ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบาลี/คุณนาม

จาก วิกิตำรา

คุณนามหรือคุณศัพท์คือคำที่จะนำมาประกอบกับนามนามเพื่อที่จะขยายความ บอกรายละเอียดของนามนั้น เช่น ใหญ่, เล็ก, ดี, ชั่ว ในภาษาบาลีคำที่เป็นคุณนามจะต้องมีวิภัตติที่เสมอกับนามนามที่มันขยายด้วยทุกประการ โดยการแจกวิภัตติคำคุณนามก็ให้ใช้วิธีการอย่างเดียวกันกับนามนาม

ตามปกติแล้วคุณนามมักจะวางไว้อยู่ข้างหน้านาม แต่บางครั้งถ้าคำคุณนามถูกนำไปใช้ในประโยคที่มันไม่ได้มีหน้าที่ขยายนามโดยตรง แต่เป็นส่วนขยายรายละเอียดของกริยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคที่มีกริยาแสดง ความมี ความเป็น เช่น โหติ ก็อาจจะเห็นมันอยู่หลังนาม

เราสามารถสร้างคำคุณนามขึ้นมาได้จากนามนามโดยการลงปัจจัย -วนฺตุ/-วนฺตฺ (สำหรับ อะ การันต์) หรือ -มนฺตุ/-มนฺตฺ (สำหรับ อิ, อุ การันต์) (แทนศัพท์ อตฺถิ; เป็นตทััััสสัตถิตัทธิต) ได้ เช่น พล เป็นนาม แปลว่า กำลัง พลวนฺตุ เป็นคำคุณนาม แปลว่า มีกำลัง และการแจกวิภัตติของคำคุณนามประเภทนี้จะเป็นไปตามแบบของคำที่มีเสียงพยัญชนะ ตฺ หรือ นฺตฺ เป็นการันต์ เหมือนกับการแจกวิภัตติของคำว่า ภควนฺตุ/ภควนฺตฺ ดังที่ได้กล่าวถึงในบทที่แล้ว


ระดับขั้น (Degree)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การบอกความมากน้อยของคุณนามมีอยู่สามขั้นคือ

  1. ปกติ แสดงคุณลักษณะขั้นปกติ
  2. วิเสส แสดงคุณลักษณะขั้นกว่า คำในระดับขั้นนี้แสดงได้โดยใช้อุปสัค อติ- หรือลงปัจจัย -ตร, -อิย
  3. อติวิเสส แสดงคุณลักษณะขั้นที่สุด คำในระดับขั้นนี้แสดงได้โดยใช้อุปสัค อติวิย- หรือลงปัจจัย -ตม, -อิฏฺฐ

ตัวอย่าง

ปณฺฑิต (paº¹ita) ความเป็นบัณฑิต
อติปณฺฑิต (atipaº¹ita) มีความเป็นบัณฑิตยิ่งกว่า
อติวิยปณฺฑิต (ativiyapaº¹ita) มีความเป็นบัณฑิตที่สุด

ปาป (p±pa) เป็นบาป
ปาปตร (p±patara) เป็นบาปยิ่งกว่า
ปาปตม (p±patama) เป็นบาปที่สุด

เมื่อเวลานำคุณนามไปขยายนาม ต้องทำให้มีวิภัตติเสมอกัน เช่น จะนำคำว่า ปณฺฑิต ไปขยายคำว่า ภิกฺขุ ซึ่งสมมติว่าในประโยคเป็นปฐมา เอกพจน์ คำว่า ปณฺฑิต ก็จะต้องผันเป็น ปณฺฑิโต (m. Sg. Nom. -a) จึงได้เป็นนามวลีว่า ปณฺฑิโต ภิกขุ หรือ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต

 

สังขยาหรือจำนวนนับ (Numerals)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปกติสังขยานอกจากจะใช้เป็นตัวบอกความขยายว่านามนั้นๆ มีจำนวนอยู่เท่าไหร่แล้ว คำปกติสังขยาตั้งแต่จำนวน 1-4 ยังสามารถนำมาใช้เป็นสัพพนามได้ด้วย (คล้ายกับการใช้คำว่า one เป็นสรรพนามในภาษาอังกฤษ)

