna_west@rentabuddy.com </description>
<!--<visibility>0</visibility>
<Camera>
<longitude>16.35978423666323</longitude>
<latitude>48.19898341784327</latitude>
<altitude>0</altitude>
<heading>-3.23062483148403</heading>
<tilt>0.04612397934334594</tilt>
<roll>-3.779048180367987</roll> <altitudeMode>relativeToGround</altitudeMode>
</Camera>
<styleUrl>#msn_ylw-pushpin</styleUrl> -->
<Point>
<coordinates>16.33630854232613,48.19801167090942,0</coordinates>
</Point>
</Placemark>
<!--</Folder> -->
</Document>
</kml>
ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มส่วนของ wikitude ลงไปดังสีเขียวใน tag หรือในส่วนของ <ar:provider> เพื่อโยงกันระหว่างส่วนเนื้อหาและส่วนพิกัดที่สนใจ
<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
<kml xmlns="http://www.opengis.net/kml/2.2"
xmlns:wikitude="http://www.openarml.org/arml/ext/2.2"
xmlns:wikitudeInternal="http://www.openarml.org/arml/ext/2.2"
xmlns:ar="http://www.openarml.org/arml/ext/2.2"> <Document>
<ar:provider id="rent-a-buddy">
<ar:name> <![CDATA[Rent-a-buddy Car Rental Offices]]> </ar:name>
<ar:description> <![CDATA[Rent-a-buddy is a car rental company focusing on the Austrian market. We have all types of cars available for short and long term rental.]]> </ar:description>
<wikitudeInternal:author> <![CDATA[Rent-a-buddy Inc.]]> </wikitudeInternal:author>
<wikitude:providerUrl> <![CDATA (ctrl-click)"> (ctrl-click)">[http://www.rent-a-buddy.at]]> </wikitude:providerUrl>
<wikitude:tags> <![CDATA[car,rental,rent,buddy]]> </wikitude:tags>
<wikitude:logo> <![CDATA (ctrl-click)"> (ctrl-click)">[http://a_url_to_the_logo.png]]> </wikitude:logo>
<wikitude:icon> <![CDATA (ctrl-click)"> (ctrl-click)">[http://a_url_to_the_icon.png]]> </wikitude:icon>
</ar:provider>
<Placemark>
<ar:provider>1</ar:provider>
<name>Rent-a-buddy Office Vienna West</name>
<description>The Rent-a-buddy Office in Vienna West, very close to the city’s main station. Phone: 0043 1 123456789 E-Mail: office_vienna_west@rentabuddy.com </description>
<Point> <coordinates>16.33630854232613,48.19801167090942,0</coordinates>
</Point>
</Placemark>
</Document>
</kml>
ขั้นตอนที่ 3 เพิ่มรายละเอียดข้อมูลของ ARML หรือเพิ่ม thumbnail phone email address url attachment ดังเช่น
<wikitude:info>
<wikitude:thumbnail> http://www.link_to_thumbnail.com <wikitude:thumbnail>
<wikitude:phone> 00431123456789 </wikitude:phone>
<wikitude:email> any@email.com </wikitude:email>
<wikitude:address> Wien Westbahnhof, Gasse 5, Vienna, Austria </wikitude:address> <wikitude:url> http://www.myoffice.com </wikitude:url>
<wikitude:attachment> http://www.myoffice.com/attachment.pdf </wikitude:attachment>
</wikitude:info>
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Augmented Reality (AR) หรือโลกเสมือนผสานโลกจริง เป็นการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) ผสมรวมกับ เทคโนโลยีภาพ ตอบสนองกันแบบ real-time ทำให้เกิดภาพ 3D โดยการแสดงผลผ่านหน้าจอ ARMLก็เป็นภาษาหนึ่งที่รองรับโลกเสมือนผสานโลกจริง โดยเป็นตัวจัดการส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ AR
KML หรือ Keyhole Markup Language คือไวยากรณ์และรูปแบบไฟล์ XML สำหรับการทำโมเดลและการจัดเก็บคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น จุด เส้น ภาพ รูปหลายเหลี่ยม และโมเดลสำหรับแสดงผลเช่น Google Earth และ Google Maps[5] ซึ่งส่วนหนึ่งของ KML ได้ถูกนำมาพัฒนาขึ้นเป็น ARML
บทสรุป
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Tim Berners-Leeได้สร้างมาตรฐาน HTML ขึ้นมาเป็นคนแรก หลังจากนั้น 20 ปี HTML ได้กลายมาเป็นภาษาหลักของการสร้าง เว็บเพจ หากมองในรูปแบบการพัฒนาที่เป็นในเชิง code โลกเสมือนผสานโลกจริงได้เดินมาในทางเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องการที่จะทำให้ ARML เป็นมาตรฐานในการจัดการเนื้อหาของ AR และให้ ARML เป็นภาษาหลักซึ่งรองรับทุก AR เว็บเบราว์เซอร์ไม่ใช่เพียงแค่ wikitude เท่านั้น โดย ข้อมูลนี้จะมีส่วนร่วมในการผลักดัน ARMLแต่ต้องอาศัยทั้งสังคม และกลุ่มผู้พัฒนา เพื่อจะได้การยอมรับ จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมาย[6]
อ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ↑ ARML - An Augmented Reality Standard. Markus Tripp Martin Lechner. Barcelona. 2010. Mobile Augmented. หน้า 1-3.
- ↑ Martin Lechner Markus Tripp. ARML Specification for Wikitude 4. openarml. [ออนไลน์] Mobilizy GmbH, 11 12 2010. [สืบค้นเมื่อ 27 12 2010.] [1].
- ↑ ARML - Augmented Reality Markup Language. Martin Lechner. 2010.
- ↑ Mobilizy. Wikitude 4. HOW TO ADD CONTENT. [ออนไลน์] 1 2010. [2].
- ↑ คู่มือผู้ใช้ Google Earth - เกี่ยวกับ KML. earth.google.com. [ออนไลน์] google, 25 March 2010. [สืบค้นเมื่อ 2010 12 1.] [3].
- ↑ Piyawat Innurak. Augment Reality Markup Language For WIKITUDE. 2011.