ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำสรรพนาม

จาก วิกิตำรา

คำสรรพนาม (Pronouns) คือคำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่และสิ่งนามธรรม (คำนาม) เพื่อเลี่ยงไม่กล่าวคำนามนั้นซ้ำซากในประโยค ตัวอย่างเช่น

"The pupil will succeed in the pupil's efforts if the pupil is ambitious"

เราสามารถย่นให้เหลือ

"The pupil will succeed in his efforts if he is ambitious."

นอกจากนี้ยังใช้ในประโยคคำถาม

"Whose house is that?"

จะเห็นว่าคำสรรพนามใช้แทนชื่อเจ้าของในระหว่างที่ยังไม่ทราบ

ชนิดของคำสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) นอกจากนี้ยังรวม สามีสรรพนาม (Possessive Pronoun) และ สรรพนามสะท้อน (Reflexive Pronoun)
  • ประพันธ์สรรพนาม (Relative Pronoun)
  • อนิยมสรรพนาม (Indefinite Pronoun)
  • สรรพนามบ่งชี้ (Demonstrative Pronoun)
  • ปฤจฉาสรรพนาม (Interrogative Pronoun)

บุรุษสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บุรุษสรรพนาม มีไว้สำหรับใช้แทนชื่อของผู้พูด ผู้ฟัง และบุคคล สัตว์ สิ่งของที่เอ่ยถึง บุรุษสรรพนามแบ่งออกเป็น 2 พจน์ 3 บุรุษ ดังนี้

เอกพจน์ พหูพจน์
บุรุษที่ 1 I we
บุรุษที่ 2 you you
บุรุษที่ 3 he (เพศชาย) they
she (เพศหญิง)
it (ไม่ระบุเพศ)

นอกจากนี้ บุรุษสรรพนาม ยังแจกออกไปได้อีก 5 รูป ดังนี้

สรรพนามรูปประธาน สรรพนามรูปกรรม สามีคุณศัพท์
(บอกเจ้าของ)
สามีสรรพนาม
(บอกเจ้าของ)
สรรพนามสะท้อน
(เน้นย้ำ)
I me my mine myself
We us our ours ourselves
You you your yours yourself, yourselves
He him his his himself
She her her hers herself
It it its its itself
They them their theirs themselves

การใช้บุรุษสรรพนามในประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กรรตุการก (Nominative)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สรรพนามรูปประธานทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค หรือเป็นส่วนเติมเต็มของกริยา ซึ่งสังเกตได้จากตำแหน่งที่วางอยู่หลังกริยา to be เช่น

It is I who can speak English. ผมเองเป็นผู้พูดภาษาอังกฤษได้

กรณีภาษาอังกฤษพูด สรรพนามที่ใช้เป็นภาคแสดงอาจใช้รูปกรรม เช่น

"I am sure it was him."
"I am sure it was he." ฉันมั่นใจว่าเป็นเขา

สัมพันธการก (Possessive)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การใช้เหมือนกับ สัมพันธการกของคำนาม (โดยเปลี่ยนคำนามเป็นคำสรรพนามที่สอดคล้องกัน เช่น Mark's เป็น his, yesterday's เป็น its)

สามีสรรพนามแท้จริงแล้วเป็น double possessive เช่น

In New York I read a newspaper criticism one day, commenting upon a letter of mine.—Id.
= my letter

กรรมการก (Objective)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. เป็นวัตถุโดยตรงของกริยา เช่น
    They all handled it.—Lamb
  2. เป็นวัตถุของบุพบท เช่น
    Time is behind them and before them.—Carlyle.
  3. เป็นนามวลีขยาย (in apposition) เช่น
    She sate all last summer by the bedside of the blind beggar, him that so often and so gladly I talked with.—De Quincey.
    him = the blind beggar และประโยค "that so often and so gladly I talked with." ต่อมาล้วนขยายขอทานผู้นี้
  4. ใช้ในความหมายว่า "ให้ใคร" เช่น
    Both joined in making him a present.—Macaulay ทั้งสองร่วมกันสร้างของขวัญให้เขา