ต่อไปนี้จะเป็นตารางแสดงให้เห็นวิธีการนับในภาษาบาลี เริ่มตั้งแต่ตัวเลข 1-10

เลข
บาลี
ลิงค์
วจนะ
1
เอก
(m.), (n.), (f.)
(Sg.)
2
ทฺวิ
(Pl.)
3
ติ
4
จตุ(รฺ)
5
ปญฺจ
6
7
สตฺต
8
อฏฺฐ
9
นว
10
ทส

เอก นั้นเมื่อเป็นคุณนาม จะเป็นได้แค่เอกพจน์เท่านั้น แต่ถ้านำมันไปใช้เป็นสัพพนาม อาจกลายเป็นพหูพจน์ก็ได้

ตัวเลขในกลุ่มนี้จะสามารถเป็นได้ทั้งสามเพศ ปรับไปตามแต่คำนามที่มันประกอบอยู่ เฉพาะสังขยา เอก (1), ติ (3), และ จตุ/จตุรฺ (4) ที่จะมีวิธีการแจกวิภัตติแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละเพศ ส่วนสังขยาอื่นจะมีวิธีแจกเหมือนกันหมดทุกเพศ ดังตารางต่อไปนี้

    เอก ทฺวิ ติ จตุ/จตุรฺ ปญฺจ
1.ปฐมา (Nom)
(m.)
เอโก เทฺว, อุโภ ตโย จตฺตาโร ปญฺจ
(n).
เอกํ ตีณิ จตฺตาริ
(f.)
เอกา ติสฺโส จตสฺโส
2.ทุติยา (Acc)
(m.)
เอกํ เทฺว, อุโภ ตโย จตฺตาโร ปญฺจ
(n).
เอกํ ตีณิ จตฺตาริ
(f.)
เอกํ ติสฺโส จตสฺโส
3.ตติยา (Inst)
(m.)
เอเกน ทฺวีหิ, อุโภหิ ตีหิ จตูหิ ปญฺจหิ
(n).
เอเกน ตีหิ จตูหิ
(f.)
เอกาย ตีหิ จตูหิ
4.จตุตถี (Dat)
(m.)
เอกสฺส ทฺวินนํ, อุภินนํ ติณฺณํ จตุนฺนํ ปญฺจนฺนํ
(n).
เอกสฺส ติณฺณํ จตุนฺนํ
(f.)
เอกาย ติสฺสนฺนํ จตสฺสนฺนํ
5.ปัญจมี (Abla)
(m.)
เอกสฺมา ทฺวีหิ, อุโภหิ ตีหิ จตูหิ ปญฺจหิ
(n).
เอกสฺมา ตีหิ จตูหิ
(f.)
เอกาย ตีหิ จตูหิ
6.ฉัฏฐี (Gen)
(m.)
เอกสฺส ทฺวินนํ, อุภินนํ ติณฺณํ จตุนฺนํ ปญฺจนฺนํ
(n).
เอกสฺส ติณฺณํ จตุนฺนํ
(f.)
เอกาย ติสฺสนฺนํ จตสฺสนฺนํ
7.สัตตมี (Loc)
(m.)
เอกสฺมิํ ทฺวีสุ, อุโภสุ ตีสุ จตูสุ ปญฺจสุ
(n).
เอกสฺมิํ ตีสุ จตูสุ
(f.)
เอกาย ตีสุ จตูสุ

โดยตั้งแต่ ปฺญจ (5) เป็นต้นไป จะมีวิธีการแจกวิภัตติเหมือนกับ ปญฺจ ทั้งหมด

ต่อมา การนับเลขเกินสิบ ในภาษาบาลีจะนับเลขในหลักหน่วยก่อนหลักสิบ เช่น 15 ในภาษาไทยเรียก สิบ-ห้า แต่ในภาษาบาลีจะเรียก ห้า-สิบ และการนับเลขเกินสิบนี้ เมื่อนับไปจนถึงเลข 19 แล้ว ในภาษาไทยจะมองว่ามัน คือ"สิบบวกเข้าไปอีกเก้า" แต่ในภาษาบาลีจะมองว่า "มันขาดอีกหนึ่งจะถึงยี่สิบ" ดังนี้

เลข
บาลี
ลิงค์
วจนะ
11
เอกาทส
(m.), (n.), (f.)
(Pl.)
12
ทวฺาทส, พารส
13
เตรส
14
จตุทฺทส, จุทฺทส
15
ปญฺจทส, ปณฺณรส
16
โสฬส
17
สตฺตรส
18
อฏฺฐารส
19
เอกูนวีส, อูนวีส
(f.)
(Sg.)
20
วีส, วีสติ

