ภาษาลาว/ระบบเสียง

จาก วิกิตำรา

ຫາເມຍໃໝ່

ระบบเสียง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พยัญชนะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พยัญชนะต้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  ริมฝีปาก

ทั้งสอง

ริมฝีปากล่าง

-ฟันบน

ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก   [m]ມ, ໝ     [n]ນ, ໜ   [ɲ]ຍ, ຫຍ   [ŋ]ງ, ຫງ  
เสียงกัก [p] [pʰ]ຜ,ພ [b]   [t] [tʰ]ຖ,ທ [d]     [k] [kʰ]ຂ,ຄ   [ʔ]*ອ
เสียงเสียดแทรก   [f]ຝ,ຟ [s]ສ,ຊ         [h]ຫ,ຮ
เสียงผสมเสียดแทรก       [t͡ɕ]      
เสียงเปิด   [ʋ]ວ,ຫວ     [j]    
เสียงเปิดข้างลิ้น       [l]ລ,ຣ,ຫຼ        
* ອ /ʔ/ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง

พยัญชนะสะกด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  ริมฝีปาก

ทั้งสอง

ริมฝีปากล่าง

-ฟันบน

ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก   [m]     [n]       [ŋ]  
เสียงกัก [p̚]     [t̚]       [k̚]   [ʔ]*
เสียงเปิด   [w]       [j]    
* เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

สระ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เสียงสระในภาษาลาวซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงสระภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

  ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง /i/xິ /iː/xີ /ɯ/xຶ /ɯː/xື /u/xຸ /uː/xູ
ลิ้นกึ่งสูง /e/ເxະ /eː/ເx /ɤ/ເxິ /ɤː/ເxີ /o/ໂxະ, xົ /oː/ໂx
ลิ้นกึ่งต่ำ /ɛ/ແxະ /ɛː/ແx     /ɔ/ເxາະ /ɔː/xໍ, xອ
ลิ้นลดต่ำ     /a/xະ /aː/xາ    

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • ເxຍ /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา
  • ເxືອ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา
  • xົວ /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา

เสียงวรรณยุกต์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก) Mid (สามัญ) High (ตรี) Rising (จัตวา) High Falling (ใกล้เคียงกับโท) และ Low Falling (โท) ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ

  • กลางต่ำลงขึ้น
  • ต่ำขึ้น
  • กลางระดับ
  • สูงขึ้น
  • กลางขึ้น
วรรณยุกต์ สัทอักษรสากล ตัวอย่าง
ไทย อังกฤษ อักษรลาว รูปปริวรรต สัทอักษรสากล เทียบเสียงไทย

(โดยประมาณเท่านั้น)

ความหมาย
เอก low /◌̀/ [˨˩] ກາ กา /kàː/ ก่า กา,นกกา
จัตวา rising /◌̌/ [˨˦] ຂາ ขา /kʰǎː/ ขา ขา, อวัยวะใช้เดิน
สามัญ mid /◌̄/ [˧] ຂ່າ,ຄ່າ ข่า,ค่า /kʰāː/ คา ข่า (หัวข่า), ค่า (คุณค่า)
โทต่ำ low-falling /◌᷆/ [˧˩] ຂ້າ ข้า /kʰa᷆ː/ ข่า,ข้า ข้า (สรรพนาม), ฆ่า, ข้าทาส
ตรี high /◌́/ [˦˥] ຄາ คา /kʰáː/ ค้า คา (คาที่), หญ้าคา
โทสูง falling /◌̂/ [˥˩] ຄ້າ ค้า /kʰâː/ ค่า ค้า, ค้าขาย

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]