การใช้บุรุษสรรพนามแบบพิเศษ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. บางครั้ง you ใช้โดยไม่ได้เจาะจงผู้ใด อาจมีหน้าที่คล้ายอนิยมสรรพนาม (คล้ายกับเวลาผู้เขียนสื่อสารกับผู้อ่าน) เช่น
    To empty here, you must condense there.—Emerson.
  2. It สามารถใช้แทนกลุ่มคำก่อนหน้านั้นได้ เช่น
    If any man should do wrong merely out of ill nature, why, yet it is but like the thorn or brier, which prick and scratch because they can do no other.—Bacon.
    คำว่า it ในที่นี้หมายความถึง "any man's doing wrong merely out of ill nature."
  3. It สามารถใช้เป็นประธานทางไวยากรณ์ของประธานจริงที่ตามหลังมาได้ เช่น
    It is a pity that he has so much learning, or that he has not a great deal more.—Addison.
    "[T]hat he has so much learning, or that he has not a great deal more" เป็นประธานจริงของประโยค
  4. It สามารถใช้แทนวัตถุไม่มีตัวตนซึ่งไม่ต้องการประธานอื่น เช่น
    And when I awoke, it rained.—Coleridge.
    (หมายเหตุ: ในภาษาไทย "ฝนตก" เป็นประโยคโดยมี "ฝน" เป็นประธานของประโยค แต่ในภาษาอังกฤษ rain เป็นคำกริยา ไม่ใช่คำนาม)
    คำว่า There ก็มีการใช้ลักษณะนี้ เช่น
    There are two cups on the table.
  5. It สามารถใช้เป็นวัตถุไม่มีตัวตนหรือไม่เจาะจงของคำกริยาหรือคำบุพบท เช่น
    I made up my mind to foot it.—Hawthorne.
  6. บางครั้งสรรพนามรูปกรรมใช้แทนสรรพนามสะท้อนได้ เป็นการใช้เป็นกรรมรอง (dative) ของประโยค เช่น
    "I found me a good book."

การใช้สรรพนามสะท้อน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. เป็นวัตถุของคำกริยาหรือบุพบท และหมายความถึงบุคคลหรือสิ่งเดียวกับประธาน เช่น
    We fill ourselves with ancient learning.
  2. เพื่อเน้นคำนามหรือสรรพนาม เช่น
    Threats to all;
    To you yourself, to us, to every one. —Id.
    ซึ่งบางครั้งมีการละคำสรรพนามก่อนหน้าสรรพนามสะท้อนในฐานที่เข้าใจ เช่น
    Only itself can inspire whom it will.—Emerson.
    (= Only it itself ...)
  3. ใช้แทนบุรุษสรรพนาม เช่น
    Lord Altamont designed to take his son and myself.—De Quincey.

ประพันธสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประพันธสรรพนาม ใช้แทนนามคำที่อยู่ข้างหน้า (antecedent), ใช้เชื่อมประโยค มีข้อดีเชื่อมประโยคสั้น ๆ ให้ยาวขึ้นและทำให้ลื่นไหลมากขึ้น เช่น

"The last of all the Bards was he. These bards sang of Border chivalry."

ย่อเป็น

"The last of all the Bards was he, who sung of Border chivalry."

ประโยคตัวอย่าง the last of all the Bards เป็น antecedent

ประพันธสรรพนาม ได้แก่ who (รวม whose และ whom), which, that, what

สำหรับการเลือกใช้ประพันธสรรนาม

เอกพจน์ พหูพจน์
กรรตุการก who, which, that, what
กรรมการก who(m), which, that, what
สัมพันธการก whose
  • Who และ whom ใช้เชื่อมเกี่ยวกับบุคคล หรือบางกรณีใช้กับสัตว์ที่ลักษณะหรือนิสัยนั้นทำให้ดูสำคัญหรือน่าสนใจ เช่น
    The little gorilla, whose wound I had dressed, flung its arms around my neck.—Thackeray.
  • Whose ใช้เชื่อมในลักษณะสัมพันธการก
    That man is little to be envied whose patriotism would not gain force upon the plain of Marathon.—Dr Johnson.
  • Which และ that ใช้กับวัตถุ สถานที่ สิ่งนามธรรม
    The snow was three inches deep and still falling, which prevented him from taking his usual ride.—Irving.
    The judge ... bought up all the pigs that could be had.—Lamb
  • What ใช้กับวัตถุเสมอ มักไม่แสดง antecedent หรือถ้ามี จะเป็นการเน้น
"What can't be cured must be endured."
What a man does, that he has.—Emerson.