ข้อสังเกตต่อมาก็คือ จากเดิมที่ตัวเลขเป็นได้ทั้งสามเพศและเป็นพหูพจน์ แต่เมื่อนับมาถึง วีส (20) โดยเริ่มตั้งแต่ เอกูนวีส (19) มันจะกลับกลายเป็นเพศหญิงเอกพจน์ และมีวิธีการแจกวิภัตติต่างจากเลขก่อนหน้านี้ ดังจะแสดงในตารางต่อไป นอกจากนี้แล้ว อีกรูปหนึ่งของ วีส คือ วีสติ ก็จะมีวิธีการแจกวิภัตติที่ต่างออกไปอีก ซึ่งคราวนี้ให้แจกวิภัตติตามแบบคำนามสระ อิ การันต์ (เพศหญิง เอกพจน์) ดังตารางต่อไปนี้

    เอกูนวีส เอกูนวีสติ
1.ปฐมา (Nom)
(f.)
เอกูนวีสํ เอกูนวีสติ
2.ทุติยา (Acc)
(f.)
เอกูนวีสํ เอกูนวีสตึ
3.ตติยา (Inst)
(f.)
เอกูนวีสาย เอกูนวีสติยา
4.จตุตถี (Dat)
(f.)
เอกูนวีสาย เอกูนวีสติยา
5.ปัญจมี (Abla)
(f.)
เอกูนวีสาย เอกูนวีสติยา
6.ฉัฏฐี (Gen)
(f.)
เอกูนวีสาย เอกูนวีสติยา
7.สัตตมี (Loc)
(f.)
เอกูนวีสาย เอกูนวีสติยา


เลข
บาลี
เลข
บาลี
เลข
บาลี
21
เอกวีส
31
เอกตฺตึส
41
เอกจตฺตาฬีส
22
ทฺวาวีส, พาวีส
32
ทฺวตฺตึส, พตฺตึส
42
เทฺวจตฺตาฬีส
23
เตวีส
33
เตตฺตึส
43
เตจตฺตาฬีส
24
จตุวีส
34
จตุตฺตึส
44
จตุจตฺตาฬีส
25
ปญฺจวีส
35
ปญฺจตฺตึส
45
ปญฺจจตฺตาฬีส
26
ฉพฺพีส
36
ฉตฺตึส
46
ฉจตฺตาฬีส
27
สตฺตวีส
37
สตฺตตฺตึส
47
สตฺตจตฺตาฬีส
28
อฏฺฐวีส
38
อฏฐตฺตึส
48
อฏฺฐจตฺตาฬีส
29
เอกูนตฺตึส, อูนตฺตึส
39
เอกูนจตฺตาฬีส, อูนจตฺตาฬีส
49
เอกูนปญฺญาส, อูนปญฺญาส
30
ตึส, ตึสติ
40
จตฺตาฬีส, ตาฬีส
50
ปญฺญาส, ปณฺณาส

ตารางข้างบนแสดงตัวเลขตั้งแต่ 21-50 ซึ่งหลักการก็คล้ายๆ เดิมคือ ในเรื่องของการนับ ก็จะอ่านหลักหน่วยก่อนหลักสิบ และตรงเลขเก้านั้น ให้มองว่า ขาดอีกหนึ่งจะถึงสิบถัดไป ส่วนในเรื่องของการแจกวิภัตตินั้น ถ้าตัวเลขใดเป็น อะ การันต์ ก็ให้แจกเหมือนอย่าง เอกูนวีส (19) ส่วนตัวเลขใดเป็น อิ การันต์ ก็ให้แจกเหมือนอย่าง เอกูนวีสติ (19) ข้างต้น

เลข
บาลี
ลิงค์
วจนะ
60
สฏฺฐี
(f.)
(Sg.)
70
สตฺตติ
80
อสีติ
90
นวุติ
100
สตํ
(n.)
(Sg.), (Pl.)
1000
สหสฺสํ
หมื่น
ทสสหสฺสํ
แสน
สตสหสฺสํ, ลกฺขํ
ล้าน
ทสสตสหสฺสํ
สิบล้าน
โกฏิ
(f.)

