ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำนาม

จาก วิกิตำรา

คำนาม คือ คำที่แสดงความหมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ สถานที่ ลักษณะซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

ชนิดของคำนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • คำนามทั่วไป หรือ สามานยนาม เป็นคำที่ไม่ชี้เฉพาะว่าเป็นสิ่งไหน เช่น สมุด ดินสอ ปากกา
  • คำนามเฉพาะ หรือ วิสามานยนาม เป็นคำที่ชี้เฉพาะลงไปว่าเป็นใครหรือสิ่งใด เช่น นายแดง วัดพระแก้ว
  • คำนามบอกลักษณะ หรือ ลักษณนาม เป็นคำตามหลังจำนวนบอกลักษณะของนามนั้น ๆ เช่น ปากกา ๓ ด้าม ไข่ ๓ ฟอง
  • คำนามบอกหมวดหมู่ หรือ สมุหนาม เป็นคำที่บอกว่ามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง รวมกัน เช่น ฝูง กอง
  • คำนามบอกอาการ หรือ อาการนาม เป็นคำที่บอกการกระทำหรือการแสดงมักมีคำว่า การ ความ นำหน้า เช่น การกิน การนอน ความดี ความชั่ว

หน้าที่ของคำนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น ตำรวจจับผู้ร้าย
  • ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น น้องหนูชอบเล่นแมว
  • ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น แม่ทำทองหยิบ แม่ทำกับข้าวให้ฉัน
  • ทำหน้าที่ขยายคำนามอื่น
  • ทำหน้าที่ขยายกริยา บอกสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา เช่น เขาไปตลาด นิดชอบทำงานกลางคืน