ประโยคแรกไม่มี antecedent ส่วนประโยคที่สองกลุ่มคำ "[w]hat a man does" เป็น antecedent

คำอื่นที่ใช้เป็นประพันธสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

But และ as ใช้เป็นประพันธสรรพนามได้ในบางประโยค ตัวอย่างเช่น

There is nothing but is related to us, nothing that does not interest us.—Emerson.
I have not from your eyes that gentleness
And show of love as I was wont to have.
—Shakespeare

ในประโยคแรก but เทียบเท่ากับ that not; as ใช้เหมือนกับ that หรือ which

ใช้สันธาน wherein, whereupon, whereby ฯลฯ แทน in which, upon which, by which ฯลฯ เช่น

The sovereignty of this nature whereof we speak.—Id.

ประโยคข้างต้น whereof ใช้แทน of which

การละประพันธสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อาจมีการละประพันธสรรพนามในภาษาอังกฤษพูด เช่น

These are the sounds ‸ we feed upon.—Fletcher.
There isn't one here ‸ knows how to play ball.

‸ แทนตำแหน่งของประพันธสรรพนามที่ละ

อนิยมสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อนิยมสรรพนาม ใช้แทนนามที่ไม่เจาะจง ประกอบด้วย whoever, whichever, whatever, whatsoever; และคำที่ใช้น้อยหรือใช้ในบทกวี whoso, whosoever, whichsoever, whatsoever นอกจากนี้ who, which และ what ซึ่งเป็นประพันธสรรพนามอาจใช้เป็นอนิยมสรรพนามก็ได้ ตัวอย่างเช่น

It is no proof of a man's understanding, to be able to affirm whatever he pleases.—Emerson
Do what we can, summer will have its flies.—Emerson

สรรพนามชี้เฉพาะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สรรพนามชี้เฉพาะ เป็นการพาดพิงถึงบุคคลหรือสิ่งของในประโยคอื่น หรืออาจเป็นทั้งประโยค (ระวังสับสนกับคำคุณศัพท์ชี้เฉพาะ)

เอกพจน์ พหูพจน์
this
that
one
the former
the latter
the other
such
these
those
ones
the formers
the latters
the others
such

ตัวอย่างเช่น

I did not say this in so many words.
Such are a few isolated instances, accidentally preserved.

ปฤจฉาสรรพนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปฤจฉาสรรพนาม ใช้แทนนามในส่วนของคำถาม ปัจจุบันที่มีใช้ได้แก่ who (รวม whose, whom), which, what, whether

เอกพจน์ เอกพจน์และพหูพจน์
กรรตุการก what? who?
which?
กรรมการก what? who(m)?
which?
สัมพันธการก whose?

Who เป็นสรรพนามไว้ถามเกี่ยวกับบุคคล เช่น

Who is she in bloody coronation robes from Rheims?—De Quincey.

Who เป็นคำที่ใช้ได้ทั้งกรรตุการกและกรรมการก สำหรับสำหรับการแยกให้ดูว่าเป็นประธานหรือกรรมของกริยา

Which เป็นสรรพนามไว้ถามเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของก็ได้ สังเกตว่าเป็นการเจาะจงบุคคลหรือสิ่งของจากบุคคลหรือสิ่งของที่ผู้ถามทราบอยู่ก่อนแล้ว เช่น

Which of you, shall we say, doth love us most?—Shakespeare.

What เป็นสรรพนามไว้ถามเกี่ยวกับสิ่งของ สิ่งที่เป็นนามธรรม หรือการกระทำ เช่น

What is so rare as a day in June?—Lowell.

สรรพนามแบบอื่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สรรพนามแจกแจง (Distributive pronouns)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สรรพนามแจกแจง หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อบุคคลหรือสิ่งของโดยพิจารณาทีละคนหรือทีละสิ่งแยกกัน เช่น each, other, each other, one another

ตัวอย่างการใช้ เช่น

They stood, or sat, or reclined, as seemed good to each.
As two yoke devils sworn to other's purpose.

Numeral pronouns[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของที่ไม่ทราบปริมาณหรือจำนวน เช่น much, many, more, most, all, one(s), another, one other, other(s), none

ตัวอย่างการใช้ เช่น

Trusting too much to others' care is the ruin of many.
Much might be said on both sides.

จะเห็นว่าตัวอย่างข้างต้นไม่มี antecedent และมีหน้าที่เสมือนอนิยมสรรพนาม

ข้อสังเกต: one มีรูปสะท้อน ได้แก่ oneself (หรือ one's self) ตัวอย่างเช่น

The best way to punish oneself for doing ill seems to me to go and do good.—Kingsley.

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]