ตัวเลขตั้งแต่ 59-68 นั้น สระการันต์จะเป็น อี จึงให้แจกวิภัตติแบบ อี การันต์ และตัวเลขตั้งแต่ 69-98 สระการันต์จะกลายเป็น อิ จึงแจกวิภัตติแบบ อิ การันต์ ตัวเลขหลังจากนั้นจะมีนิคคหิตเป็นการันต์ และเปลี่ยนเพศเป็นนปุงสกลิงค์ ให้แจกวิภัตติแบบ อะ การันต์ และจะกลับไปเป็นเพศหญิงอีกครั้งที่ โกฏิ เนื่องจากมี อิ เป็นการันต์

ส่วนเรื่องของพจน์นั้น ตั้งแต่ 100 ขึ้นไปอาจจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ คือถ้าเป็น หนึ่งร้อย, หนึ่งพัน, หนึ่งหมื่น ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นเอกพจน์ แต่ถ้าเป็น สองร้อย, สองพัน, สองหมื่น ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นพหูพจน์

ตัวอย่าง

พี่ชายสี่คน = จตฺตาโร ภาตโร (catt±ro bh±taro)
พี่สาวสี่คน = จตสฺโส ภคินิโย (catt±ri bhaginiyo)
ชนทั้งสามสิบห้า = ปญฺจตึสํ ชนา (pañcati½sa½ jan±)

การต่อเศษจำนวน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ให้นำเลขหลักน้อยไว้หน้า (เป็นตัวขยาย) และเลขหลักใหญ่ไว้หลัง (เป็นตัวหลัก) เรียงลำดับกันไป และใช้คำว่า อุตฺตร (กว่า) และ อธิก (เกิน) มาเชื่อม โดย อุตฺตร มักจะใช้ขยายความหลักร้อย และ อธิก ใช้ขยายความหลักพันขึ้นไป

ตัวอย่าง

  209 = nine over two-hundred =
    นว+อุตฺตร+ทฺวิสต = นวุตฺตรทฺวิสตํ
  1500 = five-hundred exceeding one-thousand =
    ปญฺจสต+อธิก+สหสฺส = ปญฺจสตาธิกสหสฺสํ
  84000 = eighty-four-thousand =
    จตุราสีติ+สหสฺส = จตุราสีติสหสฺสํ
  2548 = forty-eight over five-hundred exceeding two-thousand =
    อฏฺฐจตฺตาฬีส+อุตฺตร+ปญฺจสต+อธิก+ทฺวิสหสฺส = อฏฺฐจตฺตาฬีสุตฺตรปญฺจสตาธิกทฺวิสหสฺสํ

การใช้คำว่าครึ่ง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในภาษาบาลีบางครั้งก็ใช้คำว่าครึ่งประกอบเข้าไปในการนับ คำว่าครึ่งในภาษาบาลีคือ อฑฺฒ เวลาใช้ให้นำไปขยายปูรณสังขยา หรือเลขอันดับ จะหมายถึง "อีกครึ่งหนึ่งของหน่วยนับในขณะนั้น ก็จะเท่ากับสังขยาที่มันขยายอยู่" และเมื่อมีการใช้คำว่าครึ่งนี้แล้ว พจน์จะกลายเป็นเอกพจน์เสมอ

ตัวอย่าง

150 = อีกครึ่ง(ร้อย)ก็สองร้อย (หรือร้อยที่สอง) = อฑฺเฒน ทุติยํ สตํ = อฑฺฒทุติยาสตํ หรือศัพท์เฉพาะ ทิยฑฺฒสตํ
250 = อีกครึ่ง(ร้อย)ก็สามร้อย (หรือร้อยที่สาม) = อฑฺเฒน ตติยํ สตํ = อฑฺฒตติยาสตํ หรือ อฑฺฒเตยฺยสตํ
3500 = อีกครึ่ง(พัน)ก็สี่พัน (หรือพันที่สี่) = อฑฺเฒน จตุตฺถํ สหสฺสํ = อฑฺฒจตุตฺถาสหสฺสํ หรือ อฑฺฒุฑฺฒสหสฺสํ

การประกอบสังขยากับคำนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตามปกติแล้วสังขยาถือเป็นตัวขยาย (คุณนาม) จึงให้วางไว้หน้าคำนาม แต่สำหรับสังขยาตั้งแต่ ร้อย, พัน ขึ้นไป (ที่เราจะสังเกตเห็นว่ามันมีเพศเป็นกลาง)นั้น จะจัดเป็นนามนาม กลายเป็นว่า คำนามอื่นจะต้องมาวางไว้หน้าตัวเลข ร้อย, พัน เหล่านี้แทน แต่เพศ, พจน์ ของคำนามก็ยังเป็นแบบของมันเองอยู่ จะไม่เปลี่ยนตามสังขยาข้างหลังมัน

