ภาษาอังกฤษ/คำศัพท์/วันที่และเวลา

จาก วิกิตำรา

บทนี้ว่าด้วยคำศัพท์เกี่ยวกับวันที่และเวลา (Dates and Times)

วันในสัปดาห์ (Days of the Week)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
รูป ออกเสียง
บริติช อเมริกัน
Sunday ซันเด, ซันดิ วันอาทิตย์
Monday มันเด, มันดิ วันจันทร์
Tuesday ทยูซดิ, -เดย์ ทูซดิ, ทูซเดย์, ทยูซ- วันอังคาร
Wednesday เวนซ์เดย์, เวนซ์ดิ, เวดนซ์- เวนซ์เดย์, เวนซ์ดิ วันพุธ
Thursday เธิร์สเดย์, เธิร์สดิ[lower-alpha 1] วันพฤหัสบดี
Friday ฟรายเดย์, ฟรายดิ วันศุกร์
Saturday แซ(ะ)ทะเดย์, -ดิ แซ(ะ)เทอร์เดย์, -ดิ วันเสาร์
Sunday ซันเด, ซันดิ วันเสาร์

เดือน (Months)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
รูป ออกเสียง
บริติช อเมริกัน
January จแยนยะริ, จแยนยุอะริ[lower-alpha 2] (หรือเหมือนอเมริกัน) จแยนยูเอะริ, จแยนยูแอะริ[lower-alpha 2] เดือนมกราคม
February เฟบ-รูเอะริ, เฟบยะริ, เฟบยุเอะริ, เฟบยะริ, เฟบริ เฟบ-รูเอะริ, เฟบยูเอ(อะ)ริ เดือนกุมภาพันธ์
March มาช[lower-alpha 3] มาร์ช[lower-alpha 3] เดือนมีนาคม
April เอพริล อาพริล, ออพริล เดือนเมษายน
May เมย์ เดือนพฤษภาคม
June จยูน, จย-ยูน[lower-alpha 2] เดือนมิถุนายน
July จยูลาย, จยะลาย[lower-alpha 2] เดือนกรกฎาคม
August ออกัสต์ ออกัสต์, อะกัสต์ เดือนสิงหาคม
September เซพเทมบะ, ซัพ- เซพเทมบะร์ เดือนกันยายน
October ออคโทบะ ออคโทบะร์, ออคโทเบอร์ เดือนตุลาคม
November โน-ฟเวมบะ, นะ-ฟเวมบะ[lower-alpha 4] โน-ฟเวมบะร์[lower-alpha 4] เดือนพฤศจิกายน
December ดิเซมบะ ดิเซมบะร์ เดือนธันวาคม

ปี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การบอกปีให้แบ่งเลขออกเป็นสองชุด ชุดแรกประกอบด้วยเลขสองตัวหน้า และอีกชุดประกอบด้วยอีกสองตัวที่เหลือ เช่น

  • 2020 Twenty twenty หรือ two thousand twenty
  • 1969 Nineteen sixty-nine

การถามและตอบวันที่[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
รูป ออกเสียง
บริติช อเมริกัน
What day is (it) today? วอต เดย์ อีซ (อิต) ทะเดย์ ทะเดย์ หรือ ทุเดย์ ก็ได้ วันนี้วันอะไร, วันที่เท่าไหร่
Today is ... ทะเดย์ อีซ ... วันนี้วันที่ ...
It is ... today. อิต อีซ ... ทะเดย์

คำตอบ ตอนเป็นวันที่ เดือน ปี และอาจใส่วันในสัปดาห์ด้วย เช่น Today is Sunday, the seventh of June, two thousand twenty.

การเขียนวันเดือนปี อาจมีสองวิธี

  • แบบบริติช เช่น 6 June 2020
  • แบบอเมริกัน เช่น June 6, 2020 [เรียงเดือนขึ้นก่อนวัน แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วตามด้วยปี]

เวลาและช่วงของวัน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
รูป ออกเสียง
บริติช อเมริกัน
morning มอร์นิง เวลาเช้า (หรืออาจหมายถึงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน)
noon นุน เที่ยงวัน
afternoon อาฟตะนุน แอ็ฟตะนุน เวลาบ่าย
evening อีฟนิง อิฟนิง เวลาเย็น (แต่สำหรับการบอกเวลาอาจใช้ได้ถึงเที่ยงคืน)
night นายต์ เวลากลางคืน
o'clock อะคลอค, โอ-คลอค ในบริบทการบอกเวลา ใช้บอกเวลาเป็นชั่วโมงหรือนาฬิกา

การถามและบอกเวลา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
รูป ออกเสียง
บริติช อเมริกัน
What time is it? วอต ทาย-อึม อีซ อิต เวลากี่โมงแล้ว, เท่าไหร่แล้ว
What is (What's) the time? วอต อีซ (วอตส์) เธอะ ทาย-อึม[lower-alpha 5]

คำตอบบอกเวลาอาจตอบว่า It's ... เช่น

  • It's eight o' clock.

อาจขยายความต่อว่าเป็นแปดโมงเช้า (เพื่อแยกกับเวลาสองทุ่ม)

  • It's eight o' clock in the morning. เวลา 8 โมงเช้า

การบอกเวลาอาจบอกได้เป็นเลขชั่วโมงกับนาทีได้เลย หรืออาจบอกเวลาคล้ายแบบหน้าปัดซึ่งระบุว่าผ่าน 1 ชั่วโมงมากี่นาทีแล้ว หรืออีกกี่นาทีจะครบ 1 ชั่วโมงถัดไป ตัวอย่าง

เวลา ชั่วโมง-นาที แบบหน้าปัด
08:15 Eight fifteen Fifteen past eight หรือ a quarter past eight
08:30 Eight thirty Thirty past eight หรือ half past eight
08:45 Eight forty-five A quarter to nine หรือ fifteen to nine
08:55 Eight fifty-five Five to nine

สังเกตว่าเมื่อผ่านครึ่งชั่วโมงไป การบอกเวลาแบบหน้าปัดจะเปลี่ยนจาก past (พ้น, เลย) มาเป็น to (ถึง) แทน และจะบอกเวลาโดยบอกจำนวนนาทีที่เหลือก่อนถึงชั่วโมงถัดไป สำหรับคำว่า quarter (หนึ่งในสี่) หรือ half (ครึ่ง) เกิดขึ้นจากการแบ่งนาฬิกาออกเป็นสี่ส่วนเท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 15 นาทีหรือ 30 นาทีจึงใช้คำดังกล่าวได้ตามลำดับ

เชิงอรรถ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. /θ/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ ธ แทน
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 /dʒ/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้จวบกล้ำ จย แทน
  3. 3.0 3.1 /tʃ/ ออกเสียงแบบ ช ลากยาว ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้
  4. 4.0 4.1 /v/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ควบกล้ำ ฟว แทน
  5. /ð/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ ธ แทน