ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์

จาก วิกิตำรา

บทนี้ว่าด้วยไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (English grammar) ซึ่งว่าด้วยหน้าที่ของคำ (parts of speech) ประโยค และวากยสัมพันธ์ (syntax)

อารัมภบท[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การศึกษาภาษาอย่างเหมาะสมเป็นสาขาวิชาแห่งปัญญาขั้นสูงสุด หากฉันยกเว้นการอภิปรายเกี่ยวกับกิตติคุณโดยเปรียบเทียบของนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์เสียแล้ว ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นสาขาวิชาที่สำคัญที่สุดในวัยเด็กของฉัน—จอห์น ทินดอล[lower-alpha 1]

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษอาจสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นการบอกกฎวิธีใช้คำ
  2. เป็นบันทึกการใช้คำที่ควรยึดถือปฏิบัติ
  3. ว่าด้วยแบบรูป (form) ของภาษา
  4. ภาษาอังกฤษพิจารณาจากสภาพและการใช้คำในประโยค

บางประโยคที่ยกตัวอย่างมาตัดมาจากวรรณคดีภาษาอังกฤษสมัยใหม่ "มาตรฐาน" หรือหลังศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษในวรรณคดี (literary English) ถือเป็นรากฐานของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

อาจมีคำและวลีจากภาษาอังกฤษพูดหรือภาษาปาก (spoken หรือ colloquial English) อันเป็นการสนทนาตามปกติที่ยังไม่มีการศึกษาในหมู่ปัญญาชน

วากยสัมพันธ์บางอย่างอาจเคยถูกต้องหรือเป็นมาตรฐานมาก่อน แต่ปัจจุบันเป็นไวยากรณ์เลวแล้ว ซึ่งเรียกว่าเป็นภาษาอังกฤษไร้รสนิยม (vulgar English) คือภาษาของผู้ไม่มีการศึกษาและคนเขลา[1]

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

Sentence ~ ประโยค หมายถึง คำหรือกลุ่มคำที่พูดหรือเขียนออกไปแล้วมีความสมบูรณ์ เนื้อความชัดเจน ฟังเข้าใจได้ แล้วประโยคจะต้องมีอะไรบ้างเพื่อที่จะสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องกล่าวถึงส่วนประกอบของประโยค ซึ่งแยกได้ดังนี้

ภาคประธาน + ภาคแสดง
รูปแบบที่ 1 ประธาน + กริยา
Birds fly.
นก บิน
รูปแบบที่ 2 ประธาน + กริยา + กรรม
The poor need food and clothes.
คนยากจน ต้องการ อาหารและเสื้อผ้า
รูปแบบที่ 3 ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
I saw him reading a book.
ฉัน เห็น เขา กำลังอ่านหนังสืออยู่

ประโยคอาจมีเฉพาะแต่ภาคแสดงก็ได้ โดยละภาคประธานเอาไว้ในฐานที่เข้าใจ ส่วนมากใช้กับประโยคคำสั่ง เช่น (You) Sit down, please. ~ กรุณานั่งลงได้

เมื่อประโยคต้องประกอบด้วยประธานและกริยา แล้วอะไรที่จะมาเป็นประธานและกริยาได้ ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อต่อไปนี้

ประธาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำที่จะมาเป็นประธาน (Subject) ในประโยคได้นั้น ได้แก่ คำ 7 จำพวก ได้แก่

  1. คำนามทุกชนิด
  2. คำสรรพนามทุกบุรุษ
  3. คำคุณศัพท์ที่นำมาใช้อย่างคำนาม
  4. กริยาสภาวะมาลา (Infinitive โครงสร้าง To + Verb) เช่น To walk, To give, To read
  5. กริยานาม (Gerund หรือ Verbal noun โครงสร้าง Verb 1 เติม ing) เช่น Walking, Drinking, Reading
  6. วลี (Phrase) ทุกชนิด
  7. ประโยค (Clause)

กริยา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รายละเอียดเพิ่มเติมดูที่ คำกริยา

ส่วนของกริยาในประโยคนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. Transitive Verb ~ สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ จึงทำให้เนื้อความของกริยานั้นสมบูรณ์ ชัดเจนขึ้น
  2. Intransitive Verb ~ อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีเนื้อความสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องมีกรรมมารับเหมือนสกรรมกริยา

กรรม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากที่กล่าวมาแล้วว่า สกรรมกริยา เป็นคำกริยาที่ต้องมีกรรม (Object) มารองรับ พูดถึงกรรมแล้ว อะไรบ้างที่จะมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ คำที่จะมาเป็นกรรมได้นั้น ได้แก่ คำทั้ง 7 จำพวก เหมือนกันกับประธาน ได้แก่

  1. คำนามทุกชนิด
  2. คำสรรพนามทุกบุรุษ
  3. คำคุณศัพท์ที่ใช้อย่างคำนาม
  4. Infinitive (โครงสร้าง To + Verb)
  5. Gerund (โครงสร้าง Verb 1 เติม ing)
  6. วลี (Phrase) ทุกชนิด
  7. ประโยค (Clause)

ส่วนเติมเต็ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สกรรมกริยาบางตัว เมื่อมีกรรมมารับแล้วแต่ก็ยังฟังดูเนื้อความยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องมี Complement ~ ส่วนเติมเต็ม ซึ่งหมายถึง คำหรือกลุ่มคำหลังคำกริยา ที่ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น เช่น

The people in this country made him king. ~ ประชาชนในประเทศนี้ตั้งให้เขาเป็นพระราชา

(King เป็นคำนาม ทำหน้าที่ขยาย him จึงเป็นส่วนเติมเต็ม)

คำที่จะมาเป็นส่วนเติมเต็มได้นั้น ได้แก่ คำคุณศัพท์, คำนาม, Participle, Infinitive

ต้นฉบับ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. The proper study of a language is an intellectual discipline of the highest order. If I except discussions on the comparative merits of Popery and Protestantism, English grammar was the most important discipline of my boyhood.—John Tyndall.

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