ตัวอย่าง

10 วัน = สิบ วัน = ทส ทิวสา
100 วัน = วัน จำนวนร้อย = ทิวสา สตํ
200 วัน = สองของ วัน จำนวนร้อย = เทฺว ทิวสา สตานิ, เทฺว ทิวสสตานิ
356 วัน = ห้าสิบหกเกินจาก สามของ วันจำนวนร้อย = ปญฺจสฏฺฐฺยาธิกานิ ตีณิ ทิวสสตานิ
2500 วัน = อีกครึ่งก็จะสามของ วัน จำนวนพัน = อฑฺฒเตยฺยํ ทิวสา สหสฺสํ, อฑฺฒเตยฺยํ ทิวสสหสฺสํ
หนังสือ 149 เล่มของเด็กชาย 16 คน = โสฬสนฺนํ กุมารานํ เอกูนปญฺญาสาธิกํ ปณฺณานํ สตํ

ปูรณสังขยาหรือเลขอันดับ (Ordinals)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปูรณสังขยาคือตัวบอกเลขอันดับ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง คำที่เป็นปูรณสังขยาจะเป็นเอกพจน์เสมอ แต่จะแบ่งเพศ และแจกวิภัตติตามการันต์ เหมือนนามนามตามปกติ ตารางต่อไปนี้แสดงตัวอย่างปูรณสังขยา

ลำดับ
(m.)
(n.)
(f.)
ที่ 1
ปฐโม ปฐมํ ปฐมา
ที่ 2
ทุติโย ทุติยํ ทุติยา
ที่ 3
ตติโย ตติยํ ตติยา
ที่ 4
จตุตฺโถ จตุตฺถํ จตุตฺถี, จตุตฺถา
ที่ 5
ปญฺจโม ปญฺจมํ ปญฺจมี, ปญฺจมา
ที่ 6
ฉฏฺโฐ ฉฏฺฐํ ฉฏฺฐี, ฉฏฺฐา
ที่ 7
สตฺตโม สตฺตมํ สตฺตมี, สตฺตมา
ที่ 8
อฏฺฐโม อฏฺฐมํ อฏฺฐมี, อฏฺฐมา
ที่ 9
นวโม นวมํ นวมี, นวมา
ที่ 10
ทสโม ทสมํ ทสมี, ทสมา
ที่ 11
เอกาทสโม เอกาทสมํ เอกาทสี
ที่ 12
ทฺวาทสโม, พารสโม ทฺวาทสมํ, พารสมํ ทฺวาทสี, พารสี
ที่ 13
เตรสโม เตรสมํ เตรสี
ที่ 14
จตุทฺทสโม จตุทฺทสมํ จตุทฺทสี
ที่ 15
ปณฺณรสโม ปณฺณรสมํ ปณฺณรสี
ที่ 16
โสฬสโม โสฬสมํ โสฬสี
ที่ 17
สตฺตรสโม สตฺตรสมํ สตฺตรสี
ที่ 18
อฏฺฐารสโม อฏฺฐารสมํ อฏฺฐารสี
ที่ 19
เอกูนวีสติโม เอกูนวีสติมํ เอกูนวีสติมา
ที่ 20
วีสติโม วีสติมํ วีสติมา

สำหรับอิตถีลิงค์ เอกาทสี (11th), จตุทฺทสี (14th), ปณฺณรสี (15th) เวลาแจกในปฐมาวิภัตติสามารถลงนิคคหิตอาคมได้ คือเป็น เอกาทสึ, จตุทฺทสึ, ปณฺณรสึ

  1. การสะกดและคำอ่าน
  2. นามนาม (Nouns)
  3. คุณนาม (Adjectives)
  4. สัพนาม (Pronouns)
  5. อาขยาตหรือคำกริยา (Verbs)
  6. อัพยยศัพท์หรือศัพท์ที่ไม่ต้องผัน (Indeclinables)
  7. การสร้างคำ
  8. วากยสัมพันธ์ (Syntax)
  9. คำศัพท์ (Vocabulary)